วันที่นำเข้าข้อมูล 17 มี.ค. 2564
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
เช้านี้ ไม่มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๑๔ มี.ค. ๖๔
วันที่ ๑๓ มี.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๑,๔๗๐ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๔๐ คน รัฐตรังกานู ๑๔ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๓๒๒,๔๐๙ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๑,๒๐๖ คน (เพิ่มขึ้น ๓ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
การแก้ปัญหา ศก.หลังโควิด ดูจะเป็นโจทย์ท้าทายของ รบ. ทั่วโลก แม้จะได้รับการจัดเป็น ปท. ที่มีรายได้ปานกลางเช่นเดียวกับไทย แต่ มซ. ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลกลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะการได้รับผลกระทบโควิด และครบรอบ ๑ ปีของการบริหาร ปท. พรรค รบ. จึงแถลงผลงานภายใต้ชื่อ “๑ ปีของการดูแล มซ.”
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง “โครงการขจัดความยากจนให้ผลลัพธ์ที่ดี” ตามรายงานของ นสพ. New Straits Times ฉบับวันที่ ๑๓ มี.ค. ๒๐๒๑ (รมต. มุสตาปา แถลง รูป ๒)
ในงานแถลงข่าวครบ “๑ ปีการดูแล มซ.” (Setahun Malaysia Prihatin) ของ รบ. Perikatan Nasional (PN) เมื่อวันที่ ๑๑ มี.ค. รมต. สนร. (ศก.) มุสตาปา โมฮัมเหม็ด แถลงว่า โครงการขจัดความยากจนและโครงการริเริ่มที่ดำเนินการโดย รบ. PN ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย เช่น หน่วยงานที่ไม่ใช่ภาครัฐและเอกชน พบว่า มีผลในทางที่ดี
การปรับปรุงแก้ไขรายได้เส้นความยากจน (Poverty Line Income: PLI) ล่าสุดที่ดำเนินการในปี ๒๐๑๙ จะช่วยให้ รบ. สามารถกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ รวมถึงออกแบบแนวทางที่เหมาะสม มีพลวัต และเป็นประโยชน์มากขึ้นสำหรับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย (บุคคลตัวอย่างที่มีรายได้พ้นจาก PLI รูป ๓)
PLI ได้รับการปรับปรุงครั้งล่าสุดในปี ๒๐๐๕ และในปี ๒๐๑๖ มีเกณฑ์รายได้ ๙๘๐ ริงกิตต่อเดือนต่อครัวเรือน
ต่อมาในปี ๒๐๑๙ PLI ระดับชาติ เพิ่มเป็น ๒,๒๐๘ ริงกิตต่อเดือนต่อครัวเรือน วิธีการของ PLI ได้รับการปรับปรุงเพื่อจะกำหนดนโยบายและการดำเนินกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
จาก PLI ใหม่นี้ อัตราความยากจนในปี ๒๐๑๙ อยู่ที่ ๕.๖% (๔๐๕,๔๔๑ ครัวเรือน) ส่วนอัตราความยากจนในปี ๒๐๑๖ อยู่ที่ ๐.๔% (๒๔,๗๐๐ ครัวเรือน) โดยวัดจาก PLI ปี ๒๐๐๕ ซึ่งหมายความว่า หากวัดโดยใช้วิธีการ PLI ใหม่ อัตราความยากจนของ ปท. ลดลง ๒% จาก ๗.๖% ในปี ๒๐๑๖ เป็น ๕.๖ % ในปี ๒๐๑๙ (กลุ่มรายได้น้อย B40 รูป ๔)
“สิ่งนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า โครงการขจัดความยากจนและโครงการริเริ่มที่ดำเนินการโดย รบ. PN ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน เช่น หน่วยงานที่ไม่ใช่ภาครัฐและเอกชน ได้ผลตอบรับที่ดี” เขากล่าว
เขากล่าวว่า ความพยายามในการปรับปรุงเกณฑ์ความยากจน เริ่มตั้งแต่การนำเสนอแผนทบทวนระยะกลางของ มซ. ฉบับที่ ๑๑ ในเดือน ต.ค. ๒๐๑๘ มีการวิจัยที่ควบคุมโดยหน่วยงานวางแผน ศก. (Economic Planning Unit : EPU) ของ สนร. โดยร่วมมือกับกรมสถิติ สธ. รวมถึงกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายแห่ง ระหว่างเดือน มี.ค. ๒๐๑๙ – มิ.ย. ๒๐๒๐ (ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา รูป ๕)
มุสตาปา อธิบายว่า ผลการทบทวน ได้มีการปรับวิธีการพิจารณาเกณฑ์รายได้เส้นความยากจน (PLI) ใน ๓ ด้าน
“แนวคิดการกำหนดอาหาร PLI ปรับแก้จาก 'ขั้นต่ำ' เป็น 'ขั้นต่ำที่เหมาะสม' กล่าวคือ คำนวณการปรับปรุงคุณภาพของอาหารในรายการตะกร้าอาหาร โดยยึดรายการตามหลักพีระมิดอาหาร มซ. ปี ๒๐๒๐ (2020 Malaysian Food Pyramid) และคู่มือการควบคุมกลุ่มอาหาร โดยให้สอดคล้องกับกิจกรรมการออกกำลังกายทุกวันและการดำเนินชีวิตให้มีสุขภาพดี ตัวอย่างเช่น นมข้นหวาน ที่ก่อนหน้านี้อยู่ในตะกร้าอาหาร จะถูกแทนที่ด้วยนมผงที่ดีต่อสุขภาพ” (ครอบครัวรายได้น้อย รูป ๖)
“ส่วน PLI ที่ไม่ใช่อาหาร สำหรับความต้องการของครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุดในกลุ่ม ๒๐% (B20) ได้มีการระบุเพิ่มขึ้นจาก ๑๐๖ เป็น ๑๔๖ รายการ ซึ่งหมายความว่า ขณะนี้สินค้า ๔๐ รายการที่ในอดีตไม่ได้รับการพิจารณาเป็นรายการขั้นพื้นฐานสำหรับกลุ่ม B20 ได้ถูกรวมไว้ในลิสต์ใหม่นี้แล้ว เห็นได้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้จ่ายในครัวเรือน ราคาสินค้าและบริการในปัจจุบันของปี ๒๐๑๙ เมื่อเทียบกับปี ๒๐๐๕”
มุสตาปา กล่าวว่า นอกจากการใช้ PLI แล้ว รบ. ยังใช้วิธีการอื่นๆ อีกหลายวิธีในการวัดอัตราความยากจน
หนึ่งในนั้นคือ วิธีการวัดความยากจนแบบหลายมิติ ซึ่งเน้นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น สุขภาพ การศึกษา ที่อยู่อาศัย มาตรฐานการดำรงชีวิต การเข้าถึงข้อมูล และรายได้ต่อเดือนของครัวเรือน
ความพยายามในการปรับปรุงวิธีการวัดความยากจนนี้ แสดงให้เห็นชัดเจนถึงความมุ่งมั่น ความห่วงใย และความโปร่งใส เพื่อเป็นการประกันคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน (ครอบครัวที่ประสบภัย รูป ๗)
“กระทรวง กรมและหน่วยงานของ รบ.กลาง รวมถึง รบ. ของแต่ละรัฐ ควรคำนึงถึงเส้นความยากจน (PLI) ปี 2019 ในการวางแผนนโยบายและโครงการ ตลอดจนทบทวนนโยบายการขจัดความยากจนและความช่วยเหลือทางสังคม รวมถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ภายใต้การกำกับดูแลและความรับผิดชอบของพวกเขาใน ๕ เดือนข้างหน้า”
มุสตาปากล่าวว่า การปรับปรุงแก้ไขครั้งต่อไปจะดำเนินการในปี ๒๐๒๑ เพื่อประเมินผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ที่มีต่อเส้นความยากจน ซึ่งจะเปิดเผยให้ทราบในปีหน้า
วันนี้เป็นรายงานการแก้ไขความยากจนของ มซ. โดยปรับเกณฑ์รายได้ของความยากจน ให้ตรงกับความเป็นจริงและครอบคลุมกลุ่มผู้มีรายได้น้อยต่างๆ เพื่อนำมาปรับเป็นนโยบายกระตุ้น ศก. และให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิดได้อย่างทั่วถึงอย่างเป็นธรรม
รูปภาพประกอบ