เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 8 ก.พ. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 269 view

เช้านี้ มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๔ ก.พ. ๖๔ จำนวน ๒๔ คน
วันที่ ๔ ก.พ. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๔,๕๗๑ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๔๘ คน รัฐตรังกานู ๖๙ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๒๓๑,๔๘๓ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๘๒๖ คน (เพิ่มขึ้น ๑๗ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
ต่อจากคอลัมน์เรื่อง “เจาะลึก Big Data และ Cloud Computing” ที่เสนอไปเมื่อวันที่ ๓ ก.พ. สำหรับตอนที่ ๒ จะชี้ให้เห็นเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จาก Big Data และ Cloud Computing ในการพัฒนา ศก. และสังคม
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง “จีนแก้จนด้วย Big Data ในยุคดิจิทัล” ดังตัวอย่างในมณฑลกุ้ยโจว ที่ใช้ Big Data ในการบริหารจัดการมณฑล โดยประยุกต์ Big Data และเทคโนโลยีอื่นๆ ใช้กับองค์กรและ อก. กษ. ช่วยเพิ่มผลผลิตของห่วงโซ่อาหาร ส่งผลให้คนจนมีรายได้เพิ่มขึ้น และสภาพ ศก. ขยายตัวมากขึ้น (ผู้ว่ามณฑลกุ้ยโจว รูป ๒)
กุ้ยโจว (Guizhou) เป็นเขตนำร่องด้าน Big Data ระดับ ปท. แห่งแรกของจีน ที่ผ่านมาใช้เทคโนโลยี Big Data ช่วยแก้ปัญหาความยากจนได้เป็นอย่างดี ในที่นี้จะแยกการใช้ประโยชน์ Data ในภาค กษ. โดยแยกเป็นกรณีๆ ไป
กรณีศึกษาที่ ๑ : Guizhou Yo Yo Green Agricultural Technology Co., Ltd. เป็น บ. อีคอมเมิร์ซชั้นนำที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและกำไรให้เกษตรกร โดยเฉพาะเมื่อรวบรวมข้อมูลและทำ Big Data สามารถเพิ่มรายได้ที่แน่นอนให้เกษตรกรท้องถิ่นจำนวนมากหลุดพ้นจากความยากจนได้ในที่สุด (มณฑลกุ้ยโจว รูป ๓)
Nadim Tong ตัวอย่างเกษตรกรที่ทำงานให้ บ.อีคอมเมิร์ซแห่งนี้ เขาเรียนรู้การใช้เครื่องมือ รวมถึงใช้แท็บเล็ตดูคำสั่งซื้อที่เข้ามาในระบบ ทั้งยังเช็คยอดขายสินค้าออนไลน์ด้วยตัวเองได้ตลอด
กรณีศึกษาที่ ๒ : Yo Yo Green เป็น บ. ที่เป็นแหล่งรวมขององค์กรชนบทจำนวนมากในกุ้ยโจว ได้นำโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมาใช้ในการทำธุรกิจด้าน กษ.
ในเบื้องต้น Big Data เข้ามาช่วยปรับห่วงโซ่อุปทานให้มีความเหมาะสม และอุดช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานให้น้อยลง สร้างสมดุลระหว่างความต้องการซื้อกับความต้องการขายผลิตผล กษ.(ชาวกุ้ยโจว รูป ๔)
ใน อก. เกษตรแบบดั้งเดิม เกษตรกรส่งผลผลิตที่ได้จากการเก็บเกี่ยวไปยังพ่อค้าหรือห้างสรรพสินค้า ทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน เนื่องจากเกษตรกรไม่สามารถรับรู้ได้ว่า ควรเตรียมผลิตผล กษ. ชนิดใด จำนวนเท่าใด เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด แต่เมื่อมี Big Data เกษตรกรรู้ความต้องการที่แท้จริงและได้ข้อมูลอัพเดต ก็จะสามารถบริหารและจัดส่งสินค้าในปริมาณที่เหมาะสม ไม่เหลือทิ้งให้เกิดความสูญเปล่า
กรณีศึกษาที่ ๓ : Meitan Qinyuanchun Tea Co., Ltd. เป็นองค์กรการ กษ. ขนาดใหญ่ในมณฑลกุ้ยโจว ที่ใช้ Big Data จัดการกับสิ่งท้าทายต่างๆ เช่น ช่วยให้เกษตรกรรู้แนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น นำไปสู่การปรับกระบวนการผลิตตามที่ตลาดต้องการ เตรียมรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ ลดความสูญ เสียด้วยการปลูกชาให้น้อยลง เมื่อความต้องการชาอยู่ในช่วงขาลง และใช้พื้นที่ว่างนั้นปลูกพืชอย่างอื่นทดแทน
(การควบคุมพื้นที่ กษ. โดย Big Data รูป ๕)
จากฐานข้อมูลที่มีและการค้าอีคอมเมิร์ซ ทำให้ไร่ชาขนาด 1 mu* สร้างรายได้ถึง ๕,๐๐๐ หยวน (๗๐๖ ดอลลาร์สหรัฐ) ในปัจจุบัน โดยเพิ่มขึ้นจากเดิม ๑,๐๐๐ หยวน (๑๔๑ ดอลลาร์สหรัฐ)
หมายเหตุ : mu (亩 อ่านว่า มู่) หน่วยวัดที่ดินของจีนขนาดพื้นที่ ๖๖๖.๖๗ ตร.ม. คล้ายกับคำว่า ไร่ ของไทย
แนวทางที่ อก. เกษตรท้องถิ่นนำ Big Data มาประยุกต์ใช้เพิ่มผลผลิต
โดยที่เกษตรกรมักเผชิญปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ โรคในพืช สารปนเปื้อน ซึ่งอาจทำให้ผลผลิตทั้งหมดเกิดความเสียหายได้ จึงเริ่มมีการใช้งาน Big Data ช่วยเก็บข้อมูลองค์กรท้องถิ่นในชนบท เพื่อติดตามคุณภาพของผลผลิต และประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน (สวนกีวี รูป ๖)
ตัวอย่างความสำเร็จที่เห็นชัดเจนคือ ที่แหล่งปลูกกีวีในเขต อก. เทคโนโลยีการเพาะปลูกกีวีของ อ. ซิ่วเหวิน
มีการใช้งาน Big Data เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร จัดเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมากที่มีความถูกต้องแม่นยำ เกษตรกรท้องถิ่นจึงคาดคะเนได้ถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน เช่น ปริมาณผลผลิตที่จะได้
จนท. จาก Xiuwen County State-Owned Assets Investment and Management Co., LTD. เล่าถึงความก้าวหน้าจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ว่า
“เขตของเรานำอุปกรณ์ IoT มาติดตั้งไว้ในฟาร์ม เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิ ความชื้น และค่า pH ซึ่งช่วยให้เราสามารถตรวจสอบสภาพของพื้นที่ ตอบสนองต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที และลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิตให้น้อยที่สุด”
“ทุกวันนี้เกษตรกรสามารถสร้างผลผลิตได้เฉลี่ย ๑,๕๐๐ หยวน/mu (๖๖๖.๖๗ ตร.ม.) และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการลงได้ถึง mu ละ ๒,๐๐๐ หยวน/mu (๒๘๓ ดอลลาร์สหรัฐ) ส่งผลให้กีวีทั้งหมดที่ปลูกเขตนี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นราว ๓๖๐ ล้านหยวน (๕๑ ล้านดอลลาร์สหรัฐ)”
น่าสังเกตว่า เกษตรกรในเขตนี้สามารถนำเอาข้อมูลเชิงลึกจากการวิเคราะห์ Big Data แบบเรียลไทม์มาใช้ในการเพิ่มผลผลิตได้ปริมาณมากที่สุด โดยเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ปลูกกีวีแห่งนี้ มีอยู่ราว ๕๗,๔๐๐ ราย มีรายได้ต่อหัวเฉลี่ยอยู่ที่ ๒๖,๐๐๐ หยวน (๓,๖๗๖ ดอลลาร์สหรัฐ) มากกว่าเกษตรกรผู้เพาะ ปลูกกีวีในพื้นที่อื่นๆ ถึง ๕๒%
กล่าวได้ว่า นี่เป็นวิธีที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตผู้คนในชนบทและขับเคลื่อนโครงการลดความยากจนของจีนให้สัมฤทธิผลได้อย่างแท้จริง
กุ้ยโจว (Guizhou) กลายเป็นที่รู้จักกันในฐานะมลฑลที่ใช้ Big Data ก้าวสู่ Big Data Industry โดยนครกุ้ยหยาง เป็นเมืองเอกของมณฑลกุ้ยโจว มีข้อได้เปรียบ ๓ ด้าน ที่เป็นผลดีต่อการพัฒนา Big Data คือ
๑. นครกุ้ยหยางมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดปีอยู่ที่ ๑๕℃ ส่วนหน้าร้อนมีอุณหภูมิเฉลี่ย ๒๕℃ จึงดีต่อการควบคุมอุณหภูมิของอุปกรณ์ IT และทำให้ประหยัดไฟฟ้า
๒. นครกุ้ยหยางยังเป็นเมืองแรกของจีนที่มี Wifi ครอบคลุมทั้งเมือง ประชาชนจึงสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
๓. มณฑลกุ้ยโจวเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สำคัญของจีน ค่าไฟจึงค่อนข้างถูก
อันที่จริง ความสำเร็จจากการใช้งาน Big Data ทุกแง่มุมของ อก. กษ. ของมณฑลกุ้ยโจว ไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากไม่มี รบ. ช่วยผลักดันให้กุ้ยโจวเร่งพัฒนาการ กษ. อัจฉริยะ ตลอดหลายปีมานี้ เนื่องจาก รบ. จีนให้กุ้ยโจวเป็น มณฑลบุกเบิกในการพัฒนา Big Data จึงได้อนุมัติการก่อตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูล Global Big Data Exchange (GBDEx) ขึ้นเป็นแห่งแรกของจีน ฯลฯ
นอกจากการสนับสนุนให้ใช้งาน Big Data ในภาค กษ. แล้ว รบ. ของเมืองกุ้ยโจวยังจัดโครงการนำร่องการใช้งาน IoT โดยใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดในการพัฒนาแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ พร้อมขยายขีดความสามารถของเมือง ปูทางสู่การเป็น “เมืองแห่งการเกษตรอัจฉริยะ” ต่อไป
ปี ๖๒ คณะกรรมการบริหารกิจการทางไซเบอร์ของจีน เผยว่า มณฑลกุ้ยโจวมีศูนย์ดำเนินการอีคอมเมิร์ซระดับเทศมณฑลตั้งอยู่ ๔๙ แห่ง และสถานีให้บริการด้านอีคอมเมิร์ซในท้องถิ่นอีก ๘,๖๐๑ สถานี ซึ่งช่วยประหยัดต้นทุนด้านการขนส่งลงได้มากกว่า ๒๐%
นอกจากนี้ ๙๐% ของหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในเขตชนบทของมณฑลกุ้ยโจว มีประชากรอาศัยอยู่รวมกันกว่า ๓๐ ครัว เรือน เข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 4G ได้อย่างทั่วถึง ขณะเดียวกัน มณฑลแห่งนี้ยังแสดงผลงานการพัฒนาออกมาให้เห็นผ่านการเติบโตของวิทยาลัยอาลีบาบาแห่งสถาบันเทคโนโลยีกุ้ยโจว ในช่วงไม่กี่ปีมานี้​ (การใช้โดรนในท้องนา​ รูป​ ๗)​
นี่คือ ตำนานความมหัศจรรย์ของกุ้ยโจวของจีนที่ใช้ Big Data พลิกโฉม ศก. โดยประยุกต์ Big Data กับ อก. กษ. ให้เป็นตัว “หมากรุก” ทรงพลังฉุด ปชช. หลุดพ้นจากความยากจน โดยลดคนจนถึง ๖.๗ ล้านคน ภายใน ๕ ปี

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ