เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 3 ก.ย. 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 3 ก.ย. 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 6 ก.ย. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 24 พ.ย. 2565

| 320 view

เช้านี้ มีผู้กลับไทยวันที่ ๓ ก.ย. ๖๔ จำนวน ๘ คน
วันที่ ๒ ก.ย. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๒๐,๙๘๘ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๑,๒๔๗ คน รัฐตรังกานู ๙๘๗ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๑,๗๘๖,๐๐๔ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๑๗,๑๙๑ คน (เพิ่มขึ้น ๒๔๙ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
จนถึง ๑ ก.ย. มี ปชช. ที่ได้รับการฉีดวัคซีนฯ เข็มแรก และเข็มที่สอง รวม ๓๕,๑๕๐,๔๗๔ โดส (๔๖.๗% ของ ปชก. ทั่ว ปท. ได้รับวัคซีนฯ ครบ ๒ โดส)
นรม. มซ. ประกาศว่า รัฐมะละกาจะเข้าสู่ระยะที่ ๒ ของแผนการฟื้นฟูแห่งชาติ (NRP) และรัฐเนเกอรีเซิมบีลันจะเข้าสู่ระยะที่ ๓ ของ NRP ตั้งแต่วันที่ ๔ ก.ย. ๖๔ เป็นต้นไป ทำให้จะมีเพียงพื้นที่ใน Klang Valley (กรุงกัวลาลัมเปอร์ ปุตราจายา และรัฐสลังงอร์) และรัฐเคดะห์ ที่ยังจัดอยู่ในระยะที่ ๑ ของ NRP
รบ. มซ. อนุญาตให้ภาคธุรกิจกลับมาเปิดทำการภายใต้โครงการ travel bubble ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละรัฐที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยมีลังกาวีเป็นโครงการนำร่องเปิดให้ ปชช. ใน ปท. ไปท่องเที่ยวได้ มีผลตั้งแต่ ๑๖ ก.ย. ๖๔ เป็นต้นไป
รบ. มซ. ได้กำหนดเพดานราคาขายปลีกของชุดตรวจโควิดฯ แบบ self-test kits ใหม่ โดยปรับลดจากราคาเดิมชุดละ ๓๙.๙๐ ริงกิต เป็นชุดละ ๑๙.๙๐ ริงกิต โดยมีผลตั้งแต่ ๕ ก.ย. ๖๔ เป็นต้นไป
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ เสนอเรื่อง ”ควรเร่งลงทุนในตลาดอิเล็กทรอนิกส์และ EV” ตามรายงานของ นสพ. New Straits Times ฉบับวันที่ ๒ ก.ย. ๒๐๒๑ (รายงานข่าว รูป ๒)
มซ. ต้องเปลี่ยนจากการผลิตรถยนต์แบบดั้งเดิมเป็นรถยนต์ไฟฟ้าตามแนวโน้มยานยนต์ทั่วโลก
รัฐสภาอนุมัติการจัดสรรเงินจำนวน ๓.๒๒ แสนล้านริงกิตภายใต้งบประมาณปี ๒๐๒๑
จนถึงเดือนเม.ย. ปีนี้ มีการใช้จ่ายไปแล้ว ๑.๑๗ แสนล้านริงกิต โดยจะมีการใช้จ่ายคงเหลือ ๒.๑๕ แสนล้านริงกิตจนถึงเดือน ธ.ค. (Malaysia’s vehicle market share till end-May รูป ๓)
รมว. คลัง Zafrul กล่าวว่าจะใช้เงินจำนวน ๒.๑๕ แสนล้านริงกิตเพื่อจัดการกับ Covid-19 เช่นเดียวกับการขับเคลื่อนการฟื้นตัวของ ศก.
งานที่เร่งด่วนที่สุดคือการวางแผนและวางกลยุทธ์การเติบโตทาง ศก. หลังโควิด เพื่อนำ มซ. ออกจากภาวะถดถอยที่เกิดจากการระบาดของโควิดและเพื่อก้าวไปสู่การปฏิวัติ อก. ๔.๐ ซึ่งกำลังหล่อหลอม ศก. โลก
เราต้องเลียนแบบจีนและ อซ. ให้ทันกับการพัฒนา ศก. และเทคโนโลยี ขณะเดียวกันสามารถรับมือกับโรคระบาดได้
สำหรับ อก. ที่เชื่อมโยงการเติบโตที่สำคัญในปัจจุบันและในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และส่วนประกอบ
มีการเสนอให้ รบ. ใช้งบประมาณกระตุ้น ศก. ๒.๑๕ แสนล้านริงกิตลงทุนใน อก. ที่เกี่ยวข้องกับตลาดส่งออก โดยแยกเป็น (EV Bus รูป ๔)
๔ หมื่นล้านริงกิตเพื่อผลิตไมโครชิปโดยการร่วมทุนกับ TSMC ของไต้หวัน
๔ หมื่นล้านริงกิตเพื่อผลิตแบตเตอรี่ EV โดยการร่วมทุนกับ CATL และ BYD ของจีนหรือ LG Chem ของ กลต.
๒ หมื่นล้านริงกิตเพื่อผลิต EV และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนแบรนด์ชั้นนำของ FUND ของ มซ. เพื่อจัดตั้งโรงงานผลิตใน อซ. วน. ปากีสถาน และ ปท. ในแอฟริกา
ปัญหาที่ประสบ คือ การที่ มซ. ขาดแรงดึงดูดให้ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจาก ตปท. มาลงทุนผลิตใน มซ. เนื่องจากการขาดโครงสร้างพื้นฐานของ EV และชนชั้นกลางที่หดตัวลง
การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้โดยสภาขับเคลื่อน ศก. (Economic Action Council) เปิดเผยว่า ผู้คน ๖๐๐,๐๐๐ คนจากกลุ่ม รายได้ปานกลาง (M40) ได้ลดระดับลงสู่กลุ่มรายได้น้อย (B40) สืบเนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด
ทั้งนี้ บ. ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า EV มักจะลงทุนตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนเป็นคลัสเตอร์ เพื่อป้อนชิ้นส่วนตามออเดอร์ของ บ. EV
ในแง่ของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน มซ. เป็นตลาดที่อิ่มตัวและต้นทุนแรงงานไม่สามารถแข่งขันได้อีกต่อไปเมื่อเทียบกับ อซ. และ วน. (Snapshot of electric vehicle (EV) developments in ASEAN รูป ๕)
ในไม่ช้า อซ. จะมี ปชก. ชนชั้นกลาง ๑๐๐ ล้านคน ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่สำหรับผลิตภัณฑ์ยานยนต์และเครื่องใช้ ไฟฟ้าในครัวเรือน นอกจากนั้น อซ. ยังมีแรงงานราคาถูกจำนวนมาก
ทั้งนี้ บ. ต่างๆ เช่น Toyota, Hyundai และ Mitsubishi จาก อก.ยานยนต์ เช่นเดียวกับ Panasonic และแบรนด์ญี่ปุ่นและจีนอื่นๆ ในภาคผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ส่วนใหญ่จะตั้งโรงงานผลิตใน อซ.
ขณะที่จีนได้ลงทุนหลายแสนล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า และผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ผู้ผลิตไมโครชิป โดยผ่าน รบ. ระดับมณฑลหรือเมืองต่างๆ หลายแสนล้านเหรียญ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะเติบโตในเชิงบวกในแง่ของ ศก. และเทคโนโลยี (Electrical & Electronics Industry in Malaysia รูป ๖)
พวกเขายังใช้เงินหลายพันล้านดอลลาร์ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง สิ่งนี้ทำให้จีนแซงหน้าสหรัฐอเมริกาในด้านเทคโนโลยีขั้นสูงมากมาย
รบ. ญป. ก็ทำเช่นเดียวกัน โดยได้จัดสรรเงินจำนวน ๑.๖ หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับ บ. พานาโซนิคและ บ. ญป. รายอื่น ๆ เพื่อดำเนินการวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่แบบ solid-state เพื่อแข่งขันกับผู้ผลิตแบตเตอรี่ EV ของจีนและ กลต.
ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่ มซ. จะใช้กองทุนกระตุ้น ศก. เพื่อลงทุนใน อก. ที่สามารถสร้างงานที่ได้รับค่าตอบแทนสูงได้หลายพันตำแหน่ง และเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงสำหรับตลาดโลก (ไลน์ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รูป ๗)
การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและระบบนิเวศเพียงอย่างเดียวสามารถสร้างงานใหม่ได้ประมาณ ๓๐,๐๐๐ ตำแหน่ง
วันนี้เป็นเรื่องข้อเสนอให้ มซ. ใช้กองทุนกระตุ้น ศก. ลงทุนใน อก. อิเล็กทรอนิกส์และ EV ที่จะสร้างงานที่ได้รับค่าตอบ แทนสูงหลายพันตำแหน่งและเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงส่งออกตลาดโลก เพื่อให้ก้าวทันกับคลื่น “ปฏิวัติ อก. ๔.๐” ด้วย

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ