เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 22 มีนาคม 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 22 มีนาคม 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 29 มี.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 24 พ.ย. 2565

| 296 view

เช้านี้ มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๒๒ มี.ค. ๖๔ จำนวน ๔๓ คน
วันที่ ๒๑ มี.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๑,๓๒๗ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๓๐ คน รัฐตรังกานู ๑๘ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๓๓๓,๐๔๐ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๑,๒๓๓ คน (เพิ่มขึ้น ๔ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ เสนอเรื่อง “MIDA มุ่งส่งเสริมการลงทุนที่มีคุณภาพ” ตามรายงานของ นสพ. The Star ฉบับวันที่ ๒๒ มี.ค. ๒๐๒๑
สนง. ส่งเสริมการลงทุน มซ. (Malaysian Investment Development Authority : MIDA) ภายใต้กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ (MITI) กำลังเพิ่มความพยายามในการดึงดูดการลงทุนที่มีคุณภาพสูง เพื่อยกระดับสถานะของ มซ. ในฐานะเป็น ปท. การค้าที่มีการแข่งขันสูงทั่วโลก แม้จะเกิดวิกฤตโควิด -๑๙
Abdul Majid ปธ. MIDA กล่าวว่า มซ. ได้คัดเลือกและกำหนดเป้าหมายเพื่อให้เกิดการลงทุนที่มีคุณภาพสูง โดยให้ความสำคัญกับโครงการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เทคโนโลยีขั้นสูง การวิจัยและพัฒนาและการออกแบบ (R&D&D) ที่เน้นทักษะและงานที่มีรายได้สูง และไม่ส่งเสริมโครงการที่ใช้แรงงานมาก เนื่องจากมีการแข่งขันสูงขึ้น (ปธ. MIDA รูป ๒)
“สำหรับการวิจัย เรามีสิ่งจูงใจให้บรรษัทข้ามชาติดำเนินการวิจัยและพัฒนาใน มซ. โดยต้องมีการเชื่อมโยงที่เข้มแข็งกับ อก. ใน ปท. และสร้างผลทวีคูณ (multiplier effects) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศของ มซ. ขณะที่มีการพัฒนาทักษะ เพื่อให้ตรงตามข้อกำหนดของ บ. ต่างๆ ที่ลงทุนใน มซ. รวมถึงโครงการที่พัฒนาในสาขาที่เติบโตใหม่ แนะนำเทคโนโลยีใหม่ เพื่อเปลี่ยน มซ. ให้เป็นศูนย์กลางการผลิตและบริการระดับภูมิภาคและระดับโลก
“แม้ยังมีการปิดพรมแดนระหว่าง ปท. เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด แต่ MIDA ยังคงส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ผ่าน สนง. ๒๐ แห่งในต่างประเทศและ ๑๒ ภูมิภาค" (อก.เครื่องจักรกล รูป ๓)
มซ. ได้อนุมัติการลงทุนรวม ๑.๖๔ แสนล้านริงกิตในปี ๒๐๒๐ โดยเป็นการลงทุนโดยตรงใน ปท. (domestic direct investment : DDIs) ๙.๙๘ หมื่นล้านริงกิต (๖๐.๙%) ขณะที่ FDI ๖.๔๒ หมื่นล้านริงกิต (๓๙.๑%) เป็นการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติทั้งหมด ๔,๕๙๙ โครงการ ซึ่งคาดว่าสร้างงาน ๑๑๔,๖๗๓ คน แบ่งเป็นภาคการผลิตคิดเป็น ๕๕.๗% ของการลงทุน มูลค่า ๙.๑๓ หมื่นล้านริงกิต ตามมาด้วยภาคบริการ ๖.๖๗ หมื่นล้านริงกิต (๔๐.๗%) และภาคปฐมภูมิ (primary) ๖ พันล้านริงกิต (๓.๖%)
ในปีนี้ MIDA คาดว่าจะมีการลงทุนในด้านการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีสูง ศูนย์บริการระดับโลก Principal Hub การดูแลสุขภาพ การศึกษา โลจิสติกส์ เทคโนโลยีสีเขียว และ R&D
“MIDA ยังเป็นหัวหอกในการดึงดูดการลงทุนที่มีคุณภาพทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้ มซ. เป็นทางเลือกของการเป็นศูนย์กลางของซัพพลายเชน (supply chain) ในเอเชีย โดยมีทิศทางเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ ได้แก่
- เป็นแหล่งโอกาสในการลงทุนใหม่ (สีเขียว) โดยใช้ประโยชน์จากกระแสหลักในการพัฒนา ศก. ดิจิทัล อี-คอมเมิร์ซและ อก. ๔.๐
- เน้นเทคโนโลยีเฉพาะ (Niche technologies) ใน อก. ที่มีอยู่แล้ว โดยเร่งปิดช่องว่างและเติมเต็มห่วงโซ่คุณค่า (value chain)
- ผลักดัน บ. ที่มีอยู่แล้ว (สีน้ำตาล) ให้ขยายลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และดำเนินกิจกรรมหรือบริการที่ให้มูลค่าสูง
- แนวคิดโครงการ Lighthouse ของ MIDA เพื่อช่วยให้ MNCs และ บ. ท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จจากการปฏิรูป อก. ๔.๐ (Industry 4.0 transformation) ชี้แนะแนวทางและสนับสนุน อก. การผลิตในท้องถิ่นของ มซ. ให้ใช้กระบวนการปฏิวัติ อก. คลื่นลูกที่ ๔ (4th Industrial Revolution : IR 4.0) ในการพัฒนาธุรกิจด้วย
“สถานการณ์โควิดได้เปลี่ยนทัศนคติของผู้ประกอบธุรกิจ เกี่ยวกับความสำคัญของการใช้ระบบอัตโนมัติ ซึ่งได้ส่งผลต่อทัศนคติและช่วยเร่งกระบวนการยอมรับเทคโนโลยี จนถึงปัจจุบัน บ. ๓๘๒ แห่งในภาคการผลิตได้รับเงินทุนสนับสนุนระบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมแรงจูงใจที่สำคัญ ในการสนับสนุนให้ บ. ใน ปท. ใช้ระบบอัตโนมัติและอัพเกรดเครื่องจักร (อก.ยานยนต์ รูป ๔)
ปัจจุบันมีการลงทุนคิดเป็นมูลค่า ๖.๕๙ หมื่นล้านริงกิตทั้งภาคการผลิตและบริการ ภายใต้ MIDA เกี่ยวข้องกับ ๑,๐๔๓ โครงการ ใน อก. ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (E&E) และการบิน อก. ฮาลาล อก.สร้างสรรค์ อก. ชีวมวล และ อก.กษ. (ฟาร์มอัจฉริยะ) ซึ่งมีโอกาสสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนสร้างโอกาสในการจ้างงานที่ใช้ทักษะสูง ให้กับชาว มซ.
Abdul Majid หวังว่า หลังวิกฤตโควิด MIDA โครงการส่วนใหญ่จะดำเนินการเชิงรุกผ่าน MIDA’s Project Acceleration & Coordination Unit (PACU) ที่ติดต่อประสานงานกับ บ.และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง โดย PACU ยังบริการให้คำปรึกษาแก่ บ. สตาร์ทอัพและกลุ่ม บ. ผ่านแนวคิดแบบครบวงจร (one-stop centre)
MIDA ได้เปิดตัวระบบ e-TRANS และปรับปรุงโมดูลออนไลน์หลายอย่าง ได้แก่ การอนุมัติคำขอต่างๆ ให้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นใบอนุญาตการผลิต (e-manufacturing license), e-incentive และภาษีนำเข้าและ/หรือการยกเว้นภาษีการขาย เพื่อเร่งการดำเนินโครงการ (แขนหุ่นยนต์ในสายการผลิต รูป ๕)
ปี ๒๐๒๐ รบ. ได้ดำเนินโครงการริเริ่ม เพื่อสนับสนุนการลงทุนและลดผลกระทบโควิด โดยได้ออกมาตรการกระตุ้น ศก. ๔ โครงการ ได้แก่ Prihatin, Prihatin SME Plus, Penjana และ Kita Prihatin จัดสรรเงิน ๓.๐๕ แสนล้านริงกิต
การสร้างแรงจูงใจของ MIDA ในการกระตุ้นให้เกิดระบบอัตโนมัติระหว่าง บ. ต่างๆ ผ่าน Smart Automation Grant, Domestic Investment Strategic Fund (DISF), Digital Transformation Accelerated Program, Industry4WRD Intervention Fund และ Automation Capital Allowance คาดว่าจะผลักดันการลงทุนที่มีศักยภาพเพิ่มเติมให้แก่ มซ. จนถึงขณะนี้ MIDA ได้อนุมัติเงินช่วยเหลือ ๒.๑ พันล้านริงกิต ภายใต้ DISF นับตั้งแต่จัดตั้งกองทุนในเดือน ก.ค. ๒๐๑๒ โดยการจัดสรรดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ ๔๐๗ โครงการที่มีมูลค่าลงทุน ๑.๘๔ หมื่นล้านริงกิต
Abdul Majid กล่าวว่า MIDA กำลังเพิ่มประสิทธิภาพของ Malaysia Digital Blueprint (2021-2030) หรือ MyDigital และกลไก Industry 4.0 (อัตโนมัติ) ที่ รบ. นำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนที่มีคุณภาพ
ตั้งแต่ปี ๒๐๑๗ รบ. ได้ริเริ่มแผนยุทธศาสตร์อีคอมเมิร์ซแห่งชาติ และในปี ๒๐๑๘ ด้วยนโยบาย Industry4wrd ได้เร่งให้ มซ. นำดิจิทัลมาใช้ในวงการธุรกิจ การศึกษาและสังคม ซึ่งช่วยให้ อก. ของ ปท. ตั้งแต่การผลิต การดูแลสุขภาพ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงอีคอมเมิร์ซ พัฒนาเป็นดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของ ปท.
เขากล่าวว่า รบ. ตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาภาคเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะรักษาโมเมนตัมของการเติบโตทาง ศก. รวมถึงปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันและความยืดหยุ่นของ ศก. มซ.
“เรายังคงดึงดูดการลงทุนที่มีคุณภาพด้วยความเชี่ยวชาญมากขึ้น ในภาคการเร่งปฏิกิริยา ๓ + ๒ ซึ่งไฮไลต์ภายใต้แผนพัฒนา มซ. ฉบับที่ ๑๑ ได้แก่ อก. E&E เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ การบิน และอุปกรณ์ทางการแพทย์ตลอดจนภาคการเติบโตใหม่ที่มีศักยภาพนอกเหนือจากข้างต้น โดยหวังว่า อก. ทั้ง ๕ สาขาจะช่วยยกระดับ มซ. ขึ้นเป็น ปท. ที่มีรายได้สูงและสนับสนุนวิสัยทัศน์ความมั่งคั่งร่วมกันปี ๒๐๓๐ (Shared Prosperity Vision 2030 : SPV 2030) ด้วย” (อก. เครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รูป ๖)
ในการอนุมัติให้กับ บ .ที่แสวงหาสิ่งจูงใจต่างๆ เขากล่าวว่า “เราต้องการให้แน่ใจว่ามีการถ่ายทอดเทคโนโลยีจริง บ. เหล่านี้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาระดับสูงของเรา ที่ซึ่งนักวิจัยหรือบุคลากรของเราถูกส่งไปประจำหรือได้รับการว่าจ้างจาก บ. เหล่านี้ เพื่อเพิ่มการถ่ายทอดเทคโนโลยี
“เราทำได้ดีในภาคยางและผลิตภัณฑ์ยาง โดยได้เป็นแชมป์โลกในการผลิตถุงมือ เรามี บ.ถุงมือใน มซ. ๔-๕ แห่งที่ป้อนถุงมือยางแก่โลกถึง ๘๐%” เขากล่าวและเสริมว่า MIDA หวังว่าผู้ให้บริการ E&E และเซมิคอนดักเตอร์จะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ MIDA ได้ส่งเสริมระบบนิเวศการลงทุนภายใน ปท. ได้จัดตั้ง Domestic Investment Coordination Platform (DICP) หน่วยงานซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงรอยต่อที่ขาดหายไประหว่างธุรกิจ เงินทุน เทคโนโลยี และความสามารถในการวิจัย
ความคิดริเริ่มที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งของ MIDA คือการจัดตั้งศูนย์แบบครบวงจรเมื่อ ๒ ต.ค. ที่ผ่านมา เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน โดยเร่งอนุมัติการเดินทางเข้า มซ. เพื่อจะดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ
การที่ MIDA ได้ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อการพัฒนา ปท. นั้น ได้ช่วยยกระดับและกระจายผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายและส่งเสริมการเติบโตของระบบนิเวศห่วงโซ่อุปทาน และ อก. บริการที่เกี่ยวข้องใน ปท. ปัจจุบันมี บ. กว่า ๕ พันแห่งจากกว่า ๔๐ ปท. ได้เลือก มซ. เป็นฐานดำเนินการด้านการผลิตและบริการที่เกี่ยวข้อง
“มซ. ยังเป็นประตูสู่อาเซียนซึ่งมีตลาดมากกว่า ๖๒๐ ล้านคน ในฐานะสมาชิกของอาเซียน ควรใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งของชาติอื่นๆ เพื่อดึงกลุ่มธุรกิจให้เข้ามา”
“ความหวังของเราคือผู้ประกอบการและภาคเอกชนจะตอบสนองในเชิงบวกต่อความคิดริเริ่มของ รบ. นั่นคือสิ่งจูงใจต่างๆ กระบวนการใหม่ ๆ ที่นำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจและการใช้ประโยชน์จาก อก.๔.๐ ถือเป็นก้าวสำคัญในการเริ่มต้น ศก. ใหม่และนำ มซ. ขึ้นสู่ระดับต่อไปด้วย”
วันนี้เป็นรายงานการส่งเสริมการลงทุนของ MIDA ซึ่งเลือกส่งเสริมการลงทุนที่มีคุณภาพ เพื่อเปลี่ยน มซ. ให้เป็นศูนย์กลางการผลิตและบริการระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งหลายมาตรการจูงใจสามารถเป็นกรณีศึกษาให้ไทยได้เช่นกัน

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ