เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 16 มีนาคม 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 16 มีนาคม 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 17 มี.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 321 view

เช้านี้ ไม่มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๑๖ มี.ค. ๖๔
วันที่ ๑๕ มี.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๑,๒๐๘ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๒๕ คน รัฐตรังกานู ๓๙ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๓๒๔,๙๗๑ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๑,๒๑๓ คน (เพิ่มขึ้น ๓ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
รบ.มซ. ประกาศจะเริ่มฉีดวัคซีนเข็มที่ ๒ (ฉีดห่างจากเข็มแรก ๒๑ วัน) ให้กับ ปชช. ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้วตั้งแต่ ๑๗ มี.ค. ๖๔ เป็นต้นไป โดย รมต.สธ. มซ. แจ้งว่า ปชช. ที่ได้คิวฉีดวัคซีนที่ รพ. เอกชนที่เข้าร่วมโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-๑๙ แห่งชาติของ รบ. จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ และวัคซีนจาก บ. Pfizer จำนวนอีก ๑,๐๐๐,๓๕๐ โดส จะส่งถึง มซ. ภายในสิ้นเดือน มี.ค. นี้
มซ. เป็น ปท. นำเข้าอาหารรายใหญ่โดยมีการนำเข้าปีละ ๑๔ พันล้านเหรียญสหรัฐ ในตลาดอาหารบางกลุ่ม เกือบทั้งหมดขึ้นอยู่กับการนำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวดเนื้อสัตว์ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากนม อาหารทะเลและโกโก้
ข้อมูลจาก Malaysia Food Importers and Import Trends 2020 พบว่า ปี ๒๐๒๐ มซ. นำเข้าอาหารจากจีน ๑.๓ พันล้านดอลลาร์สหรัฐราว ๑๘% ของตลาด อินเดียครองอันดับ ๒ มูลค่า ๗๔๗ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (๑๑%) ตามด้วยไทย (๑๐%) นิวซีแลนด์ (๙%) ออสเตรเลียและสหรัฐฯ (ทั้งคู่มี ๗%) ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการพึ่งพาการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ ๖.๕%
ในการนำเข้านม มซ. นำเข้าส่วนผสมของผลิตภัณฑ์นมเกือบทั้งหมด รวมถึงนมผงทั้งหมด นมไร้ไขมัน เวย์(whey โปรตีนในน้ำนม) และผลิตภัณฑ์จากนมที่เป็นของแข็งอื่น ๆ จากนั้นผลิตภัณฑ์นำเข้าเหล่านี้จะถูกนำไปผลิตนมข้นหวาน โยเกิร์ต และนมที่เป็นของเหลวปรุงขึ้นใหม่ การนำเข้านมและครีมของ มซ. เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบเป็นรายปีโดยแตะที่ ๖๓.๗ ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ๒๐๑๙
สำหรับโกโก้และน้ำตาล มซ. เป็นผู้ผลิตโกโก้รายใหญ่ที่สุดในเอเชีย แต่ต้องอาศัยการนำเข้าวัตถุดิบส่วนใหญ่ มีการนำเข้าเมล็ดโกโก้ถึง ๙๕% คิดเป็นมูลค่าการนำเข้า ๑.๐๘ พันล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนเนื้อวัว มซ. นำเข้าประมาณ ๘๐% ของเนื้อวัวจาก ปท. อื่น มีมูลค่าการนำเข้า ๙๓๗.๘๑ ล้านเหรียญสหรัฐ โดยการบริโภคเนื้อวัวใน มซ. ประกอบด้วยเนื้อที่ได้จากวัวและควาย และเป็นผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ที่คน มซ. บริโภคมากที่สุดเป็นอันดับ ๓ โดยมีการบริโภคต่อหัวประมาณ ๖.๕ ก.ก.
อุปทานเนื้อวัวใน มซ. ได้รับการเติมเต็มโดยการนำเข้าส่วนใหญ่จากอินเดีย (๗๗%) ออสเตรเลีย (๑๔%) และนิวซีแลนด์ (๕%) วัวมีชีวิตมักนำเข้าจากออสเตรเลียและไทย การนำเข้าของอินเดียมีราคาต่ำกว่าเนื้อวัวในท้องถิ่น ขณะที่เนื้อออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ถือเป็นแหล่งเนื้อฮาลาลที่มีคุณภาพ
เรื่องอาหารทะเล แม้ว่า มซ. จะมีพื้นที่ติดทะเลมาก แต่ก็นำเข้าผลิตภัณฑ์ปลาและอาหารทะเล มูลค่า๙๖๔.๙๕ ล้านเหรียญสหรัฐในปี ๒๐๑๙ เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ไทยเป็นซัพพลายเออร์หลักของอาหารทะเล ตามด้วยจีน (๒๓%) อซ. (๑๖%) เวียดนาม (๑๐%) และสหรัฐ อเมริกา (๑%) มีการนำเข้าจากไทย อซ. และจีนในราคาที่ถูกกว่า และใช้เวลาในการจัดส่งสั้นเนื่องจากอยู่ใกล้กับ มซ.
อนึ่ง รบ. PN ของ นรม. มูห์ยิดดิน มีนโยบาย กษ. ได้แก่ การสร้างหลักประกันความมั่นคงด้านอาหาร (Food Security) เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง “กษ. มซ. กำลังมองหาวิธีแก้ปัญหาราคาอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น” ตามรายงานของ นสพ. Berita Harian ฉบับวันที่ ๙ มี.ค.๒๐๒๑ (รมต.กษ. (คนกลาง) รูป ๒)
รมช. กษ. และ อก. อาหาร Che Abdullah Mat Nawi ได้แถลงว่า ก. เกษตรและ อก. อาหาร (MAFI) จะหารือกับผู้ผลิตอาหารสัตว์ที่ใช้เมล็ดปาล์มน้ำมัน เพื่อให้แน่ใจว่าเกษตรกรจะได้รับวัตถุดิบนี้
การเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อหาทางแก้ปัญหาความไม่แน่นอนของราคาอาหารสัตว์ ที่ขณะนี้มีการกล่าวว่าจะเพิ่มสูงขึ้น หนึ่งในวัตถุดิบอาหารสำหรับปศุสัตว์ในปัจจุบันนั้น มาจากเมล็ดปาล์มน้ำมัน (รมช.กษ. รูป ๓)
“เราผลิตเมล็ดปาล์มน้ำมันได้เองใน ปท. มีเพียงผู้ผลิตเหล่านี้เท่านั้นได้มีสัญญากับต่างประเทศแล้วเรื่องส่งออกวัตถุดิบนี้ ดังนั้นเมล็ดปาล์มส่วนใหญ่จึงถูกส่งออก ทางกระทรวงจะพยายามหารือกับผู้ผลิตเหล่านี้เพื่อให้สามารถเก็บเมล็ดปาล์มบางส่วนไว้เพื่อใช้ใน ปท.” เขากล่าวในงานแถลงข่าวหลังจากเยี่ยมชมโรงงานแปรรูปไก่
ในรายงานของสื่อเมื่อวันที่ ๔ มี.ค. หลังถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับการร้องเรียนของเกษตรกรเรื่องราคาอาหารสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้น และขอให้ รบ. เข้าแทรกแซงเพื่อควบคุมสถานการณ์ (ชมตลาดเนื้อไก่สด รูป ๔)
Che Abdullah กล่าวว่า จากข้อมูลของกรมบริการสัตวแพทย์ ราคาวัสดุดิบเพิ่มขึ้นระหว่าง ๓-๕% ในช่วงนี้ นอกจากนี้ ก. เกษตรและ อก. อาหาร จะหารือกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางว่าจะเพิ่มการผลิตอาหารสัตว์ได้อย่างไร ไม่เพียงแต่จากเมล็ดปาล์มน้ำมันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพืชอื่นๆ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (เยี่ยมโรงงานแปรรูปไก่ รูป ๕)
“ในอนาคตอันใกล้นี้ ตนจะพยายามพูดคุยกับผู้ผลิตอาหาร (ปศุสัตว์) เหล่านี้ โดยตนจะไปเยี่ยมผู้ผลิตอาหารเหล่านี้ เพื่อจะได้รับฟังด้วยตัวเองว่า ปัญหาของพวกเขาคืออะไร จนทำให้ราคาของอุปทานอาหารสัตว์เพิ่มสูงขึ้น” (เยี่ยมคอกปศุสัตว์ รูป ๖)
ขณะเดียวกัน เขายังสนับสนุนให้เกษตรกรริเริ่มการผลิตอาหารสัตว์ร่วมกับคนอื่นๆ โดยการปลูกหญ้าเนเปียร์ (napier) เพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขาได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น (หญ้า napier รูป ๗)
วันนี้เป็นรายงานความคิดริเริ่มของ ก. เกษตรและ อก.อาหาร (MAFI) มซ. ในการใช้เมล็ดปาล์มน้ำมันเป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสตว์ เพื่อแก้ปัญหาราคาอาหารสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้น

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ