เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 15 มีนาคม 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 15 มีนาคม 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 17 มี.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 380 view

เช้านี้ มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๑๕ มี.ค. ๖๔ จำนวน ๓๑ คน
วันที่ ๑๔ มี.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๑,๓๕๔ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๒๖ คน รัฐตรังกานู ๓๗ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๓๒๓,๗๖๓ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๑,๒๑๐ คน (เพิ่มขึ้น ๔ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
มซ. เป็นหนึ่งใน ปท. ที่มีระบบสาธารณูปโภคดีที่สุดของเอเชีย และส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อความสำเร็จของการพัฒนา ศก. ในปัจจุบัน (Infrastructure & the Post Covid Recovery รูป ๒)
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง “ระบบโครงสร้างพื้นฐานของ มซ.” โดยแยกเป็น
๑. ท่าเรือ รบ. มซ. มีการพัฒนาท่าเรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าทางเรือ โครงการพัฒนาท่าเรือของ มซ. ส่วนใหญ่แล้วเสร็จตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ ซึ่งช่วยยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการขนส่งทางทะเลได้มากขึ้น ทำให้ท่าเรือของ มซ. สามารถรองรับการขนส่งสินค้าทางเรือได้มากถึง ๒๘๐ ล้านตัน เมื่อเทียบกับปี ๒๕๓๘ ที่ขนส่งได้ ๑๗๔ ล้านตัน และยังมีโครงการขยายท่าเรืออีกในอนาคต
ปัจจุบัน มซ. มีท่าเรือนานาชาติ ๗ แห่งได้แก่ Port Klang, Port of Tanjung Pelepas, Kuantan Port, Penang Port, Johor Port, Kemaman Port และ Bintulu Port โดยท่าเรือ ๖ แห่งแรกอยู่บนคาบสมุทรมลายู ส่วน Bintulu Port เท่านั้นที่อยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งนี้ Port Klang และ Port of Tanjung Pelepas ได้รับการยอมรับเป็น ๑ ใน ๑๐ ของท่าเรือที่ดีที่สุดในเอเชีย ข้อมูลท่าเรือที่สำคัญมีดังนี้
Port Klang เป็นท่าเรือสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่กึ่งกลางชายฝั่งทางตะวันตกของคาบสมุทรมลายู ปี ๒๐๑๘ ปริมาณสินค้าที่ขนส่งผ่านท่าเรือแห่งนี้ประมาณ ๑๒.๓ ล้านตัน (TEUs) ต่อปี สูงเป็นอันดับ ๒ ในเอเชียและอันดับ ๑๒ ของโลก มีท่าเรือน้ำลึกที่สามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ได้ และเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการขนส่งทางทะเล เนื่องจากเป็นท่าเรือที่อยู่ระหว่างช่องแคบมะละกา นอกจากนี้ ยังมี Free Commercial Zone (FCZ) เขตพิเศษสำหรับการลดหย่อนภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขนถ่ายสินค้า ด้วยปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ เพราะเป็นท่าเรือที่เป็นทางผ่านสำหรับการเดินเรือข้ามจากมหาสมุทรอินเดียไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก รบ. จึงพยายามผลักดันให้ Port Klang เป็นศูนย์กลางขนถ่ายสินค้าของประเทศและของภูมิภาค (Hub Port) ในปี ๒๕๕๓ ท่าเรือสามารถรองรับปริมาณสินค้าได้ถึง ๘.๔ ล้าน TEUs มีความยาวของท่าเทียบเรือ (Berth Length) รวม ๑๖ กม. มีเครือข่ายเชื่อมโยงกับท่าเรือปีนัง สำหรับสินค้าจากภาคใต้ของไทยใช้บริการท่าเรือแห่งนี้กว่า ๓ แสน TEUs/ปี (Port Klang รูป ๓)
Port of Tanjung Pelepas (PTP) อยู่ทางตอนใต้ของ มซ. ติดกับ สป. ห่างจากกรุงกัวลาลัมเปอร์เพียง ๔๐ กม. เริ่มก่อสร้างเมื่อปี ๒๕๔๒ ปัจจุบันมีท่าเทียบเรือทั้งหมด ๑๒ ท่า สามารถรองรับการขนส่งสินค้าได้ ๒.๕ ล้าน TEUs ต่อปี เป็นท่าเรือขนาดใหญ่อันดับที่ ๑๖ ของโลก รบ. มีเป้าหมายส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทะเลในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยมีสายการเดินเรือ เช่น Mearsk Sealand และ Evergreen Marine Corp. เข้ามาเป็นหุ้นส่วนและย้ายฐานจากท่าเรือ สป. มาใช้บริการของท่าเรือแห่งนี้ Port of Tanjung Pelepas มีจุดเด่นเพราะตั้งอยู่ในชุมนุมของเส้นทางการเดินเรือหลักที่สำคัญ และจัดสรรพื้นที่เป็นเขต อก.และกระจายสินค้า โดยมีระบบการเชื่อมต่อกับถนน ทางรถไฟ ท่าอากาศยาน และการขนส่งทางน้ำที่มีประสิทธิภาพ
Kuantan Port มีอีกชื่อหนึ่งว่า Kertih-Gebeng Corridor เป็นท่าเรือด้านชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรมลายู ใช้สำหรับการขนส่งใน อก. ปิโตรเคมี
Bintulu Port เป็นท่าเรือนานาชาติแห่งเดียวบนเกาะบอร์เนียว และเป็นท่าเรือสำหรับขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (LPG) แห่งแรกของ มซ.
๒. ท่าอากาศยาน มซ. มีท่าอากาศยานนานาชาติทั้งหมด ๘ แห่ง ได้แก่ ๑) Kuala Lumpur Int’l Airport รัฐสลังงอ ๒) Subang Int’l Airport รัฐสลังงอ ๓) Penang Int’l Airport เกาะปีนัง ๔) Langkawi Int’l Airport เกาะลังกาวี ๕) Kota Kinabalu Int’l Airport รัฐซาบาห์ ๖) Kuching Int’l Airport รัฐซาราวัค ๗) Senai Int’l Airport รัฐยะโฮร์ ๘) Melaka Int’l Airport รัฐมะละกา (ท่าอากาศยาน KLIA รูป ๔)
สำหรับท่าอากาศยาน Kuala Lumpur Int’l Airport (KLIA) มีพื้นที่ ๒๕,๐๐๐ เอเคอร์ (๖.๒๕ หมื่นไร่) เป็นท่าอากาศยานแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดของ มซ. อยู่เซปังในรัฐสลังงอ ห่างจากกัวลาลัมเปอร์ไปทางใต้ ๕๕ กม. สามารถเดินทางด้วยรถยนต์บนทางหลวงพิเศษใช้เวลาไม่เกิน ๑ ชม. นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการบินใน ปท. มีสายการบินในประเทศรองรับ เช่น Air Asia, Pelangi Air, Berjaya Air, Mofaz Air เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี ๒๕๔๑ รบ. มีแผนให้ท่าอากาศยานแห่งนี้สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ปีละ ๖๐ ล้านคน และขนส่งสินค้าได้ ๓ ล้านตันภายในปี ๒๕๖๓ และมีแผนจะขยายการขนส่งผู้โดยสารให้ได้ปีละ ๑๐๐ ล้านคนและขนส่งสิน ค้าได้ ๖ ล้านตันในอนาคต นอกจากท่าอากาศยานนานาชาติแล้ว ยังมีท่าอากาศยานภายใน ปท. อีก ๑๖ แห่ง และสนามบินทางวิ่งสั้น (STOL Ports) อีก ๑๘ แห่ง (North-South Expressway รูป ๕)
๓. ถนน มซ. มีระบบขนส่งทางถนนที่พัฒนาเป็นอย่างมาก เป็น ๑ ใน ปท. ที่มีระบบโครงข่ายถนนก้าวหน้าที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีระยะทาง ๙๘,๗๒๑ กม. ถนนสายหลัก ได้แก่ North-South Expressway (๘๔๗.๗ กม.), East-West Highway (ประมาณ ๕๐๐ กม.), Lebuhraya Damansara-Puchong (LDP), New Klang Valley Expressway (NKVE) และ Federal Highway Route 2 ถนนใน มซ. สามารถใช้เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงภาคศก. ชนบทกับเมืองได้เป็นอย่างดี (รถไฟ KTMB รูป ๖)
๔. รถไฟ Keretapi Tanah Melayu Bhd. (KTMB) เป็นบ. เอกชนที่ดำเนินการขนส่งระบบรางใน มซ. โดย รบ.เป็นผู้ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานกับตัวรถทั้งหมด และ KTMB ทำหน้าที่บริหารการเดินรถ รางรถไฟทั่ว ปท.รวมระยะทาง ๑,๘๔๙ กม. นอกจากนี้ยังมีรถไฟชานเมืองจากเมือง Rasa - Seremban และเมือง Klang - Sentul และกำลังขยายเส้นทางเพิ่มเติมจากเมือง Rasa - Ipoh อีก ๑๕๐ กม. สำหรับรถไฟฟ้าในเมือง มีทั้งระบบรางคู่และรางเดี่ยว (โมโนเรล) ส่วนใหญ่รางรถไฟเป็นแบบ Meter Gauge ยกเว้นเส้นทางเชื่อมสนามบินจากกรุงกัวลา ลัมเปอร์ถึงท่าอากาศยาน KLIA (Airport Rail Link) ที่ให้บริการ ๒ รูปแบบ คือ Express Line ระยะทางจากต้นทาง-ปลายทาง ความเร็ว ๑๗๕ กม./ชม. ใช้เวลา ๒๘ นาที และวิ่งทุก ๑๐ นาที รองรับผู้โดยสารราว ๒.๑ หมื่นคน/วัน ส่วน City Line จอดทุกสถานี ใช้เวลา ๓๗ นาที วิ่งทุก ๓๐ นาที รองรับผู้โดยสารราว ๗ พันคน/วัน และวางแผนจะขยายเพิ่มขึ้นในอนาคต (Monorail รูป ๗)
นี่เป็นข้อมูลระบบโครงสร้างพื้นฐานของ มซ. ซึ่งมีศักยภาพด้านการเดินทาง คมนาคม ขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดการค้าการลงทุนจากต่างประเทศและพัฒนา ศก. ของ มซ. ในปัจจุบัน

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ