เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 4 ก.ย. 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 4 ก.ย. 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 6 ก.ย. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 24 พ.ย. 2565

| 370 view

เช้านี้ ไม่มีผู้กลับไทยวันที่ ๔ ก.ย. ๖๔
วันที่ ๓ ก.ย. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๑๙,๓๗๘ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๑,๓๕๖ คน รัฐตรังกานู ๕๓๒ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๑,๘๐๕,๓๘๒ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๑๗,๕๒๑ คน (เพิ่มขึ้น ๓๓๐ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
จนถึง ๒ ก.ย. มี ปชช. ที่ได้รับการฉีดวัคซีนฯ เข็มแรก และเข็มที่สอง รวม ๓๕,๕๑๙,๗๕๔ โดส (๔๗.๒% ของ ปชก. ทั่ว ปท. ได้รับวัคซีนฯ ครบ ๒ โดส)
รมว. สธ. มซ. ขอให้ ปชช. อย่าเพิ่งรีบร้อนเดินทางข้ามรัฐ และขอให้รอการพิจารณาปรับปรุง SOPs ในเรื่องดังกล่าวด้วยความเข้าใจ เพราะอัตราการฉีดวัคซีนฯ ในหลายรัฐยังคงต่ำอยู่ ทั้งนี้ สธ. มซ. จะเสนอความเห็นให้ ทปช. สมช. มซ. พิจารณาต่อไป
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ เสนอเรื่อง ”การเร่งขับเคลื่อนดิจิทัล” ตามรายงานของ นสพ. The Star ฉบับวันที่ ๑ ก.ย. ๒๐๒๑ เสนอบทความโดย Prof. Dr. Ahmad Ibrahim, Tan Sri Omar Centre for STI Policy, UCSI University (รายงานข่าว รูป ๒)
การอภิปราย PANEL ในหัวข้อ “Gearing Digitalisation and Automation” จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งมาเลเซียเยอรมัน (Malaysian German Chamber of Industry : MGCI) และ Confexhub จุดเน้นของวาทกรรม คือการพิจารณาจังหวะของการปรับเปลี่ยนสู่ระบดิจิทัลและการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ใน มซ.
เนื่องจาก มีความกังวลว่าการก้าวสู่ดิจิทัลจะไม่คืบหน้าตามแผนที่วางไว้ แม้จะตระหนักถึงความเร่งด่วนของการทำให้เป็นดิจิทัล ดังเห็นได้ในช่วงการระบาดโควิดว่า อีคอมเมิร์ซโดยธุรกิจขนาดเล็กเติบโตอย่างก้าวกระโดด รวมทั้งการศึกษาออนไลน์ ทั้งนี้ การจัดการกับปัญหาการระบาดโควิดได้ยากขึ้น หากไม่มีแอปพลิเคชันการติดตามการติดต่อทางดิจิทัล
มซ. ต้องมีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งรวมถึงการนำแผนงาน Malaysia Digital Economy Blueprint ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งระบุเป้าหมายที่ทะเยอทะยาน ภายในปี ๒๐๓๐ ทั้งนี้ คาดว่า ศก. ดิจิทัลจะเติบโตจนครองสัดส่วน ๒๒.๖% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ปท. ของ มซ. (GDP) ภายในปี ๒๐๒๕ (หอโทรคมนาคม รูป ๓)
อย่างไรก็ตาม โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล มซ. โดยเฉพาะบรอดแบนด์ความเร็วสูง ยังคงต่ำกว่าค่าพาร์การส่งข้อมูล ( par Data transmission) ซึ่งเป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลที่สำคัญยังค่อนข้างช้า
ในแง่ของความครอบคลุมพื้นที่และความเร็วของบรอดแบนด์ของ มซ. โดยเฉพาะโมบายล์บรอดแบนด์ ก็ยังคงด้อยกว่าคู่แข่งในภูมิภาคอย่างเห็นได้ชัด ตามดัชนีตลาดทั่วโลก (Global Market Indices) ความเร็วในการดาวน์โหลดบนมือถือของ มซ. อยู่ในอันดับที่ ๙๔ ของโลกและอันดับที่ ๘ ในกลุ่ม ปท. อาเซียน ความครอบคลุมของเครือข่ายมือถือ 4G ตามดัชนี Network Readiness Index 2020 มซ. ถูกจัดยังอยู่ในอันดับที่ ๖๑ รองจาก สป. ไทย อินเดีย และ วน. ซึ่งสิ่งนี้ไม่ส่งผลดีต่อ ศก. ดิจิทัลของ มซ. (แผนเครือข่ายดิจิทัลแห่งชาติ (Jendela) รูป ๔)
เพื่อพัฒนาประสบการณ์ดิจิทัลในแง่ของความเร็ว ความน่าเชื่อถือ และความครอบคลุม มซ. ต้องเร่งการดำเนินการตามแผนเครือข่ายดิจิทัลแห่งชาติ (National Digital Network Plan : Jendela) มูลค่า ๒.๑ หมื่นล้านริงกิต ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาช่องว่างด้านดิจิทัล (digital divide) ระหว่าง ปชก. ซึ่ง digital divide อาจทำให้รายได้และปัญหาความเหลื่อมล้ำฐานะทาง ศก. ยิ่งแย่หนักขึ้นอีก (SME Digitalisation Grants รูป ๕)
นอกจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแล้ว การสร้างบุคลากรด้านดิจิทัล (digital workforce) ที่คล่องแคล่วและมีความ สามารถเป็นข้อกำหนดเบื้องต้นอีกประการหนึ่งสำหรับการทำให้เป็นดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดตัวเครือข่าย 5G (หุ่นยนต์ที่เป็นไก๊ด์ รูป ๖)
ความไว้วางใจของผู้บริโภคก็มีความสำคัญในการดำเนินตามวาระดิจิทัลเช่นกัน ความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัว (data security & privacy) เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความไว้วางใจดังกล่าว จึงจำเป็นมีมาตรการปกป้องโดยใช้แนวทางที่ตกลงกันในระดับสากล กม. ระดับชาติ และการดำเนินธุรกิจของ อก. ดิจิทัล
มีรายงานว่าคดีอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต (cybercrime) เพิ่มขึ้นเกือบ ๑๑% ต่อปีตั้งแต่ปี ๒๐๑๗ ถึง ๒๐๒๐ ในปี ๒๐๒๐ มากกว่า ๘๐% ของคดีอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการฉ้อโกง
ปัจจุบัน นักลงทุนต่างชาติกำลังถูกใช้ความแข็งแกร่งด้านดิจิทัลของ มซ. เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจที่จะลงทุนมากขึ้น พวกเขาคาดหวังว่านโยบายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและกรอบการกำกับดูแลที่เอื้ออำนวยจะถูกนำมาใช้
เป็นที่ยอมรับว่า บ. ท้องถิ่นค่อนข้างช้าในการนำระบบดิจิทัลมาใช้ รายงานของ ธ. โลกปี ๒๐๑๘ เปิดเผยว่า บ. ใน มซ. มีอัตราการก้าวหน้าด้านดิจิทัลช้ากว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก
ในรายงานเมื่อเดือน มิ.ย. ๒๐๒๑ ธ. โลกได้ชี้ให้เห็นว่า มีเพียง ๑ ใน ๓ ขององค์กรธุรกิจใน มซ. ที่ใช้ระบบดิจิทัล ขณะที่ไม่ถึง ๑ ใน ๔ ที่มีทีมดิจิทัลเฉพาะ ดังนั้น มซ. จึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่ยังอ่อนแอ
ประเด็นที่น่ากังวลอีกประการหนึ่งคือ การดำเนินการตามพิมพ์เขียวของการแปลงเป็นดิจิทัลนั้น มีกระทรวงที่เกี่ยวข้องโดยตรง ๓ กระทรวง ได้แก่ กระทรวงการสื่อสารและมัลติมีเดีย กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Mosti) และกระทรวงการค้า รปท. และ อก. (Miti) (ดิจิทัลที่ควบคุมไลน์การผลิต รูป ๗)
มซ. ต้องการระบบนิเวศดิจิทัลที่ครอบคลุมมากขึ้น โดยให้ผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้เสีย กลุ่มต่างๆ ได้มีส่วนเข้าร่วมในด้านค้นคว้าวิจัย R&D และผู้ประกอบการ อก. ดิจิทัลเข้ามีส่วนร่วม ดังนั้น จำเป็นอย่างมากที่ต้องมีการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานและกระทรวงต่างๆ หาก มซ. ต้องการเร่งความเร็วของการทำให้เป็นดิจิทัลอย่างจริงจัง
ผู้เขียนจึงเสนอให้มีการดำเนินการขับเคลื่อนดิจิทัลอย่างบูรณาการ โดยมอบให้กับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็ผู้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแบบบูรณาการยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนวาระดิจิทัลได้อย่างเป็นเอกภาพและสัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น
วันนี้เป็นเรื่องข้อเสนอที่ให้ มซ. เร่งขับเคลื่อนดิจิทัลตามแผนเครือข่ายดิจิทัลแห่งชาติ (Jendela) ซึ่ง อก. ดิจิทัลจะเติบ โตเป็น ๒๒.๖% ของ GDP ในปี ๒๐๒๕ การแก้ปัญหาช่องว่างดิจิทัลจะช่วยเพิ่มรายได้และลดความเหลื่อมล้ำทาง ศก. ได้

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ