เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 16 ก.พ. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 พ.ย. 2565

| 247 view

เช้านี้ ไม่มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๙ ก.พ. ๖๔
วันที่ ๘ ก.พ. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๓,๑๐๐ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๓๐ คน รัฐตรังกานู ๓๐ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๒๔๕,๕๕๒ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๘๙๖ คน (เพิ่มขึ้น ๒๔ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
ระหว่างที่เฝ้ารอการมาถึงของ “วัคซีนโควิด” อยู่นั้น เชื่อว่า ทุก ปท. ต้องเร่งหาทางออกจากวิกฤตโควิดโดยเร็ว ตามข้อมูลของ Matrade มซ. การค้าระหว่างประเทศ มซ. ปี ๒๐๒๐ มีมูลค่า ๑.๗๗๗ ล้านล้านริงกิต เกินดุลการค้า ๑๘๔.๗๙ พันล้านริงกิต สูงกว่าปี ๒๐๑๙ ถึง ๒๖.๙% แสดงว่า เครื่องยนต์ (engine) ของการส่งออกเริ่มทำงานแล้ว ซึ่งเป็นที่มาของความเชื่อมั่นว่า ศก. มซ. กลับมาโตได้แน่
สัญญาณที่บ่งบอกคือ ยอดส่งออกผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า Electric and Electronics (E&E) ยอดจำหน่ายรถใน ปท. (ปีนี้คาดว่าจะแตะ ๕.๗ แสนคัน ซึ่งจะสูงกว่ายอดจำหน่ายปีที่แล้ว) ราคาที่ดีดขึ้นของสินค้า กษ. น้ำมันปาล์ม ยาง ล้วนเป็นปัจจัยหนุนต่อการฟื้นตัว ศก. มซ.
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง “การลงทุนสาธารณะของ GDP ปี ๒๐๒๐ มซ. ต่ำสุด” ตามที่ นสพ. New Straits Times ฉบับวันที่ ๕ ก.พ. ๒๐๒๑ ได้รายงานเรื่อง “GDP ปี ๒๐๒๐ ของ มซ. ด้านการลงทุนสาธารณะหดตัวรุนแรงที่สุด นับตั้งแต่ปี ๑๙๙๘ ที่เกิดวิกฤตการเงินในเอเชีย (Asian Financial Crisis) : MARC” (การเติบโต GDP ของ มซ. รูป ๒)
การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของ มซ. และการลงทุนภาครัฐในปี ๒๐๒๐ ประสบการหดตัวรุนแรงที่สุด นับตั้งแต่วิกฤตการเงินในเอเชีย ปี ๑๙๙๘ ด้วยอัตรา -๕.๗ % และ -๑๙.๘% ตามลำดับ
บ. จัดอันดับของ มซ. Malaysian Rating Corp Bhd : MARC) กล่าวว่า การคาดการณ์ดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานของการลดลงในระดับที่แตกต่างกันของค่าใช้จ่าย GDP ทั้งหมด แม้ค่าใช้จ่ายสาธารณะจะขยายตัว ๔.๖% เมื่อเทียบเป็นรายปี (YoY) ก็ตาม เนื่องจากมีการอัดฉีดทางการคลัง (fiscal injection) ในปี ๒๐๒๐ (ตึกระฟ้า กรุงกัวลาลัมเปอร์ รูป ๓)
MARC กล่าวในแถลงการณ์ว่า ภาวะ ศก. ถดถอยจากการระบาดของโรคโควิด-๑๙ อาจจะถือว่าเป็นวิกฤตที่ร้ายแรงที่สุดในโลก นับตั้งแต่ที่โลกได้เคยประสบภาวะ ศก. ตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression)
“ในฐานะที่เป็น ศก. ขนาดเล็กและเปิดกว้าง มซ. ได้รับผลกระทบจากวิกฤตคู่ (twin crisis) ทั้งด้านสุขภาพและ ศก. ทั้งนี้ รบ. มซ. ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือในการกระตุ้นอุปสงค์มวลรวมหลายครั้งตลอดช่วงวิกฤต แต่การบริโภคของภาคเอกชนลดลง ๔.๒ % ในปี ๒๐๒๐" (การจับจ่ายของครัวเรือน รูป ๔)
จากการคาดการณ์ของ MARC ปี ๒๐๒๐ GDP หดตัว -๕.๗% อุปสงค์ในประเทศ (-๕.๖%) การบริโภคภาคเอกชน (-๔.๒%) การบริโภคด้านสาธารณะ (-๔.๖%) การลงทุนภาคเอกชน (-๑๒.๖%) การลงทุนด้านสาธารณะ ภาครัฐ (-๑๙.๘) การส่งออกที่แท้จริง (-๙.๐%) การนำเข้าที่แท้จริง (-๙.๓%) และการส่งออกสุทธิ (-๗.๐%)
MARC กล่าวว่า ยังมีแนวโน้มของการเติบโตของ มซ. โดยส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยหนุนจากการกระตุ้น ศก. เชิงนโยบาย เช่น การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายข้ามคืนรวม ๑๒๕ จุด (basis points) และการช่วยเหลือทางการเงินแก่กลุ่มเปราะบาง
"เราคาดว่า การบริโภคภาคเอกชนในปี ๒๐๒๑ จะไม่สดใส สืบเนื่องจากภาวะ ศก. ถดถอยก่อนหน้านี้"
MARC กล่าวว่า การเติบโตของ GDP ของ มซ. ได้รับปัจจัยหนุนจากการค้า เนื่องจากการส่งออกมีมูลค่ามากกว่าการนำเข้า แม้ว่าจะต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาดโควิด โดยการส่งออกจะยังคงได้รับแรงฉุดจากอุปสงค์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งสินค้าโภคภัณฑ์มีราคาสูงขึ้นด้วย (Malaysia’s GDP Performance รูป ๕)
"การฟื้นตัวของ ปท. คู่ค้ารายใหญ่ของ มซ. เช่น จีน และ สป. จะส่งแรงหนุนต่อการเติบโตของ มซ. ในระยะสั้น"
สำหรับปี ๒๐๒๑ MARC คาดการณ์ GDP ของ มซ. จะมีอัตราเติบโต ๕.๖% อุปสงค์ในประเทศ (๕.๘%) การบริโภคภาคเอกชน (๖.๒%) การบริโภคสาธารณะ (๓.๓%) การลงทุนภาคเอกชน (๕.๘%) การลงทุนสาธารณะ (๘.๓% ) การส่งออกจริง (๕.๖%) การนำเข้าจริง (๕.๓%) และการส่งออกสุทธิ (๗.๖%)
MARC กล่าวว่า การลดลงของอุปสงค์โดยรวมได้ก่อให้เกิดอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย -๑.๑% ในปี ๒๐๒๐ เมื่ออุปสงค์เพิ่มขึ้น พร้อมกับพลังงานที่มีราคาสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มเป็นเฉลี่ย ๒.๐% ในปี ๒๐๒๑
ขณะเดียวกัน MARC ยังเสริมว่า ในปี ๒๐๒๐ มีอัตราการว่างงาน ๔.๕% ก่อนจะลดลงเหลือ ๔.๐% ในปีนี้
แม้คาดว่าการลงทุนจะกลับมาเติบโตในปีนี้ เนื่องจากได้รับผลกระทบที่น้อยลง (low-base effect) แต่ก็ยังคงถูกจำกัด โดยมีการบังคับใช้มาตรการควบคุมการสัญจรอย่างต่อเนื่อง (ธุรกิจค้าปลีก รูป ๖)
ตัวชี้วัดคาดการณ์ล่วงหน้าเช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Managers' Index : PMI) ชี้ให้เห็นว่า นักลงทุนยังมีความเชื่อมั่นทางธุรกิจต่ำ เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยโควิด-๑๙ รายวันยังคงอยู่ในระดับสูง
MACR กล่าวว่า ผลกระทบจากวิกฤตในปัจจุบันจะยังคงอยู่ในช่วงเวลาหนึ่งและเน้นถึงจุดอ่อนของ ศก.
"เราหวังอย่างยิ่งว่า ผู้กำหนดนโยบายจะมีวิสัยทัศน์ในการกำหนดแผนปฏิบัติการระยะสั้นและสร้างรากฐานที่เหมาะสม สำหรับวิถีการเติบโตที่แข็งแกร่งขึ้น เมื่อความเสี่ยงลดลงในเวลาต่อมา" (ASEAN GDP Growth รูป ๗)
นี่คือ การวิเคราะห์ของ บ. จัดอันดับของ มซ. (MARC) ซึ่งใกล้เคียงกับการที่ บ.จัดอันดับระหว่างประเทศ เช่น มูดีส์ได้ให้ A3 ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของ ศก. มซ. หลังจากที่ได้วินิจฉัย ศก. มซ. ซึ่งตกอยู่ใน “ภวังค์” โควิดที่ต้องเยียวยาด้วยมาตรการกระตุ้นบริโภค สร้างความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เร่งส่งออก เพื่อให้ GDP กลับมาโตในปีนี้

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ