เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 8 ก.พ. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 พ.ย. 2565

| 312 view

เช้านี้ ไม่มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๗ ก.พ. ๖๔
วันที่ ๖ ก.พ. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๓,๘๔๗ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๖๒ คน รัฐตรังกานู ๕๖ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๒๓๘,๗๒๑ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๘๕๗ คน (เพิ่มขึ้น ๑๒ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
เรื่องเล่าด่านรันตู ขอเสนอเรื่อง “ไทยกับ CPTPP” ตามที่ นสพ. ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ ๕ ก.พ. ๖๔ รายงานเรื่อง “ขอเวลา ๓ เดือน ไทย เข้า-ไม่เข้า CPTPP” (รอง นรม. และ รมว. กต. รูป ๒)
ยุคหลังโควิดที่ไทยต้องเร่งฟื้นฟู ศก. การเข้าเป็นสมาชิก CPTPP เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการค้าการลงทุนให้กับไทย โดยเฉพาะการขยายตลาดการส่งออกไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ CPTPP กันก่อนครับ
CPTPP (Comprehensive and Progressive Trans-pacific Partnership) เป็นความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทาง ศก. ภาคพื้นแปซิฟิก ที่ครอบคลุมการค้า การบริการและการลงทุน เพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่าง ปท. สมาชิก ทั้งในประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐาน รง. กม. สิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่าง รบ. และนักลงทุนต่างชาติ
โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปี ๒๐๐๖ ภายใต้ชื่อว่า TPP (Trans-Pacific Partnership) มีสมาชิก ๑๒ ปท. ต่อมาปี ๒๐๑๗ สหรัฐฯ ได้ถอนตัวออกไป จึงเหลือ ๑๑ ปท. ได้แก่ ญป. แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สป. มซ. บรูไน และ วน. ใช้ชื่อใหม่ว่า CPTPP แม้การไม่มีสหรัฐฯ จะทำให้ขนาด ศก. และการค้าของ CPTPP เล็กลง แต่ก็ทำให้มีกฎเกณฑ์ที่ผ่อนคลายมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องขึ้นกับอำนาจการต่อรองของสหรัฐฯ ที่เป็น ปท.ขนาดใหญ่ ในปี ๒๐๑๗ สมาชิก CPTPP มี GDP รวมกันคิดเป็นมูลค่า ๑๐.๒ ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (๑๓.๕% ของ GDP โลก) มีประชากรรวม ๔๙๕ ล้านคน (๖.๘% ของประชากรโลก)
ไทยจะ “ได้อะไร” จากการเข้าร่วม CPTPP
๑. เพิ่มโอกาสการส่งออกของไทยไปยัง ปท. CPTPP โดยเฉพาะแคนาดา เม็กซิโก ซึ่งไทยยังไม่มีข้อตกลง FTA
๒. ช่วยดึงดูดการลงทุนที่ต้องการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยัง ปท. สมาชิก CPTPP ซึ่งหากไม่เข้าร่วม ไทยอาจจะเสียโอกาสให้กับ มซ. และ วน. (ซึ่งได้ทำ FTA กับ ๕๓ ปท. ขณะที่ไทยทำ FTA กับ ๑๙ ปท.)
๓. เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย จากการปรับปรุงกฎระเบียบภายใน ปท. เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ CPTPP ที่ได้ชื่อว่าเป็นความตกลงทางการค้าคุณภาพสูง
๔. ขณะเดียวกัน ไทยได้ประโยชน์จากการผ่อนปรนกฎเกณฑ์บางอย่าง เช่น อก. ยา จากเดิมที่เป็น TPP เคยบังคับให้ ปท. สมาชิกต้องยอมรับการผูกขาดด้านยาเพิ่มขึ้น ทำให้การเข้าถึงยาสามัญเป็นเรื่องยากสำหรับภาครัฐและประชาชนทั่วไป ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลก็จะยิ่งสูงตาม แต่สุดท้ายข้อตกลงนี้ถูกระงับไป ไทยจึงไม่จำเป็นต้องเสียประโยชน์ส่วนนี้แล้วหากต้องการเข้าร่วมกับ CPTPP
สิ่งที่ไทยจะ “เสียประโยชน์” จากการเข้าร่วม CPTPP
๑. ธุรกิจบริการ สำหรับภาคบริการ CPTPP ใช้เงื่อนไขการเจรจาแบบ negative list หรือการระบุรายการที่ไม่เปิดเสรี หมายความว่า ปท. สมาชิกสามารถระบุหมวดธุรกิจบริการที่ไม่ต้องการเปิดเสรีได้ ส่วนหมวดธุรกิจบริการอื่นๆ ที่ไม่ได้เลือกไว้ในข้อตกลง จะต้องเปิดเสรีต่อนักลงทุนต่างชาติทั้งหมด ดังนั้น สำหรับไทยที่เป็น ปท.ค่อนข้างปิดในหมวดบริการ การเปิดเสรีนี้อาจทำให้ธุรกิจบริการภายใน ปท.เสียประโยชน์ให้กับนักลงทุนต่างชาติ
๒. อก. กษ. จะเผชิญกับการแข่งขันที่มากขึ้น โดยเฉพาะสินค้า กษ. จากแคนาดา เช่น ปุ๋ย และถั่วเหลือง ที่จะเข้ามาตีตลาดไทยหลังการเปิดเสรีด้านการค้า นอกจากนี้ CPTPP ยังมีข้อบัญญัติให้ ปท. สมาชิกต้องเข้าร่วมในอนุสัญญาการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือ UPOV (International Union for the Protection of New Varieties of Plants) ที่จะ “เปิดโอกาสให้ต่างชาติสามารถนำพันธุ์พืชพื้นเมืองไทย ไปทำการวิจัยเพื่อสร้างพันธุ์พืชใหม่แล้วจดสิทธิบัตรได้” ข้อนี้ส่งผลเสียต่อเกษตรกรไทยโดยตรง เพราะถ้านำพันธุ์พืชใหม่นี้มาปลูกแล้วจะไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์พืชไว้เพาะปลูกในฤดูกาลต่อๆ ไปได้เหมือนเมื่อก่อน ต้องซื้อเมล็ดใหม่เท่านั้น ทำให้ต้นทุนการ กษ. ยิ่งสูงขึ้น
หากลองคำนวนขนาด ศก.ของไทยจาก GDP แล้ว ปี ๖๒ สภาพัฒน์เผยว่า ไทยมีการเติบโตทาง ศก. อยู่ที่ประ มาณ ๑๗ ล้านล้านบาท โดยมาจากการส่งออกมูลค่ากว่า ๗.๕ ล้านล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความเกี่ยวข้องกับสินค้า กษ. ขณะที่การท่องเที่ยวมีมูลค่ากว่า ๒ ล้านล้านบาท ซึ่งธุรกิจบริการก็เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวด้วย
นอกจากนี้ ยังมีข้อกังวลบางประการของกลุ่มผู้คัดค้านข้อตกลงนี้ ได้แก่
๑) การเข้าร่วม CPTPP จะส่งผลให้ไทยต้องแก้ กม. บางฉบับที่อาจเกิดผลกระทบต่อภาค กษ.และระบบ สธ.
โดยเฉพาะเรื่องสิทธิในเมล็ดพันธุ์พืช การคุ้มครองสิทธิบัตรยา รวมถึงการคุ้มครองการลงทุนให้ชาวต่างชาติ
๒) ไทยต้องเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญา UPOV1991 ว่าด้วยพันธุ์พืชทันที หากเข้าร่วม CPTPP ซึ่งอนุสัญญานี้
ให้ความคุ้มครอง บ. อก. กษ. ผูกขาดเมล็ดพันธุ์ ๑๕-๒๐ ปี ทำให้เกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ทุกรอบการเพาะปลูก
๓) เนื้อหาในความตกลง CPTPP หลายส่วน ส่งผลต่อการเข้าถึงยา การพัฒนา อก. ยาใน ปท. และส่งผลต่อเรื่องสุขภาพและระบบ สธ. เช่น การผูกโยงการขึ้นทะเบียนตำรับยากับระบบสิทธิบัตร (Patent linkage) ข้อผูกมัดในบทว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐและทรัพย์สินทางปัญญา
๔) CPTPP จะทำให้การใช้มาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร (Compulsory Licensing หรือ CL) ทำได้ยากขึ้น
เนื่องจากสุ่มเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องตามบทคุ้มครองการลงทุน
อย่างไรก็ดี คกก.นโยบาย ศก. ระหว่างประเทศ (กนศ.) ขอเวลา ๓ เดือน สรุปไทยเข้า-ไม่เข้าร่วม CPTPP คาดได้ข้อสรุปก่อน ส.ค. นี้ โดยต้องพิจารณาอย่างละเอียด (รายงานข่าว รูป ๓)
หลังจากที่นายดอน ปรมัตถ์วินัย รอง นรม. และ รมว. กต. เป็น ปธ. การประชุม กนศ. ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๕ ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมได้รับผลการศึกษาของกรรมาธิการวิสามัญ (กมธ.) ที่พิจารณาผลการศึกษาในการเข้าร่วม CPTPP ของสภาผู้แทนราษฎร มาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ ภายหลังใช้เวลาศึกษา ๕ เดือน หลังจากนี้ทุกหน่วยงานจะช่วยกันพิจารณาตามกรอบเวลา ๓ เดือน เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าจะเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วม CPTPP รอบแรกที่จะเกิดขึ้นช่วงเดือน ส.ค. ๖๔ เพื่อความรอบคอบ และคิดถึงผลประโยชน์ของไทยในหลายๆ ด้าน จึงต้องใช้เวลาในการพิจารณาในรายละเอียด (การส่งออก รูป ๔)
เรื่องดังกล่าวจะต้องมีความชัดเจนพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ไม่ใช่รีบร้อนกระโดดเข้าร่วม เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าใจผิดกับเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พณ. ได้ทำการศึกษาและระดมความเห็นภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเข้าร่วม CPTPP ของไทย เพื่อเตรียมความพร้อม
ที่ผ่านมามีหลาย ปท.ที่เตรียมเข้า CPTPP ไม่ว่าจะเป็นจีน สหรัฐฯ กลต. โดยข่าวล่ามาไว เมื่อ ๑ ก.พ. ๖๔ นรม. บอริส จอห์นสัน ก็ได้แจ้งความจำนงที่สหราชอาณาจักรจะเข้าร่วม CPTPP ด้วย ถึงแม้ว่าไทยจะยังช้ากว่าสหราชอาณาจักรหลายช่วงตัว แต่มันเป็นเรื่องที่ต้องดูว่าจะไปหารือเมื่อไร โดยเอาข้อมูลผลการศึกษาของ กมธ.มาพิจารณาให้ละเอียดยิ่งขึ้น (จะเป็นอย่างไร ถ้าไทยเข้าร่วม CPTPP รูป ๕)
ในเรื่องที่ยังค้างคากันอยู่ โดยเฉพาะกรอบของ กนศ. เรื่อง ศก. ระหว่างประเทศทั้งหมด จะเห็นได้ว่า มีหลายเรื่องที่สามารถจะดูให้กระชับขึ้น และให้เห็นมุมต่างๆ ซึ่งเชื่อว่าหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะนำไปเติมเต็มให้เกิดความสมบูรณ์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อ รบ. จะได้นำมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา (นรม. บอริส จอห์นสัน รูป ๖)
ส่วนกรณีที่สหรัฐอเมริกาได้ ปธน. คนใหม่ และมีแนวโน้มว่าจะทบทวนนโยบายการค้าแบบพหุภาคีอีกครั้ง อีกทั้งสนใจที่จะกลับเข้าร่วม CPTPP ดังนั้นความกังวลในเรื่องสิทธิบัตรยาจะกลับมาเป็นประเด็นที่ต้องพูดถึงหรือไม่นั้น ถือเป็นเรื่องเก่า หลายปีที่ผ่านมามีพัฒนาการมากมาย เพราะฉะนั้นเรื่องของการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยา (Compulsory Licensing) นั้น ทาง สธ. มองไม่ใช่เป็นปัญหาใหญ่ (สนับสนุน-คัดค้าน CPTPP รูป ๗)
สำหรับการค้าระหว่างไทยกับสมาชิก CPTPP ๑๑ ปท. ปี ๖๐ มีมูลค่าการค้ารวม ๑๓๔.๖ พันล้านเหรียญสหรัฐ (๒๙.๓% ของการค้ารวมของไทย) โดยไทยส่งออก ๗๐.๓ พันล้านเหรียญสหรัฐ (๒๙.๗% ของการส่งออกไทยไปโลก) และไทยนำเข้า ๖๔.๓ พันล้านเหรียญสหรัฐ (๒๘.๙% ของการนำเข้าไทยจากโลก) ทำให้ไทยได้เปรียบดุลการ ค้ากับ CPTPP ๑๑ ปท. มูลค่า ๖ พันล้านเหรียญสหรัฐ (ข้อมูล : scbeic/กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พณ.)
นี่คือ รายงานเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียของการเข้าร่วม CPTPP ของไทย ทั้งนี้เพื่อคำนึงถึงผลประโยชน์ของไทยในหลายๆ ด้าน จึงต้องใช้เวลาพิจารณาในรายละเอียดอย่างความรอบคอบ

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ