วันที่นำเข้าข้อมูล 11 ม.ค. 2564
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 21 พ.ย. 2565
เช้านี้ ไม่มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๑๐ ม.ค. ๖๔
วันที่ ๙ ม.ค. มีสถิติน้อยกว่าเมื่อวาน โดยมียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๒,๔๕๑ คน อยู่ในรัฐกลันตัน ๖๑ คน รัฐตรังกานู ๑๖ คน และมีผู้ติดเชื้อสะสม ๑๓๓,๕๕๙ คน ผู้เสียชีวิตสะสม ๕๔๒ คน (เพิ่มขึ้น ๕ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
รมว. สธ. มซ. แถลงว่า สธ. สนับสนุนให้ รบ.มซ. ประกาศห้ามเดินทางข้ามเขตและข้ามรัฐ เนื่องจากการระบาดโควิดในปัจจุบัน เกิดจากการที่ ปชช. ยังสามารถเดินทางไปในรัฐต่างๆ ได้ โดยในจำนวนผู้ติดเชื้อประมาณครึ่งหนึ่งมาจาก รง. ต่างด้าว ซึ่ง รบ.มซ. ได้ออกมาตรการบังคับให้ตรวจหาเชื้อทุกคนแล้ว ชณะที่ผู้ติดเชื้ออีกครึ่งหนึ่งมาจาก ปชช.ทั่วไปในรัฐต่างๆ ดังนั้นการจำกัดการเดินทางของ ปชช. จึงน่าจะช่วยลดอัตราการติดเชื้อลงได้
เมื่อวานได้เสนอเรื่องการเข้าถึงวัคซีนใน มซ. แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงที่ว่า “มือใครยาว สาวได้สาวเอา” กำลังเกิดขึ้นกับวัคซีนโควิด
การเข้าถึงวัคซีนกำลังกลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ เมื่อ ปท. มั่งมีได้กว้านซื้อวัคซีนแบบ “กักตุน” อย่างไร้ “จรรยา” เนื่องจากบาง ปท. ที่ร่ำรวยได้สั่งซื้อวัคซีนเกินความจำเป็นในการฉีดให้ประชากรของตน จนปิดโอกาสของ ปท. ที่มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นไปตามที่ WHO ได้คาดการณ์และได้หาทางออก โดยได้จัดตั้งโครงการการเข้าถึงวัคซีน COVAX เพื่อให้เกิดความยุติธรรมสำหรับทุก ปท. ในการเข้าถึงวัคซีนโควิด
เรื่องเล่าด่านรันตู วันนี้ขอเสนอเรื่อง “WHO เตือนสติให้โลกมีการแบ่งปันวัคซีนอย่างเป็นธรรม” เป็นตอนที่ ๒ ต่อจากเมื่อวาน ตามที่ นสพ. Berita Harian ฉบับวันที่ ๙ ม.ค. ๒๐๒๑ ได้พาดหัวข่าว “WHO เตือน ปท. รวย ‘ลัดคิว’ หรือ ‘กักตุน’ วัคซีน” (ผอ. ใหญ่ WHO แถลง รูป ๒)
เมื่อวันที่ ๘ ม.ค. ผอ. ใหญ่ WHO นาย Tedros Adhanom ได้จัดแถลงข่าว ณ สนง. ใหญ่ WHO นครเจนีวา โดยเรียกร้องให้ ปท. มั่งมีเลิก “ลัดคิว” หรือ “กักตุน” วัคซีน และยุติการจัดทำข้อตกลงกับผู้ผลิตแบบทวิภาคี เพื่อผูกขาดวัคซีนโควิด ซึ่งจะทำให้ ปท. ยากจนถูกทิ้งไว้ข้างหลัง (Rich countries told to stop cutting the vaccine queue รูป ๓)
ตั้งแต่เริ่มต้น ปท. มั่งมีกว่าได้กวาดซื้อวัคซีนเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ ปท. ที่มีรายได้ต่ำและ ปท.ที่มีรายได้ปานกลางส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งอาจทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้นสำหรับ ปท. อื่นๆ ที่กำลังต่อสู้กับการระบาด
ผอ. Tedros กล่าวว่า ๔๔ ปท. ได้เริ่มดำเนินโครงการฉีดวัคซีนโควิดแล้ว โดยเป็น ปท. ที่มีรายได้สูง ๓๖ ปท. และรายได้ปานกลางอีก ๖ ปท. (นรม. แคนาดาสั่งซื้อวัคซีน รูป ๔)
นอกจากนี้ ได้เรียกร้องให้ ปท.ที่ซื้อวัคซีนเกินความต้องการหรือควบคุมอุปทานทั่วโลก ได้ “บริจาค” หรือมอบวัคซีนส่วนเกินให้กับโครงการ COVAX ที่กำหนดจะกระจายวัคซีนอย่างเป็นธรรมทั่วโลกในเดือน เม.ย. ศกนี้
พร้อมเรียกร้องให้ ปท. มั่งมีและผู้ผลิตหยุดทำข้อตกลงทวิภาคี (แต่ไม่ได้ระบุชื่อ ปท.) เนื่องจากก่อนหน้านี้ สหภาพยุโรป (EU) ได้ทำข้อตกลงกับ บ. Pfizer ซื้อวัคซีนเพิ่มเติมอีก ๓๐๐ ล้านโดส ซึ่งจะทำให้ EU ได้กรรมสิทธิ์ครอบครองเกือบครึ่งหนึ่งของผลผลิตทั่วโลกของ บ. Pfizer ในปี ๒๐๒๑
"ไม่มี ปท. ใดได้เปรียบกว่ากันในการที่จะต้องฉีดวัคซีนให้กับประชากรทั้งหมด ขณะที่ ปท. อื่นๆ บาง ปท.ไม่มีวัคซีน" เขากล่าว (กษัตริย์ซาอุดิอาระเบียทรงรับการฉีดวัคซีน รูป ๕)
โครงการ COVAX เป็นความพยายามในการจัดหาและจำหน่ายวัคซีนทั่วโลกภายใต้ WHO ซึ่ง ปท. สมาชิกได้ลงนามในข้อตกลงในการจัดหาวัคซีนจำนวน ๒ พันล้านโดส โดยตั้งเป้าหมายการกระจายวัคซีนให้แก่ประชากร ๒๐% ในแต่ละ ปท. ที่เข้าร่วมภายในสิ้นปีนี้ และให้ความช่วยเหลือเงินทุนแก่ ๙๒ ปท. ที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง (นรม. สป. ฉีดวัคซีน รูป ๖)
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา WHO กล่าวว่า COVAX ได้ระดมทุน ๖ พันล้านดอลลาร์จาก ๗ พันล้านดอลลาร์ที่ได้รับในปี ๒๐๒๑ เพื่อสนับสนุนค่าขนส่งวัคซีนให้กับ ปท. กำลังพัฒนา ๙๒ ปท. ที่มีข้อจำกัด หรือไม่สามารถซื้อวัคซีนได้เลย
จนถึงขณะนี้ ปท. มั่งมี ได้แก่ สหราชอาณาจักร สมาชิกสหภาพยุโรป สรอ. สวิตเซอร์แลนด์และอิสราเอล ได้รับการจัดอยู่ในแถวหน้า สำหรับการจัดส่งวัคซีนจาก บ. ต่างๆ เช่น Pfizer, Moderna และ AstraZeneca
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า ปัจจุบัน (ณ วันที่ ๘ ม.ค.) มีผู้ติดเชื้อโควิดแล้วในกว่า ๒๑๐ ปท. และดินแดนทั่วโลก เกือบ ๘๘ ล้านคนและมีผู้เสียชีวิตราว ๑.๙ ล้านคน (อัตราจำนวนคนต่อการฉีดวัคซีน รูป ๗)
ด้านนาย Mike Ryan หน. หน่วยฉุกเฉินของ WHO ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องฉีดวัคซีนให้แก่ จนท. สธ. ที่ปฏิบัติงานในแนวหน้า กลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบาง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะป่วยและเสียชีวิตได้ง่าย
นอกจากนี้ เขายังเรียกร้อง ปท. ต่างๆ ไม่ให้ปั่นให้วัคซีนเป็น “เรื่องการเมือง" (politicize) หรือเป็นประเด็นสร้างกระแส “ชาตินิยม” และเตือนว่า วัคซีนที่ฉีดนั้นอาจมีผลต้านโควิดในระยะหนึ่ง ไม่ได้ป้องกันได้ในระยะยาว
นี่คือ รายงานการเข้าถึงวัคซีน ตอนที่ ๒ ในโลกเบี้ยวใบนี้ ซึ่ง ผอ. ใหญ่ WHO ได้ยืนยันหลักการของ COVAX ออกโรงเตือนสติ ปท. มั่งมีให้เลิกใช้วิธีการ “ลัดคิว” หรือ “กักตุน” เพื่อให้ทุก ปท. สามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ “ทิ้ง ปท. จนไว้ข้างหลัง”
รูปภาพประกอบ