เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 21 มีนาคม 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 21 มีนาคม 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 29 มี.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 203 view

เช้านี้ ไม่มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๒๑ มี.ค. ๖๔
วันที่ ๒๐ มี.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๑,๖๗๑ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๖๓ คน รัฐตรังกานู ๓๒ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๓๓๑,๗๑๓ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๑,๒๒๙ คน (เพิ่มขึ้น ๔ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
ณ นาทีนี้ จากบทเรียนโควิด เพื่อความอยู่รอด มนุษย์จำเป็นต้องเพรียกหา “นวัตกรรม” ในทุกวงการ ทั้งภาคการผลิต ธุรกิจบริการ ไม่เว้นแต่ อก. สวนยาง ซึ่งขวนขวายการปฏิรูปด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเช่นกัน
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ เสนอเรื่อง “บริดจ์สโตน” คิดค้น Big Data บริหารสวนยาง” ตามรายงานของ นสพ. ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ ๑๘ มี.ค. ๖๔ (รายงานข่าว รูป ๒)
“บริดจ์สโตน คอร์ปอเรชั่น” โชว์วิสัยทัศน์ คิดค้น Big Data บริหาร นำร่องโมเดล “อินโดนีเซีย” เพิ่มผลผลิตให้แก่ “สวนยางพารา” อย่างมีเสถียรภาพ
รายงานข่าวจาก บ. “บริดจ์สโตน คอร์ปอเรชั่น” หรือ "bridgestone" ได้นำการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมาก หรือ "Big Data" มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะปลูกยางพารา ซึ่งเป็นการใช้แนวทางเชิงวิชาการ ที่แนะนำโดยสถาบันคณิตศาสตร์เชิงสถิติ ขององค์กรการวิจัยสารสนเทศและระบบใน ญป. โดยระบบนี้จะวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการปลูกต้นยางพารา อาทิ ความสมบูรณ์ของดิน การจัดการกับโรคพืช และศักยภาพในการขยายพันธุ์ต้นยาง (Cockpit จำหน่ายยางรถยนต์ รูป ๓)
รวมถึงการคัดสรรพันธุ์ยางพาราที่ควรปลูก ระยะเวลา สถานที่และปริมาณการปลูก เพื่อเพิ่มผลผลิตยางพาราธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตามพันธุ์ยางและฤดูกาลที่แตกต่างกันออกไปตามพื้นที่ ซึ่งระบบดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นจากความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการสวนยางพาราของบริดจ์สโตน และกำลังถูกทดสอบในสวนยางพาราของบริษัทฯ ใน อซ. (๔ ผลไม้ที่ปลูกคู่ยาง รูป ๔)
ยางพาราธรรมชาติผลิตจากต้นยางพารา ซึ่งเป็นวัสดุหลักในการผลิตยางรถยนต์ ที่มีการเพาะปลูกหนาแน่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประสบปัญหาโรคพืชและการตัดไม้ทำลายป่า บริดจสโตนจึงได้ริเริ่มโครงการนี้ในปี ๒๕๖๐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดหาวัตถุดิบที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ด้วยการกระจายแหล่งยางพาราธรรมชาติ ขณะเดียวกันก็มุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม อันเนื่องมาจากวงจรชีวิตของต้นยางพาราตั้งแต่การจัดหาจนถึงการกำจัด (ยางที่ใช้ปูพื้นถนน รูป ๕)
สำหรับระบบเอกสิทธิ์ของบริดจ์สโตนนี้ เกิดขึ้นจากแนวทางเชิงวิชาการในการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Modelling) รวมกับความรู้ของบริดจ์สโตน ทั้งการบริหารจัดการสวนยางพารา การพัฒนาดิน การป้องกันโรค การคาดการณ์ผลผลิต ซึ่งช่วยให้สามารถคาดการณ์และรักษาสมดุลระหว่างการจัดหาทรัพยากรเพื่อเพิ่มผลผลิตการเพาะปลูก และอุปทานของยางพาราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต
บริษัทฯ ใช้ระบบใหม่ในการคาดการณ์ผลผลิตโดยอาศัยข้อมูลการบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งได้สะสมมาจากประสบการณ์หลายปี นอกจากนี้ยังได้รวมองค์ประกอบการบริหารจัดการต่าง ๆ โดยอาศัยระบบอัลกอริทึม ที่สามารถปรับเปลี่ยนตามสภาพการเปลี่ยนแปลงที่พบในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาการเพาะปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบัน ระบบดังกล่าวกำลังถูกทดลองในสวนยางพาราของบริษัทฯ ที่ อซ. ซึ่งบริดจ์สโตนเชื่อว่า ด้วยประสบการณ์ที่มีมายาวนาน จนทำให้บริษัทฯ ทราบถึงข้อมูลความต่างในการปลูกยางพาราแต่ละพื้นที่ ภูมิภาค หรือในแต่ละประเทศ จะช่วยให้สามารถบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม นำไปสู่การเพิ่มผลตอบแทนที่สูงขึ้น ตลอดจนสามารถคงประสิทธิภาพนี้ไว้ได้ในระยะยาวอย่างยั่งยืน
“บริดจ์สโตน คอร์ปอเรชั่น” มุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ด้วยการผนวกรวมความรู้เกี่ยวกับยางที่เป็นเอกลักษณ์เข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อร่วมสร้างคุณค่าผ่านการทำงานร่วมกับพันธมิตรทุกภาคส่วน เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กรที่ว่า “บริดจ์สโตนมุ่งมั่นส่งมอบคุณค่าแก่สังคมและลูกค้าในฐานะองค์กรผู้ส่งมอบโซลูชั่นอย่างยั่งยืนให้สำเร็จภายใน พ.ศ. ๒๕๙๓" (ที่นอนยางพารา รูป ๖)
พร้อมกำหนดเป้าหมายระยะกลางด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ตั้งเป้าหมายไว้ภายใน พ.ศ. ๒๕๗๓ เพื่อกระตุ้นให้เกิด "การแยกส่วน" การเติบโตของธุรกิจของเราออกจากผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรที่เพิ่มขึ้น บริษัทส่งมอบโซลูชั่นผ่านนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการขนส่งที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น รวมไปถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการตระหนักถึง ศก. หมุนเวียน รวมไปถึงการใช้ทรัพยากรที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ในระยะยาว (โรงงาน Dr. Boo ผลิตถุงมือยาง รูป ๗)
วันนี้เป็นเรื่องของการนำ Big Data มาใช้บริหารสวนยางของ บ.บริดจ์สโตนที่ อซ. ซึ่งกระทรวงดิจิทัลของไทยควรเร่งให้หน่วยงานรัฐ เอกชน หรือสถานศึกษาที่เชี่ยวชาญใช้ Big Data กับ อก. สวนยางของไทย ก็จะบริหารจัดการสวนยางพารา เพื่อเพิ่มผลผลิต รักษาสมดุลอุปสงค์และอุปทานของยางพาราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ