เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 2 ก.ย. 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 2 ก.ย. 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 6 ก.ย. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 322 view

เช้านี้ ไม่มีผู้กลับไทยวันที่ ๒ ก.ย. ๖๔
วันที่ ๑ ก.ย. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๑๘,๗๖๒ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๑,๕๐๔ คน รัฐตรังกานู ๕๐๖ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๑,๗๖๕,๐๑๖ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๑๖,๙๔๒ คน (เพิ่มขึ้น ๒๗๙ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
จนถึง ๓๑ ส.ค. มี ปชช. ที่ได้รับการฉีดวัคซีนฯ เข็มแรก และเข็มที่สอง รวม ๓๔,๗๕๒,๓๔๐ โดส (๔๖% ของ ปชก. ทั่ว ปท. ได้รับวัคซีนฯ ครบ ๒ โดส)
รมว. สธ. มซ. แจ้งว่า มซ. จะเข้าสู่ระยะที่โรคโควิด-๑๙ กลายเป็นโรคประจำท้องถิ่น (Endemic) ในอีก ๒ เดือนข้าง หน้า เมื่อ ๘๐% ของ ปชก. ใน มซ. ได้ฉีดวัคซีนฯ ครบ ๒ โดสแล้ว และ รบ. จะอนุญาตให้ภาคธุรกิจต่างๆ เปิดทำการมากขึ้น อย่างไรก็ดี การใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะจะยังมีความจำเป็นอยู่
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ เสนอเรื่อง ”สมาชิกออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้น ๗๐ ล้านคน” ตามรายงานของ นสพ. Berita Harian ฉบับวันที่ ๑ ก.ย. ๒๐๒๑ (ผู้บริโภคยุคดิจิทัล รูป ๒)
รายงานประจำปีของ Facebook และ Bain & Co ระบุว่า สมาชิกออนไลน์เพิ่มขึ้น ๗๐ ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะใน อซ. (Changes in Digital Consumption รูป ๓)
การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว เมื่อมีการระบาดของโควิด-๑๙ ทำให้ผู้คนทำการซื้อออนไลน์มากขึ้น
จากผลการสำรวจที่เกี่ยวข้องกับบุคคลมากกว่า ๑๖,๐๐๐ คนใน สป. มซ. ฟป. อซ. ไทย และ วน. พบว่า การซื้อขายในระบบดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงการระบาดของโควิดและการล็อคดาวน์
ภายในสิ้นปีนี้ คาดว่า ปท. เหล่านี้ทั้งหมดจะมีมากกว่า ๗๐% ของ ปชก. ผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ใช้ดิจิทัล โดยมีการซื้อออนไลน์เพิ่มขึ้นจาก ๕% เป็น ๙% ยังแสดงให้เห็นการเติบโตที่เร็วกว่าอินเดีย บราซิล และจีน (เจาะ ๕ พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล รูป ๔)
การใช้จ่ายออนไลน์ต่อหัวทั่วทั้งภูมิภาคในปีที่แล้วอยู่ที่ ๒๓๘ ดอลลาร์สหรัฐฯ (๙๘๗ ริงกิต) สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น ๓๘๑ ดอลลาร์ (๑,๕๘๐ ริงกิต) ภายในสิ้นปีนี้
บทบาทของวิดีโอโซเชียลยังเพิ่มความสำคัญของการช็อปปิ้งออนไลน์ด้วย โดย ๒๒% ของผู้ตอบแบบสอบถามรายงานว่า วิดีโอดังกล่าวเป็นตัวกลางสำคัญในการค้นพบสิ่งใหม่ๆ (Virtual Reality (VR) รูป ๕)
การสำรวจยังพบว่า กลุ่มที่เติบโตเร็วที่สุดคือ การซื้อของชำ โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่วางแผนที่จะรักษาหรือเพิ่มการใช้จ่ายออนไลน์ที่บ้านสำหรับหมวดหมู่นั้นและหมวดหมู่อื่นๆ อีกหลายหมวด
Magnus Ekbom ปธ. จนท. ฝ่ายกลยุทธ์ของ Alibaba Group Holding Ltd กล่าวว่า ขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากช่องทางออฟไลน์เป็นช่องทางออนไลน์ในจีนและสหรัฐอเมริกา (เจาะพฤติกรรมผู้บริโภคยุค ๔.๐ รูป ๖)
“อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายของผู้บริโภคและการเติบโตของร้านค้าปลีกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นได้รับแรงหนุนจากช่องทางออนไลน์ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น” เขากล่าว
ในไตรมาสที่ ๒ ของปีนี้ ผู้คนประมาณ ๓๔๖ ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ Facebook ทุกวัน ซึ่งหมายความว่าประมาณ ๓๕๐ ล้านคนจะเป็นผู้ใช้ดิจิทัลภายในสิ้นปีนี้
ถึงกระนั้น นักวิจัยคาดว่าการเติบโตจะชะลอตัวหลังจากเกิดโรคระบาด และคาดว่าผู้ซื้อรายต่อไปอีก ๓๐ ล้านคนจะไม่เปลี่ยนไปใช้ตัวกลางออนไลน์จนถึงปี ๒๐๒๖
ประมาณ ๙๕% ท่องอินเทอร์เน็ตโดยใช้สมาร์ทโฟน โดยจำนวนธุรกรรมออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็น ๘๘% ในไตรมาสแรกของปีนี้ เทียบกับ ๗๕% ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว (Online Shopping รูป ๗)
Benjamin Joe รอง ปธ. ของ Facebook ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตลาดใหม่ กล่าวว่า เมื่อปีที่แล้ว ภูมิภาคนี้ยังคงล้าหลังในภาคการช้อปปิ้งออนไลน์ แต่ตอนนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในผู้นำไปแล้ว
วันนี้เป็นเรื่องการเติบโตของสมาชิกออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ๗๐ ล้านคน โดยการซื้อขายออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงการระบาดของโควิดและการล็อคดาวน์ โดยการใช้จ่ายออนไลน์ต่อหัวทั่วทั้งภูมิภาค ปีที่แล้ว ๒๓๘ ดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น ๓๘๑ ดอลลาร์ ภายในสิ้นปีนี้

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ