เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 5 ก.ย. 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 5 ก.ย. 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 6 ก.ย. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 745 view

เช้านี้ ไม่มีผู้กลับไทยวันที่ ๕ ก.ย. ๖๔
วันที่ ๔ ก.ย. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๑๙,๐๕๗ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๑,๔๓๔ คน รัฐตรังกานู ๖๐๕ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๑,๘๒๔,๔๓๙ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๑๗,๘๘๓ คน (เพิ่มขึ้น ๓๖๒ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
จนถึง ๓ ก.ย. มี ปชช. ที่ได้รับการฉีดวัคซีนฯ เข็มแรก และเข็มที่สอง รวม ๓๕,๘๔๑,๑๐๓ โดส (๔๗.๘% ของ ปชก. ทั่ว ปท. ได้รับวัคซีนฯ ครบ ๒ โดส)
รมว. สธ. มซ. แจ้งว่า ผู้ป่วยโควิด-๑๙ ที่อยู่ในระยะที่ ๓ (ผู้ติดเชื้อฯ ที่มีอาการน้อย) และมีสภาวะแทรกซ้อน (อาทิ ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์) จะถูกส่งตัวไปรักษาใน รพ. หรือศูนย์กักตัวสำหรับผู้ที่มีอาการน้อย (low-risk treatment centre) สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเดียวกันแต่ไม่มีสภาวะแทรกซ้อนจะต้องกักตัวในที่พัก และรายงานอาการผ่านแอปพลิเคชัน MySejahtera
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ เสนอเรื่อง ”ใบรับรองการฉีดวัคซีนและกฎหมาย” ตามรายงานของ นสพ. The Star ฉบับวันที่ ๕ ก.ย. ๒๐๒๑ (รายงานข่าว รูป ๒)
บุคคลที่ไม่ได้รับวัคซีนซึ่งใช้ใบรับรองการฉีดวัคซีนปลอม ขโมยหรือยืมเพื่อเข้าไปในสถานที่ต่างๆ โดยผิด กม. กำลังถูกดำเนินการตาม กม. สำหรับผู้ที่เต็มใจแชร์ใบรับรองการฉีดวัคซีนโดยมีเจตนาที่จะให้ผู้อื่นนำไปใช้ในทางที่ผิดก็ถือเป็นผู้สมรู้ร่วมในอาชญากรรมเช่นกัน
เมื่อมีการผ่อนคลายข้อจำกัด ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนจะสามารถร่วมกิจกรรมทางสังคมต่างๆ เช่น การรับ ประทานอาหารนอกบ้าน ทำให้บุคคลที่ไม่ได้รับวัคซีนบางคนหันไปใช้มาตรการฉ้อโกงเพื่อเข้าถึงสิทธิพิเศษเหล่านี้
เมื่อ ๒ สัปดาห์ก่อน มีรายงานเรื่องคลินิกเอกชนปฏิเสธคำขอจากผู้ต่อต้านวัคซีน (Vaxxers) ที่เสนอใบรับรองการฉีดวัคซีนปลอมสูงถึง ๑,๐๐๐ พันริงกิต บุคคลที่ปลอมใบรับรองการฉีดวัคซีน ขโมยใบรับรองของผู้อื่น หรือให้เพื่อน "ยืม" สถานะการฉีดวัคซีน เพื่อให้ได้สิทธิไปสถานที่ต่าง ๆ (การตรวจโควิด รูป ๓)
มีคำแนะนำกับชาว มซ. ในการปกป้องข้อมูลส่วนตัว อย่าแชร์สำเนาใบรับรองการฉีดวัคซีนกับใคร หรืออนุญาตให้บุคคลอื่นเข้าถึงบัญชี MySejahtera ของพวกเขา ในขณะเดียวกัน เจ้าของสถานที่ควรให้มีการแสดงและตรวจใบรับรองการฉีดวัคซีนดิจิทัล MySejahtera เพื่อให้แน่ใจว่า เป็นแอปที่ใช้งานจริง ไม่ใช่คัดลอกใบรับรองของผู้อื่น
ความผิดฐานแอบอ้าง (impersonation)
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริโภคควรตระหนักถึง กม. ในการปกป้องข้อมูล และรู้ว่าการแชร์ใบรับรองการฉีดวัคซีนของคุณให้ผู้อื่นใช้นั้นผิด กม. และมีความเสี่ยงสูง Dr. Sonny Zulhuda ผู้เชี่ยวชาญด้าน กม. คุ้มครอง Int’l Islamic University Malaysia’s (IIUM) กล่าว
หากสำเนาใบรับรองการฉีดวัคซีนของคุณถูกขโมยและถูกใช้โดยบุคคลที่ไม่ซื่อสัตย์ คุณจะตกเป็นเหยื่อของการโจรกรรมข้อมูลประจำตัว อย่างไรก็ตาม หากคุณจงใจแชร์กับคนอื่น คุณอาจเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดได้
“คุณอาจคิดว่าคุณกำลังช่วยเพื่อนทานอาหารนอกบ้าน แต่จริงๆ แล้วคุณกำลังทำให้เพื่อนและคนอื่นๆ ตกอยู่ในอันตราย เนื่องจากจะทำให้ทั้งผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนและผู้ที่สัมผัสกับบุคคลที่ไม่ได้รับวัคซีนเสี่ยงติดเชื้อโควิด-๑๙ สูงขึ้น”
นอกจากนี้ หากผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนให้บัญชี MySejahtera แก่ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนเพื่อใช้ และผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนจะกลายเป็นผู้แพร่เชื้อติดต่อหรือใกล้ชิดกับคนที่มีผลตรวจเป็นบวกได้ เมื่อเจ้าของเดิมของบัญชี MySejahtera จะใช้เอง สถานะอาจถูกเปลี่ยนเป็นสีแดงในแอปได้
“หากเพื่อนของคุณยืมบัญชี MySejahtera ของคุณและเยี่ยมพื้นที่ที่มีการระบาด คุณจะเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบการแยกตัวและการกักกัน เนื่องจากจะมีผลในบัญชี MySejahtera ของคุณ”
Dr. Sonny อธิบายว่า หากผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนอนุญาตให้บุคคลที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนใช้ใบรับรองดิจิทัลได้ จะไม่เป็นการขโมยข้อมูลประจำตัว เนื่องจากไม่มีการขโมยข้อมูล อย่างไรก็ตาม เป็นกรณีของการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดและอาจถือเป็นการฉ้อโกง (การฉีดวัคซีน รูป ๔-๕)
“บุคคลทั้ง ๒ นี้จึงเป็นหุ้นส่วนในอาชญากรรมตาม กม. ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงบุคคลตาม ม. ๔๑๖ ประมวล กม. อาญา หากคุณเอาใบรับรองการฉีดวัคซีนของคนอื่น แสดงว่าคุณได้กระทำความผิดฐานแอบอ้างบุคคลอื่น หากคุณอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ใบรับรองการฉีดวัคซีนของคุณ เพื่อเข้าไปสถานที่ต่างๆ โดยอ้างว่าเขาหรือเธอเป็นคุณ แสดงว่าคุณกลายเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดและสนับสนุนให้คนอื่นกระทำความผิด ทั้งคู่สามารถถูกดำเนินคดีได้ตาม กม.”
ขณะเดียวกัน ตร. ได้กล่าวว่าการปลอมใบรับรองการฉีดวัคซีนดิจิทัลเป็นความผิดร้ายแรงตาม ม. ๒๒ ของ พรบ. ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ในข้อหาให้ข้อมูลเท็จ และมีโทษจำคุกสูงสุด ๗ ปีและปรับ ๑๐๐,๐๐๐ ริงกิต
SOP ที่ครอบคลุม Comprehensive SOPs
การขโมยข้อมูลประจำตัวและการใช้ข้อมูลประจำตัวในทางที่ผิดมักจะเกิดตามหลังเทคโนโลยีเสมอ ด้วยเหตุนี้ รบ.จึงไม่สามารถทำงานคนเดียว เพื่อควบคุมปัญหาได้
Dr. Sonny กล่าวว่า “เพียงแค่คิดกฎขึ้นมาก็ใช้ไม่ได้จริง ๆ เพราะจำเป็นต้องมีการมีส่วนร่วมของนักธุรกิจในวงการ อก. ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและผู้บริโภค”
“รบ. ไม่ควรเพียงขอให้เจ้าของสถานที่ควรตรวจสอบใบรับรองดิจิทัลของผู้ที่มาใช้สถานที่เท่านั้น และแม้จะผลบังคับ ตาม กม. ก็ตาม ควรดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติตาม SOP ด้วย ซึ่งจะได้ยินเรื่องคนที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนที่ใช้โทรศัพท์มือถือของผู้อื่น เพื่อเข้าไปในสถานที่ โดยใช้บัญชี MySejahtera ของผู้อื่น หรือใช้ screengrabs ใบรับรองการฉีดวัคซีนดิจิทัลของผู้อื่น”
นอกจากการตรวจสอบการปฏิบัติตาม SOP แล้ว รบ. ยังสามารถเผยแพร่แนวทางปฏิบัติและอัพเดทข้อมูล การลดความซับซ้อนของแนวทางให้เป็น "สิ่งควรทำและไม่ควรทำ" (do’s and don’t) เหมือนกับที่ทำในช่วงแรกๆ ของการบังคับใช้มาตรการควบคุมการสัญจร (MCO) ซึ่งจะทำให้สาธารณชนและเจ้าของธุรกิจเข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วย
“การระบาดโควิดครั้งนี้เป็นสถานการณ์ที่ไม่ธรรมดา ผู้คนจะบอกว่าการเข้มงวดกับแนวทางปฏิบัติและ SOP นั้นเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่สำหรับความเห็นส่วนตัว เราได้เห็นถึงความเสี่ยงแล้ว นี่เป็นเรื่องยุ่งยากที่จำเป็น เราทุกคนล้วนผ่านการถูกโดดเดี่ยว ซึ่งต้องขอความร่วมมือจากทุกคนในการควบคุมโควิด-๑๙”
กรมคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Department of Personal Data Protection : JPDP) อธิบายว่า เนื่องจากใบรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-๑๙ มีข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ เช่น รายชื่อและหมายเลขบัตรประจำตัว ปชช. จึงสำคัญยิ่งที่จะต้องปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้จากการประมวลโดยไม่ได้รับอนุญาต
“นอกจากนี้ จะส่งผลกระทบต่อความตั้งใจของ รบ. ที่ใช้การฉีดวัคซีนเป็นหลักฐาน เพื่อยืนยันการมีภูมิคุ้มกันหมู่ และทุกภาคส่วนสามารถเปิดได้อย่างปลอดภัยอีกครั้ง หากใบรับรองดิจิทัลถูกเปิดเผยหรือเปิดเผยซึ่งอาจนำไปสู่การพิมพ์และการขายที่ผิด กม.ได้”
“JPDP ขอแนะนำให้ชาว มซ. ปกป้องใบรับรองการฉีดวัคซีนดิจิทัล โดยไม่โพสต์รูปภาพของใบรับรองบนโซเชียลมีเดีย การเปิดเผยใบรับรองโดยไม่ได้ตั้งใจอาจนำไปสู่การขโมยข้อมูลประจำตัว เนื่องจากเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ”
วันนี้เป็นเรื่องการเตือนให้ปกป้องใบรับรองการฉีดวัคซีนดิจิทัล ไม่ให้แชร์สำเนาใบรับรองการฉีดวัคซีนกับใคร หรือให้คนอื่นเข้าถึงบัญชี MySejahtera ซึ่งนอกจากอาจทำให้ตกเป็นเหยื่อของการโจรกรรมข้อมูล และยังส่งผลกระทบต่อการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ด้วย

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ