เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 1 ก.ย. 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 1 ก.ย. 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 6 ก.ย. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 321 view

เช้านี้ มีผู้กลับไทยวันที่ ๑ ก.ย. ๖๔ จำนวน ๓ คน
วันที่ ๓๑ ส.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๒๐,๘๙๗ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๑,๔๗๙ คน รัฐตรังกานู ๖๐๘ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๑,๗๔๖,๒๕๔ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๑๖,๖๖๔ คน (เพิ่มขึ้น ๒๘๒ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
จนถึง ๓๐ ส.ค. มี ปชช. ที่ได้รับการฉีดวัคซีนฯ เข็มแรก และเข็มที่สอง รวม ๓๔,๔๙๐,๕๗๒ โดส (๔๕.๖% ของ ปชก. ทั่ว ปท. ได้รับวัคซีนฯ ครบ ๒ โดส)
ครม. จะพิจารณาความพร้อมของรัฐในพื้นที่ Klang Valley (กรุงกัวลาลัมเปอร์ และรัฐสลังงอร์) ในการเข้าสู่ระยะที่ ๒ ของแผนการฟื้นฟูแห่งชาติ (NRP) ในวันนี้ (๑ ก.ย.)
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ เสนอเรื่อง ”'ดิจิทัล คอนเทนท์ คลัสเตอร์' ไทยยังมีเสน่ห์ มูลค่าสะพัด ๔.๕ หมื่นล้าน'” ตามรายงานของ นสพ. กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ ๓๐ ส.ค. ๖๔ (รายงานข่าว รูป ๒)
สสว. ผนึก ม.ศิลปากร ชูสร้างเครือข่าย SMEs ไทยกลุ่มดิจิทัลคอนเทนท์ ให้เข้มแข็งฝ่าวิกฤติโควิด เชื่อปี ๖๕ ตลาดยังโตได้ ๑๕% ทะลุเกิน ๔๕,๐๐๐ ล้านบาท พร้อมเปิดเวทีจับคู่ธุรกิจหวังยังต่อยอดสร้างรายได้เข้า อก.
นายวีระพงศ์ มาลัย ผอ. สนง. ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นการเร่งพัฒนายกระดับ SMEs ไทย เพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างขีดความสามารถทางทำธุรกิจในระดับสากลมาก ซึ่ง SMEs เป็นฐาน ศก. หลักที่สำคัญของ ปท. ที่ทาง สสว. ให้การส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดได้จัดกิจกรรมพัฒนาคลัสเตอร์ Digital Content ภายใต้โครงการสนับสนุนและพัฒนาคลัสเตอร์ SMEs ประจำปีงบประมาณ ๖๔ ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ ๓ (Bangkok Int’l Digital Content Festival 2021 รูป ๓)
โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง สสว. ร่วมกับ ม. ศิลปากร เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญของการรวมกลุ่มผู้ประกอบ การ SMEs กลุ่มดิจิทัล คอนเทนท์ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอร์สำคัญต่อระบบ ศก. ของ ปท. ด้วยฝีมือและผลงานคุณภาพระดับสากลของผู้ประกอบการไทยกลุ่มดิจิทัล คอนเทนท์ทำให้สามารถสร้างเม็ดเงินใน อก. ได้ปีละหลายหมื่นล้านบาท
อ้างอิงข้อมูลจากการสำรวจและคาดการณ์ของ สนง. ส่งเสริม ศก. ดิจิทัลกับสถาบันไอเอ็มซีมีการคาดการณ์ว่าในปี ๖๕ มูลค่า อก. อยู่ที่ ๔๕,๐๙๔ ล้านบาทและเติบโต ๑๕% ซึ่งมีการเติบโตทั้งในส่วนแอนิเมชั่น เกมและคาแรคเตอร์
“ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ไทยและ ปท. อื่นๆ ทั่วโลกมีการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ซึ่งส่งผลให้ ศก. ทั่วโลกทรุดตัวลงอย่างหนัก สสว. ได้เล็งเห็นความสำคัญของการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการ SMEs ต่อการกระตุ้นและขับ เคลื่อน ศก. โดยรวมของ ปท. ซึ่งได้ดำเนินการและใช้แนวคิดในการสนับสนุนและพัฒนาคลัสเตอร์มาเป็นเครื่องมือเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการเฉพาะกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มมีความต้องการความช่วยเหลือที่แตกต่างกันจำเป็นต้องมีแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาเฉพาะสำหรับ SMEs แต่ละกลุ่ม (ผอ.สสว. รูป ๔)
โดยเน้นการกระตุ้นความเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เน้นการพัฒนาผู้ประกอบการในคลัสเตอร์ให้มีศักยภาพเพื่อแข่งขันทั้งในและ ตปท. ด้วยการนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ รวมไปถึงการพัฒนาช่องทางการตลาดในเชิงรุกผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ พร้อมกับสร้างการรับรู้ถึงผลิตภัณฑ์ของไทยให้กับผู้บริโภคทั้งในและ ตปท. โดยการพัฒนา Digital Content Cluster และเป็นแรงขับเคลื่อน ศก. ปท. ให้เข้มแข็ง มุ่งให้เกิดการขยายสัดส่วนมูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมของ SMEs ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของ ปท. ดังนั้นการสร้างกลุ่มหรือคลัสเตอร์ทำให้เกิดความเข้มแข็งและอยู่รอดได้” ผอ. วีระพงศ์ กล่าว
“การพัฒนาดิจิทัล คอนเทนท์ คลัสเตอร์และเป็นแรงขับเคลื่อน ศก. ปท. ให้เข้มแข็ง มุ่งให้เกิดการขยายสัดส่วนมูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมของ SMEs ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของ ปท. ดังนั้นการสร้างกลุ่มหรือคลัสเตอร์ทำให้เกิดความเข้มแข็งและอยู่รอดได้”
ด้าน ผศ.ดร. ณัฐพร กาญจนภูมิ คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.ศิลปากร กล่าวว่า ศิลปากร เป็น ม.ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านศิลปะและการออกแบบ มีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุน และประสานความร่วมมือด้านงานบริการวิชาการระหว่างหน่วยงาน องค์กร เพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ระหว่างบุคลากรทางสายวิชาการและสายวิชาชีพ เพื่อให้ได้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกภาคส่วน ซึ่ง ม.ศิลปากร ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและสร้างเครือข่ายดิจิทัลคอนเทนต์ ร่วมกับ สสว. ในกิจกรรมพัฒนาคลัสเตอร์ Digital Content ครั้งนี้นับเป็นบทบาทที่สำคัญในการสร้างความเข้มแข็งในฐานะภาคการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตเข้าสู่ภาค อก. ดิจิทัล คอนเทนท์ สำหรับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม. ศิลปากร ได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัล คอนเทนท์มากว่า ๑๗ ปี โดยมีความเชื่อมั่นว่าการสร้างบุคคลากรที่สามารถบูรณาการความรู้ด้านการออกแบบและสร้างสื่อ เทคโนโลยีด้านดิจิทัลและธุรกิจการตลาดผสมผสานเข้าด้วยกันนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับภาค อก. ได้
ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันองค์ความรู้ครอบคลุมกลุ่มผู้ประกอบการ ๓ เครือข่าย ประกอบด้วย ๑.เครือข่ายผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมการออกแบบและซื้อขายลิขสิทธิ์ และสินค้าตัวละคร (Character Design, Licensing and Merchandising) ๒.เครือข่ายผู้ประกอบการด้านการสร้างคอนเทนท์ แอนิเมชั่น การรับผลิตแอนิเมชั่น และให้บริการด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ (Animation IP, Animation & CG Service) และ ๓.เครือข่ายผู้ประกอบการด้านภาพกราฟฟิกเคลื่อนไหวและสื่อใหม่ (Motion Graphics and New Media)
กิจกรรมพัฒนาคลัสเตอร์ Digital Content ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ อาทิ การแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ร่วมกันแบบบูรณาการของ ๓ คลัสเตอร์ การเพิ่มช่องทางการ ปชส. ให้กับผู้ประกอบการ ส่งเสริมผู้ประกอบการที่มีศักย ภาพในการไปสู่ตลาด ตปท. ให้มีโอกาสในการนำเสนอสินค้า เป็นต้น (Digital Content Cluster Day รูป ๕)
สำหรับการจัดกิจกรรมพัฒนาคลัสเตอร์ดังกล่าว ภายใต้โครงการสนับสนุนและพัฒนาคลัสเตอร์ SMEs ปี ๖๔ ถือเป็นโอกาสสำคัญอีกครั้งหนึ่ง ในการสร้างความร่วมมือของหน่วยงานรัฐ ๒ หน่วยงานระหว่าง สสว. กับ ม. ศิลปากร รวมถึงการไปร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก อาทิ สมาคมดิจิทัลคอนเทนท์ไทย (DCAT) สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA) รวมทั้งพันธมิตรใน อก. อื่นๆ ที่ได้นำผลงานของผู้ประกอบการในเครือข่ายดิจิทัลคอนเทนต์ไปต่อยอด ทั้งด้านการผลิต และการจัดจำหน่ายอี-คอมเมิร์ซ ทั้งนี้ การดำเนินงานจัดกิจกรรมประจำปีนี้เริ่มตั้งแต่เดือน เม.ย. และจะมีต่อเนื่องจนถึง ก.ย. นี้ (สื่อสารออนไลน์ รูป ๖)
โดยในการพัฒนาศักยภาพ SMEs และคลัสเตอร์ดิจิทัล คอนเทนท์ให้มีความเข้มแข็งจะต้องอาศัยการร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานภาคีต่างๆ หลายหน่วยงาน
ที่ผ่านมากิจกรรมนี้ได้สนับสนุนให้ประกอบการในคลัสเตอร์ดิจิทัล คอนเทนท์ ได้มีเวทีและโอกาสในการนำเสนอผล งานต่อนักลงทุน สื่อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมเชื่อมโยงไปยังเครือข่ายผู้ประกอบการในคลัสเตอร์อื่น รวมทั้งกลุ่มผู้ซื้อและกลุ่ม อก. ต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่กิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจทั้งใน ปท. และ ตปท. โดยสามารถกระตุ้นและต่อยอดให้เกิดมูลค่าใน อก. ไม่ต่ำกว่า ๕๐ ล้านบาท (ป้ายงาน Bangkok Int’l Digital Content Festival 2021 รูป ๗)
วันนี้เป็นเรื่องการเร่งสร้างเครือข่าย SMEs กลุ่มดิจิทัลคอนเทนท์ให้เข้มแข็งฝ่าวิกฤติโควิด เชื่อว่าปี ๖๕ ตลาดโต ๑๕% เกิน ๔.๕ หมื่นล้านบาท พร้อมเปิดเวทีจับคู่ธุรกิจทั้งใน ปท. และ ตปท. เพื่อกระตุ้นและต่อยอดสร้างรายได้ให้ อก. ต่อไป

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ