เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 12 มีนาคม 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 12 มีนาคม 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 14 มี.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 256 view

เช้านี้ มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๑๒ มี.ค. ๖๔ จำนวน ๒๕ คน
วันที่ ๑๑ มี.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๑,๖๔๗ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๒๘ คน รัฐตรังกานู ๔ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๓๑๙,๓๖๔ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๑,๒๐๐ คน (เพิ่มขึ้น ๙ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง “บ. Sime Darby ดำเนินการทาง กม. กับ NGO สหรัฐฯ ตามรายงานของ นสพ. New Straits Times ฉบับวันที่ ๑๒ มี.ค. ๒๐๒๑ (รายงานข่าว รูป ๒)
ก่อนอื่นขอแนะนำ Sime Darby กลุ่มธุรกิจในรูปแบบของกลุ่มบริษัทที่เป็นเครือ (conglomerate) ที่อยู่ในอันดับต้นๆ ของ มซ. โดยเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการธุรกิจปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นหนึ่งใน อก. หลักที่ขับเคลื่อน ศก. มซ.
Sime Darby (SD) ก่อตั้งมาแล้วกว่า ๑๐๐ ปี โดยเริ่มจากการปลูกยางในมะละกา ต่อมาขยายไปสู่สวนปาล์ม จนมาถึงการลงทุนในธุรกิจอื่นๆ เช่น เครื่องจักร อก. ยานยนต์ อสังหาริมทรัพย์ พลังงาน และสุขภาพ กระจายอยู่ทั่วโลก ปัจจุบัน SD มีมูลค่าตามราคาตลาดราว ๑.๗ หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใหญ่เป็นอันดับ ๖ ในตลาดหุ้น มซ. มีการเติบโตของรายได้และอัตรากำไรที่แข็งแกร่งเฉลี่ย ๑๒% และ ๑๕% ต่อปีตามลำดับ
กลยุทธ์ขยายการลงทุนให้ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ หนึ่งในปัจจัยแห่งความสำเร็จ
SD เป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลก โดยมีธุรกิจต้นน้ำตั้งแต่การปลูกสวนปาล์มขนาดพื้นที่ ๕.๔ ล้านไร่ใน มซ. อซ. และไลบีเรีย สามารถผลิตปาล์มน้ำมันได้ ๒.๕ ล้านตัน/ปี คิดเป็นสัดส่วน ๕% ของปริมาณการผลิตปาล์มน้ำมันทั่วโลก
ต่อมาได้ขยายการลงทุนไปยังธุรกิจกลางน้ำและปลายน้ำที่เกี่ยวข้องกับปาล์มน้ำมันอย่างครบวงจร เช่น โรงกลั่นปาล์มน้ำมันดิบเพื่อผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์ม มาร์การีน ธุรกิจพลังงานที่มีโรงงานผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ตลอดจนธุรกิจท่องเที่ยวโดยได้พัฒนาสวนปาล์มให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งการดำเนินธุรกิจครอบคลุมตลอดห่วงโซ่มูลค่า ตั้งแต่การผลิต การแปรรูปสินค้า กษ. ไปจนถึงการจัดจำหน่ายสินค้าให้ผู้บริโภค ส่งผลให้ บ. สามารถลดต้นทุนค่าวัตถุดิบ และสร้างรายได้ตลอดห่วงโซ่มูลค่า (การขนส่งผลปาล์ม รูป ๓)
เพิ่มมูลค่าให้สินค้า วิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
SD ถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกการทำ R&D ด้านปาล์มน้ำมันมาตั้งแต่ปี ๑๙๑๗ ปัจจุบัน SD มีศูนย์ R&D และศูนย์นวัตกรรมรวม ๖ แห่ง พร้อมทั้งมีนักวิทยาศาสตร์อีกเป็นจำนวนมาก ทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการ กษ. เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อให้ได้พันธุ์ของต้นปาล์มที่ให้ผลผลิตสูง ทนทานต่อโรค อีกทั้งยังมุ่งไปสู่การพัฒนาสินค้าที่ให้มูลค่าเพิ่ม เช่น Golden Joma Red Olein เป็นน้ำมันปาล์มสกัดสีแดงที่ให้สารเบตาแคโรทีนสูง ซึ่งให้ผลกำไรสูงกว่าน้ำมันปาล์มทั่วไปถึง ๑๕%
เติบโตแบบ inorganic growth ขยายฐานธุรกิจไปสู่ประเภทอื่น เพื่อลดความเสี่ยงของวัฏจักรราคาสินค้า กษ.
รายได้ของ SD ได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงที่ราคาสินค้า กษ. ตกต่ำ เมื่ออุปทานล้นตลาดในขณะที่อุปสงค์ชะลอตัวตามภาวะ ศก. โลก SD จึงเริ่มขยายการลงทุนไปสู่ธุรกิจอื่นมากขึ้นเพื่อกระจายความเสี่ยง โดยใช้วิธีควบรวมกิจการในธุรกิจที่ยังไม่มีความรู้และประสบการณ์มากนัก เช่น เข้าไปควบรวมกิจการโรงงานผลิตยางรถยนต์ Goodrich และ Dunlop เพื่อต่อยอดให้กับธุรกิจสวนยางของตัวเอง รวมไปถึงธุรกิจใหม่ๆ เช่น การเข้าไปถือหุ้นและซื้อธุรกิจ รพ. สนามกอล์ฟ ธุรกิจค้าปลีกอย่าง Tesco ใน มซ. ธุรกิจดีลเลอร์รถแทรกเตอร์ และรถยนต์ รวมกันเป็นอาณาจักร SD ที่ยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน
การขยายตัวทางภูมิศาสตร์ ครอบคลุมหลายประเทศ ใช้แนวทาง Global reach, Local solution
ปัจจุบัน SD มีโรงงานและ สนง. ขายมากกว่า ๒๐ ปท. ทั่วโลก อาทิ ไทย สิงค์โปร์ ฮ่องกง จีน ออสเตรเลีย และ ปท. ในยุโรป และเน้นขยายการลงทุนไปในตลาดเกิดใหม่ที่มีศักยภาพ เช่น วน. อซ. ซึ่ง SD วางแนวทางการดำเนินธุรกิจให้เป็นมาตรฐานระดับโลก แต่ปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละ ปท. ทำให้ SD มีเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สามารถเข้าถึงวัตถุดิบและตลาดทั่วโลก ตามแต่ลักษณะพฤติกรรมของผู้บริโภค (ผู้บริหาร Sime Darby รูป ๔ )
ณ วันนี้ บ. Sime Darby Plantation Bhd (SDP) จำต้องดำเนินการทาง กม. กับองค์กร NGO ในสหรัฐฯ ที่กล่าวหาว่าบังคับใช้แรงงานในนิคม อก. ของ มซ. ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติ ๒๐๐ ปีของ SDP ที่ได้ดำเนินการทาง กม. กับองค์กร NGO
SDP ได้เริ่มดำเนินการทาง กม. เพื่อขอข้อมูลที่จำเป็น จากนาย Duncan Jepson กรรมการผู้จัดการขององค์กร Liberty Shared เมื่อวันที่ ๙ มี.ค. ในเขตตะวันออกของรัฐเวอร์จิเนียในสหรัฐอเมริกา
SDP กล่าวในแถลงการณ์วันนี้ว่า “การดำเนินการดังกล่าวคือ การขอข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการร้องเรียนที่ Jepson ได้ยื่นต่อ สนง. คกก. กำกับหลักทรัพย์ (Securities Commission: SC) หรือ กลต. มซ. โดยเขาได้อ้างข้อมูลเปิดเผยที่ไม่ถูกต้อง ในรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report) ของ บ. ปี ๒๐๑๙” (ถังเก็บน้ำมันปาล์ม รูป ๕)
Jepson เป็นกรรมการ ผจก. ของ Liberty Shared ที่เป็น NGO (องค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาล) ซึ่ง กลต. มซ. ได้เริ่มการสอบสวนเรื่องคำร้องเรียนของ Jepson และขอข้อมูลเพิ่มเติมจาก บ. SDP
“ในฐานะเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มซ. เพื่อแสดงความรับผิดชอบ บ.จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับ กลต. ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ SDP จะต้องได้รับข้อมูลจำเป็นที่มีขอบเขตเกี่ยวกับการร้องเรียนที่ยื่นโดย Jepson เช่นกัน”
Liberty Shared ได้ยื่นคำร้องเรียนต่อกรมศุลกากรและป้องกันชายแดนของสหรัฐฯ (United States Customs and Border Protection : USCBP) เมื่อวันที่ ๒๐ เม.ย. ๒๐๒๐ โดยกล่าวหาว่า มีการบังคับใช้ รง. ในการผลิตน้ำมันปาล์มในนิคม อก. ของ SDP ใน มซ.
SDP ได้รับทราบการร้องเรียนเมื่อ ๗ ก.ค. ปีที่แล้ว หลังจากที่ Liberty Shared ได้สรุปการร้องเรียนลงในเว็บไซต์ของตนเอง โดย SDP กล่าวว่า “เนื้อหาการสรุปนี้ไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะอนุญาตให้ SDP แก้ข้อกล่าวหาในการดำเนินงานของเรา ซึ่งจะเป็นประโยชน์และส่งผลดีต่อพนักงานของเรา นี่เป็นครั้งแรกในประวัติ ๒๐๐ ปีของ SDP ที่ต้องหันไปพึ่งการดำเนินการทาง กม. กับองค์กร NGO” (ทีมงานของ Sime Darby รูป ๖)
SDP กล่าวว่า “ได้มีส่วนร่วมกับองค์กร NGO และภาคประชาสังคมทั่วโลก ในการให้การสนับสนุนและเคารพบทบาทสำคัญที่พวกเขามีต่อสังคม นี่คือความสัมพันธ์ของการเคารพซึ่งกันและกันที่ทำให้ SDP กลายเป็นผู้นำใน อก. ได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ เช่น NGO ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ”
“แม้จะมีการนัดหมายทั้งทางตรงและทางอ้อมหลายครั้ง แต่ Jepson ยังคงปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลสำคัญที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนงานได้” (โรงกลั่นน้ำมันปาล์ม รูป ๗)
SDP กล่าวเพิ่มเติมว่า บ. ได้แต่งตั้ง PwC Singapore เมื่อเดือน ต.ค. ที่ผ่านมาตามคำร้องขอของ Jepson เพื่อแชร์ข้อมูลที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหาที่ถูกกล่าวหาซึ่งพบในพื้นที่เพาะปลูก
“หลังจากนั้น PwC Singapore ได้แต่งตั้งตัวบุคคลขึ้นอีกที่ทำงานใกล้ชิดกับ Jepson และ Liberty Shared ตามคำขอของ Jepson อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ทั้ง PwC Singapore และตัวบุคคลนั้นก็ไม่ได้รับการแชร์ข้อมูลที่จำเป็น เพื่อแก้ไขปัญหาใดๆ ที่อาจมีอยู่ในพื้นที่เพาะปลูกของเรา” (นกฮูกในสวนปาล์ม รูป ๘)
ขณะที่ Jepson ได้แสดงความคิดเห็นว่า การแต่งตั้งองค์กร NGOs เพื่อช่วยเหลือบริษัทนั้นไม่เหมาะสมอย่างยิ่งในความคิดของเขา เนื่องจาก “ผู้เชี่ยวชาญในการไกล่เกลี่ยจะไม่สามารถเสนอการประเมินในการกำกับดูแลและการควบคุมภายในอย่างตรงไปตรงมาได้”
“นอกจากนี้ Jepson ยังคงปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูล แม้ว่าจะมีการยืนยันซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า ความกังวลหลักของเราคือ ความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานของเรา และผู้แจ้งเบาะแสใน SDP จะได้รับการคุ้มครองอย่างแน่นอน”
“SDP ได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปที่รับผิดชอบ และแต่งตั้ง คกก. สิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นบุคคลที่ ๓ เมื่อวันที่ ๑ มี.ค. ๒๐๒๑ เพื่อเสนอการประเมินผลการดำเนินงานทั้งหมดของ SDP ใน มซ. อย่างเป็นอิสระและอย่างมืออาชีพ”
วันนี้เป็นรายงานการดำเนินการทาง กม. ของ Sime Darby กับ NGO สหรัฐฯ ที่กล่าวหาว่ามีการบังคับใช้ รง. ซึ่งใช้เป็นกรณีศึกษา ดังเช่นสินค้ากะทิของไทยที่ถูกกล่าวหาว่าใช้ลิงเก็บมะพร้าว ซึ่งต้องมีการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหากัน

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ