วันที่นำเข้าข้อมูล 14 มี.ค. 2564
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 พ.ย. 2565
เช้านี้ ไม่มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๑๓ มี.ค. ๖๔
วันที่ ๑๒ มี.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๑,๕๗๕ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๔๓ คน รัฐตรังกานู ๑๖ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๓๒๐,๙๓๙ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๑,๒๐๓ คน (เพิ่มขึ้น ๓ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
สำนักข่าว Bernama รายงานข่าววันที่ ๑๐ มี.ค. ว่า ในการเยือนซาอุดิอาระเบียระหว่าง ๖-๘ มี.ค. ของ นรม.มซ. นอกจาก มซ. จะได้โควต้าผู้ที่จะไปแสวงบุญฮัจย์ในปีนี้เพิ่มอีก ๑๐,๐๐๐ คนแล้ว ซาอุดิอาระเบียยังจะนำเข้าน้ำมันปาล์มจาก มซ. เดิมที่ ๓๐๐,๐๐๐ ตัน (ปี ๒๐๒๐) เพิ่มเป็น ๕๐๐,๐๐๐ ตันด้วย แต่ข่าวหลังนี้อาจสร้างความหนักใจมากกว่าที่จะก่อให้เกิดความปิติแก่ผู้ส่งออกน้ำมันปาล์ม มซ. ในยามนี้ (นรม. มซ. เยือนซาอุดิอาระเบีย รูป ๒-๓)
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง “การแก้ปัญหาของชาวสวนปาล์มอย่างเร่งด่วน” ตามรายงานของ นสพ. The Star ฉบับวันที่ ๑๓ มี.ค. ๒๐๒๑ (รายงานข่าว รูป ๔)
การขาดแคลนคนงานอย่างเฉียบพลัน ปัญหาการเก็บภาษี และการเข้าถึงตลาด กำลังทำลายความสามารถในการแข่งขันของ อก. ปาล์มน้ำมัน ชาวสวนปาล์มกำลัง “เตรียมใจ” กับความเสียหายจากการสูญเสียผลผลิตมากขึ้นในปีนี้ หากปัญหาการขาดแคลนคนงานอย่างรุนแรงในสวนปาล์มน้ำมัน ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่ได้รับการแก้ไข
แม้ว่าน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) จะซื้อขายที่ระดับสูงสุดในรอบ ๑๓ ปีที่ราคา ๔,๐๐๐ ริงกิต/ตัน แต่นาย Chandran ผู้เชี่ยวชาญด้าน อก. ปาล์มน้ำมัน กล่าวว่า อก. เพาะปลูกปาล์มจะประสบกับการสูญเสียผลผลิตสูงถึง ๑๒% – ๑๘% ของการผลิต CPO ทั้งหมดในปี ๒๐๒๑
“จะเป็นการสูญเสียรายได้ประมาณ ๖-๙ ล้านริงกิต ยังไม่รวมความสูญเสียอื่นๆ ที่เกิดจากผลพลอยได้ เช่น น้ำมันเมล็ดในปาล์มและเค้กจากเมล็ดปาล์ม” เขากล่าวเสริม
Chandran ชี้ให้เห็นว่าการขาดแคลนคนงานท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-๑๙ ทำให้การผลิตน้ำมันปาล์มดิบในท้องถิ่นลดลงเหลือ ๑๙.๑๔ ล้านตันในปี ๒๐๒๐ จากที่ผลิตได้ ๑๙.๘๖ ล้านตันในปี ๒๐๑๙
ปัจจุบัน อก. ปาล์มน้ำมันใน มซ. ยังขาดแคลนคนงานประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน ซึ่งในจำนวนนี้เกือบ ๓๒,๐๐๐ คนจำเป็นต้องใช้ในการตัดผลปาล์มในนิคมสวนปาล์มทั่ว ปท. ส่วนที่เหลืออีก ๑๘,๐๐๐ คน ส่วนใหญ่เป็นงานทั่วไปในนิคมและโรงงานน้ำมันปาล์ม (รง. ในสวนปาล์ม รูป ๕)
Chandran กล่าวกับ StarBizWeek ว่า ความต้องการคนงานที่เพิ่มขึ้นในนิคมสวนปาล์มน้ำมันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เกิดจาก บ. สวนปาล์มขนาดใหญ่เร่งดำเนินโครงการปลูกทดแทน สิ่งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความพยายามของชาวสวนในการปฏิบัติตามมาตรฐานการรับรองน้ำมันปาล์มที่ยั่งยืนของ มซ. (Malaysian Sustainable Palm Oil : MSPO) และ Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO)
อีกประเด็นหนึ่งที่ Chandran ยกมาคือ อก. ปาล์มน้ำมันจะรับมือกับปัญหาการขาดแคลน รง. ตัดปาล์มได้อย่างไร เมื่อจะถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวปาล์มที่ให้ผลผลิตสูงในเดือนหน้า
“เรื่องน่ากังวลมากกว่าที่ต้องจับตาดู ก็คือ อัตราผลผลิตเฉลี่ยของ ปท. ดูจะสูงเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มลดลงด้วย สำหรับปี ๒๐๒๐ ผลผลิตลดเหลือ ๓.๖๖ ตัน/เฮกเตอร์ เมื่อเทียบกับ ๔ ตัน/เฮกเตอร์ในปีที่แล้ว” นอกเหนือจากสภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยแล้ว การลดการใช้ปุ๋ยในปี ๒๐๑๘-๒๐๑๙ เนื่องจากราคาสินค้าตกต่ำ และการขาดแคลน รง. ฝีมือในการตัดปาล์ม ส่งผลกระทบต่อกำลังผลิตของ อก. สวนปาล์มอย่างรุนแรง
จากการสำรวจโดยคณะกรรมการน้ำมันปาล์มของ มซ. (MPOB) ก่อนการประกาศมาตรการควบคุมการสัญจร (MCO) ระบุว่า มีการขาดแคลน รง. ๓๑,๐๒๑ คนในหมู่ผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งครอบคลุม ๗๖% ของ อก. เพาะปลูกปาล์ม จากตัวเลขการสำรวจเหล่านี้คาดว่า อก. ขาดแคลน รง. ๔๐,๘๑๗ คน ในขณะที่ทำการสำรวจ
จากการประเมินผลผลิตแบบดั้งเดิม คาดว่า คนงาน ๑ คน จะตัดทลายผลปาล์มสดได้ ๑.๕ ตัน (fresh fruit bunches : FFB) /วัน และ ๒๘๐ วันทำงาน/ปี พบว่า จะสูญเสียผลปาล์ม ๑๗.๑๔๓ ล้านตัน/ปี ซึ่งคิดเป็นการสูญเสียผลผลิต ๒๐% ส่งผลให้สูญเสียการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ ๓.๔๒๙ ล้านตันและเมล็ดปาล์ม (PK) ๘๕๗,๐๐๐ ตัน/ปี
สมมติว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) และเมล็ดปาล์ม (PK) อยู่ที่ ๓,๐๐๐ และ ๑,๘๐๐ ริงกิต/ตันตามลำดับ ชาวสวนออกความเห็นว่า มีโอกาสสูญเสียรายได้ประมาณ ๑๑.๘๓ พันล้านริงกิต/ปีและกำไร ๔.๓๗ พันล้านริงกิต/ปี ถือเป็นการสูญเสียรายได้ของ รบ. จากภาษีเงินได้ประมาณ ๘๖๙ ล้านริงกิต/ปี (รมต. เพาะปลูก มซ. รูป ๖)
ในเชิงบวก ผลการวิจัยของ UOB Kay Hian (UOBKH) ในรายงานล่าสุด ระบุว่า รบ. อาจอนุญาตให้ชาวสวนจ้าง รง. ต่างชาติได้ เมื่อสามารถควบคุมการระบาดของโรคโควิด-๑๙ ได้ “จากการตรวจสอบและทำความเข้าใจกับ บ. ต่างๆ ตามช่องทางของเรา พบว่า รบ. ยังคงหารือกับ บ. สวนปาล์ม เพื่อรับ รง. ต่างชาติที่มีประสบการณ์ด้านการปลูกปาล์มน้ำมัน หลังผ่านการตรวจโควิด-๑๙” รายงานกล่าวเพิ่มเติม
ทางด้าน performance หุ้น บ.ปาล์มน้ำมันท้องถิ่นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ผลการวิจัยระบุว่า ราคาหุ้นไม่ได้เคลื่อนไหวตามราคา CPO ที่สูงขึ้น เนื่องจาก “นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับเกณฑ์ประเมินการประกอบธุรกิจของ บ. ที่ใช้ Environment, Society and Governance (ESG) และปัญหาการขาดแคลน รง. ใน มซ.” นักวิจัยต้องการ บ. สวนปาล์มในขั้นตอนต้นน้ำ ที่จริงใจในการประกอบธุรกิจใน มซ. เท่านั้น เช่น Hap Seng Plantations Bhd, Sarawak Oil Palms Bhd และ Kim Loong Resources Bhd. (รง. ตัดปาล์ม รูป ๗)
หมายเหตุ : ESG เป็นเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนในการประกอบธุรกิจของ บ. ว่า บ. ประกอบธุรกิจโดยคำนึงถึงการเติบโตของผลกำไรควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อมและธรรมาภิบาลหรือไม่ นักลงทุนจะเลือกลงทุนใน บ. ที่ได้รับการประเมิน ESG สูง ส่งผลให้ราคาหุ้นของ บ. มั่นคงและมีแนวโน้มเติบโตในอนาคต กล่าวง่ายๆ คือ ESG จะเป็นดัชนีบอกว่า หุ้นของ บ. นั้นเป็น “หุ้นบุญ” หรือ “หุ้นบาป”
“ชาวสวนเหล่านี้จะได้รับประโยชน์มากขึ้นจากราคาขายที่สูงขึ้น ซึ่งต่างจาก บ. ปาล์มน้ำมันที่ทำธุรกิจกับ อซ.”
ในบรรดาบริษัทสวนปาล์มรายใหญ่ใน มซ. นักวิจัยได้ซื้อ Kepong Bhd ในกัวลาลัมเปอร์
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ในแถลงการณ์ร่วมของสมาคมสวนปาล์ม ๑๒ แห่ง ได้ยื่นคำร้องอย่างเร่งด่วนต่อ รบ.เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลน รง. ปัญหาภาษีและการจัดเก็บภาษี ตลอดจนการเข้าถึงตลาดที่ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสามารถในการแข่งขันของ อก. ปาล์มน้ำมัน สมาคมต่างๆ ได้เรียกร้องให้มีการกำหนดและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ระดับสูง เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลน รง. ในภาคเพาะปลูกปาล์มน้ำมันใน มซ.
คำร้องนี้ยังรวมถึงการเรียกร้องให้ รบ. พิจารณาอนุญาตให้ รง. ต่างชาติ ซึ่งปัจจุบันอยู่ใน ปท. ต้นทางของตนกลับเข้าทำงานใน มซ. รวมถึงยุติการระงับชั่วคราวที่ใช้ในปัจจุบันเรื่องการจ้าง รง. ต่างชาติในภาคการเพาะปลูก
ตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่งคือ ความเคลื่อนไหวล่าสุดของ รบ. รัฐซาราวักที่อนุญาตให้ รง. ต่างชาติกลับเข้ารัฐตั้งแต่วันที่ ๑ มี.ค. ภายใต้การปฏิบัติตาม SOP ที่เข้มงวด ซึ่งควรจะนำไปขยายทั่ว ปท. ต่อไป
วันนี้เป็นเรื่องการกระทุ้งของสมาคมชาวสวนปาล์มที่ได้ยื่นต่อ รบ. มซ. ให้เร่งแก้ปัญหาขาด รง. ปัญหาการภาษี และการเข้าถึงตลาด ซึ่งกำลังทำลายความสามารถในการส่งออกของ อก. ปาล์มน้ำมัน มซ. อย่างเร่งด่วน
รูปภาพประกอบ