เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 17 มีนาคม 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 17 มีนาคม 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 29 มี.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 263 view

เช้านี้ มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๑๗ มี.ค. ๖๔ จำนวน ๘ คน
วันที่ ๑๖ มี.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๑,๐๖๓ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๖๗ คน รัฐตรังกานู ๒๓ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๓๒๖,๐๓๔ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๑,๒๑๘ คน (เพิ่มขึ้น ๕ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
รบ. มซ. ได้ขยายการบังคับใช้มาตรการควบคุมการสัญจรแบบมีเงื่อนไข (Conditional Movement Control Order (CMCO) ในรัฐสลังงอร์ กรุงกัวลาลัมเปอร์ รัฐยะโฮร์ รัฐปีนัง และรัฐกลันตัน ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๓๑ มี.ค. ๖๔ ส่วนรัฐซาราวักจะขยายการบังคับใช้มาตรการ CMCO ระหว่างวันที่ ๑๖ –๒๙ มี.ค. ๖๔
และได้ประกาศการบังคับใช้มาตรการควบคุมการสัญจรระยะฟื้นฟู (Recovery Movement Control Order (RMCO) ในรัฐเกดาห์ รัฐเปรัก และเนกรีเซมบิลัน ตั้งแต่วันที่ ๑๙-๓๑ มี.ค. ๖๔ ส่วนรัฐเปอร์ลิส รัฐมะละกา รัฐปาหัง รัฐตรังกานู รัฐซาบา ปุตราจายา และ Labuan จะขยายการบังคับใช้มาตรการ RMCO ระหว่างวันที่ ๑๙–๓๑ มี.ค.๖๔
ปัจจุบัน รายได้ประชาชาติรวมต่อหัว (gross national income : GNI) ของ มซ. อยู่ที่ ๑๑,๒๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ (๔๖,๐๗๗ ริงกิต) ซึ่งถือเป็น ปท. ที่มีรายได้ปานกลางค่อนสูง (ปี ๒๐๑๙ ของไทย ๗,๒๖๐ ดอลลาร์สหรัฐ) ตามการประเมินล่าสุดและต่ำกว่าระดับเกณฑ์ที่กำหนดการเป็น ปท. ศก. รายได้สูงเพียง ๑,๓๓๕ ดอลลาร์สหรัฐ
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ เสนอเรื่อง “มซ. จะทะยานเป็น ปท. ศก. รายได้สูงต้นปี ๒๐๒๔” ตามรายงานของ นสพ. Berita Harian ฉบับวันที่ ๑๖ มี.ค.๒๐๒๑
มซ. คาดว่าจะพัฒนาไปเป็น ปท. ศก. ที่มีรายได้สูงในช่วงต้นปี ๒๐๒๔ จากพัฒนาการเปลี่ยนแปลงทาง ศก. (economic transformation) ที่ได้ดำเนินการในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา (ตึกระฟ้า กรุงกัวลาลัมเปอร์ รูป ๒)
รมต. คลัง Zafrul กล่าวตามที่ ธ. โลกระบุว่า เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มซ. จำเป็นต้องดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อเปลี่ยน ศก. ให้เป็น ปท. ที่มีรายได้สูงและรักษาการเติบโตอย่างเท่าเทียมกัน หลังการระบาดโควิด-๑๙
เขากล่าวว่า รบ. มุ่งมั่นที่จะประเมินคุณภาพ การมีส่วนร่วม (inclusiveness) ความยั่งยืนด้านการเติบโตของ มซ. ต่อไปในอนาคต เพื่อให้ได้สถานะการเป็น ปท. ที่มีรายได้สูงในอีก ๕ ปีข้างหน้า
“มซ. กำลังสร้างรากฐานที่ดี แต่เราก็ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องลงทุนเพิ่มเติมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพสูง เพื่อช่วยสร้างโอกาสทาง ศก. ให้มากขึ้น ปท. ยังต้องลงทุนในการสร้างคนรุ่นต่อไปที่มีการเพิ่มผลผลิตสูง รวมถึงนโยบายและการเติบโตของภาคเอกชนที่ใช้นวัตกรรม” (Malaysia will join the club of high-income countries soon รูป ๓)
“ในรายงานของ ธ. โลก ระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่ มซ. จะพัฒนาขึ้นเป็น ปท. ศก. ที่มีรายได้สูง ระหว่างปี ๒๐๒๔-๒๘ แต่เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องร่วมมือกับ ปท. อื่นที่พัฒนาแล้ว” เขากล่าวในงานเปิดตัวรายงาน ธ.โลก ในหัวข้อ “ตั้งเป้าให้สูง – มุ่งสู่การพัฒนาขั้นต่อไปของ มซ.” (Aiming High - Navigating the Next Stage of Malaysia's Development รูป ๔)
โดยที่มีผู้เข้าร่วมงาน ได้แก่ รมต. สนร. (ศก.) Mustapa Mohamed และ Victoria Kwakwa รองประธาน ประจำภูมิภาคของ ธ. โลก (รองประธาน ประจำภูมิภาคของ ธ. โลก รูป ๕)
จากข้อมูลของ ธ. โลก ความคืบหน้าของ มซ.ที่จะถึงจุดเริ่มต้นของการเป็นปท. ที่มีรายได้สูง ได้ชะลอตัวลงตามผลกระทบของ COVID-19 แต่ มซ. มีโอกาสที่จะดำเนินการปฏิรูปที่ชัดเจน เพื่อรักษาการเติบโตในอนาคต
รมต. คลัง Zafrul กล่าวว่า “ความคิดริเริ่มที่ดำเนินการโดย รบ. ทำให้เห็นว่า จะสามารถสร้างความมั่นใจในการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ผ่านยุทธศาสตร์ทาง ศก. ด้วยการใช้โอกาสทาง ศก. หลังโควิด-๑๙ มซ. จะกลับมาเดินหน้าสู่สถานะการเป็น ปท. ที่มีรายได้สูงในอีก ๕ ปีข้างหน้า รวมถึงการบรรลุวิสัยทัศน์เพื่อความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน (Vision for Shared Prosperity : VSP) ภายในปี ๒๐๓๐”
เขาอธิบายว่า ในอนาคต มซ. จำเป็นต้องสร้างเส้นทางใหม่ ที่ ศก. เติบโตโดยอาศัยองค์ความรู้ระดับสูง (knowledge-intensive) และการเติบโตที่ขับเคลื่อนด้วยการเพิ่มผลผลิต ให้มากขึ้น (รมต. คลัง Zafrul รูป ๖)
“ผมตระหนักดีว่า ชาว มซ. ไม่เพียงแต่ต้องการทำให้เป็น ปท. ศก. ที่มีรายได้สูงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปฏิรูปเพื่อยกระดับมาตรฐานการดำรงชีพด้วย ในเรื่องนี้สิ่งสำคัญคือ ต้องมีการประเมินใหม่ ไม่เพียงแต่เติบโตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคุณภาพ การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ (inclusiveness) และอย่างยั่งยืนด้วย” เขากล่าว
ขณะเดียวกัน รมต. Mustapa กล่าวว่า แม้ว่าในขณะนี้ รบ. กำลังมุ่งเน้นไปที่ความพยายามในการฟื้นตัวจากการระบาดโควิดและฟื้นฟู ศก. แต่ ปท. ก็ต้องการแผนพัฒนา ศก. และแผนก้าวหน้าระยะยาวด้วย
ในเรื่องนี้ เขากล่าวว่า แผนพัฒนา ศก. และสังคมระยะ ๕ ปี มีความสำคัญในการกำหนดทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนขึ้น และทำให้ ศก. มซ. มีความเข้มแข็งมากขึ้น (ระบบขนส่ง มซ. รูป ๗)
“ขณะที่เราปรารถนาจะเข้าร่วมในกลุ่ม ปท. ศก. ที่พัฒนาแล้วและมีรายได้สูง แต่ มซ. ก็จำเป็นต้องแข่งขันในระดับโลกเช่นกัน ดังนั้นแผนพัฒนา มซ. ฉบับที่ 12 (12th Malaysia Plan : 12MP) ไม่ได้เป็นเพียงต้องมีความต่อเนื่องจากแผนก่อนหน้านี้ แต่ยังต้องมีแนวทางใหม่ๆ ในการดำเนินการ เพื่อทำให้ มซ. มีความเจริญรุ่งเรือง มีส่วนร่วมกันในทุกภาคส่วน และเกิดความยั่งยืน
“เป็นการกำหนดวาระการปฏิรูปในหลายประเด็นสำคัญ รวมถึงการเสริมสร้างพื้นฐาน ศก. มหภาคและความยืดหยุ่น การ 'ฟื้นฟู' ศก. เพื่อรักษากำลังการเติบโต (growth momentum) ผลักดันการเติบโตอย่างมีศักยภาพให้เป็นปท. ที่มีเทคโนโลยีชั้นสูง การพัฒนาสมรรถภาพของบุคลากรในอนาคต การบรรลุเป้าหมายการเติบโตอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน” เขากล่าว
วันนี้เป็นรายการการประเมินของ ธ. โลกเกี่ยวกับผลการดำเนินนโยบายมาตรการทาง ศก. ของ มซ. ที่ผ่านมา ซึ่งจากรายได้ประชาชาติต่อหัว ณ ปัจจุบัน ๑๑,๒๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ ยังขาดเพียง ๑,๓๓๕ ดอลลาร์สหรัฐ มีการคาดการณ์ว่า มซ. จะสามารถพัฒนาเป็น ปท. ศก. ที่มีรายได้สูงได้ในต้นปี ๒๐๒๔

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ