วันที่นำเข้าข้อมูล 16 ก.พ. 2564
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565
เช้านี้ ไม่มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๑๔ ก.พ. ๖๔
วันที่ ๑๓ ก.พ. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๓,๔๙๙ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๔๔ คน รัฐตรังกานู ๔๖ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๒๖๑,๘๐๕ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๙๕๘ คน (เพิ่มขึ้น ๕ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
กระทรวงความเป็นเอกภาพแห่งชาติ มซ. ประกาศว่า ทปช. สมช. มซ. วาระพิเศษ มีมติอนุญาตให้ศาสนสถานของศาสนาอื่นที่มิใช่อิสลาม สามารถเปิดให้ ปชช. เข้าไปสักการะบูชาได้ มีผลตั้งแต่ ๑๒ ก.พ. ๖๔ เป็นต้นไป โดยจำกัดจำนวนคนเข้าไม่เกิน ๓๐ คน/ครั้ง และต้องปฏิบัติตาม SOP ที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
วันนี้เป็น Valentine’s Day ขอให้ผู้อ่านทุกท่านสุขสันต์และอุ่นด้วย “ไอรัก” ดังกลิ่นดอกกุหลาบที่บานยามเช้า
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง “วัคซีนโควิด-๑๙ สำหรับชาวต่างชาติรวมถึงผู้อพยพที่ไม่มีเอกสาร” ตามรายงานของ นสพ. Malay Mail ฉบับวันที่ ๑๑ ก.พ.๒๐๒๑
มซ. จะจัดหาวัคซีนโควิด-๑๙ ให้กับนักการทูต ชาวต่างชาติ นศ. ต่างชาติ คู่สมรสและบุตรชาวต่างชาติ ผู้ลี้ภัยที่มีเอกสาร และผู้อพยพที่ไม่มีเอกสาร โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย (รายงานข่าว รูป ๒)
เมื่อวันที่ ๑๑ ก.พ. รบ.มซ. ได้ประกาศว่า ชาวต่างชาติทั้งหมดที่อยู่ใน มซ. สามารถรับการฉีดวัคซีนโควิดฟรี
รวมทั้งผู้อพยพที่ไม่มีเอกสารด้วย (วัคซีนเหลือเฟือถึงผู้ลี้ภัย รูป ๓)
ในแถลงการณ์ คกก. รับประกันการเข้าถึงวัคซีนโควิด-๑๙ กล่าวว่า รบ.มซ. จะรวมชาวต่างชาติเข้าอยู่ในโครงการสร้างภูมิคุ้มกันโควิด-๑๙ แห่งชาติ ที่จะเริ่มในปลายเดือน ก.พ. นี้ ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบการรณรงค์เรื่อง '‘Protect Oneself, Protect All” (ชาวต่างชาติเข้าคิวตรวจโควิด รูป ๔)
ตามแถลงการณ์ระบุว่า ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาด การฉีดวัคซีนนับเป็นการดำเนินการด้านมนุษยธรรม และสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยปราศจากโควิด-๑๙ จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนมากที่สุด (Covid-19 Assessment Center : CAC ศูนย์ใหญ่ที่สุดใน มซ. รูป ๕)
“การตัดสินใจให้มีการฉีดวัคซีนฟรีแก่ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ใน มซ. ครั้งนี้ เนื่องจากปริมาณวัคซีนโควิด-๑๙ ของ มซ. มีเพียงพอ และเกินจำนวนพลเมือง มซ. ที่มีสิทธิ์ได้รับวัคซีนดังกล่าวจริง”
โดย มซ. มีวัคซีนเพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว หลังตกลงซื้อขายวัคซีนกับไฟเซอร์/ไบโอเอ็นเทค (Pfizer/BioNTech) สถาบันกามาเลยาของรัสเซียผู้ผลิตวัคซีนสปุตนิก ๕ (Sputnik V) ซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovac Biotech) รวมถึงแคนซิโน ไบโอโลจิกส์ (CanSino Biologics) ของจีน ยิ่งกว่านั้น ยังได้รับการจัดส่งวัคซีนจากแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ภายใต้โครงการโคแวกซ์ (COVAX)
นอกจากนี้ การตัดสินใจดังกล่าวยังคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ อีกหลายประการ เช่น เพื่อสร้างให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) จำนวนผู้ป่วยโควิด-๑๙ และกลุ่ม รง. ต่างชาติ ค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อจาก รง. ต่างชาติ และความจริงที่ว่า รง. ต่างด้าวได้มีส่วนช่วย ศก. ของ มซ. รวมถึงการดำเนินการตาม ปท. อื่นๆ ที่ฉีดวัคซีนให้กับพลเมือง มซ. โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ (การตรวจโควิด รูป ๖-๗)
“การตัดสินใจนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ที่ไม่ใช่ชาว มซ. และช่วยให้โครงการสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-๑๙ แห่งชาติประสบความสำเร็จ”
อย่างไรก็ตาม จะให้ลำดับความสำคัญในการฉีดวัคซีนโควิด-๑๙ แก่ชาว มซ. ก่อน และจะมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลและกำหนดการสำหรับชาวต่างชาติในเร็วๆ นี้
“สิ่งนี้ยังสอดคล้องกับจุดยืนของ รบ. ในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนให้มากที่สุดใน มซ. เพื่อให้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ซึ่งจะลดการระบาดของโรคโควิด-๑๙ ได้”
ทั้งนี้ รมต. วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม Khairy Jamaluddin ที่เป็น ปธ. ร่วมของ คกก. เฉพาะวัคซีนโควิด-๑๙ กับ รมต. สธ. Dr. Adham Baba ได้โพสต์ผ่าน Twitter ในวันที่ ๑๑ ก.พ. ว่า ครม. ได้เห็นชอบที่จะจัดหาวัคซีนฟรีให้แก่นักการทูต ชาวต่างชาติ นศ. คู่สมรสและบุตรชาวต่างชาติ ผู้ลี้ภัยที่มีเอกสารและผู้อพยพที่ไม่มีเอกสาร
“คกก. รับประกันการเข้าถึงวัคซีนโควิด-๑๙ จะหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีดำเนินการเรื่องนี้ โดยจะแจ้งไปยัง ปท. ต่างๆ ผ่านช่องทางสถานทูต องค์กร NGO”
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นรม. มูห์ยิดดิน กล่าวว่า โครงการสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-๑๙ แห่งชาติ ที่มีกำหนดจะเริ่มในปลายเดือน ก.พ. นี้ ถือเป็นความพยายามในการฉีดวัคซีนครั้งใหญ่สุดเท่าที่เคยดำเนินการมาใน มซ. โดย ๘๐% ของจำนวนประชากรทั้ง ปท. (๓๓.๔๒ ล้าน ณ เดือน ก.พ. ๒๐๒๑) หรือประมาณ ๒๖.๕ ล้านคน จะได้รับวัคซีนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
ข่าววันนี้ถือเป็นความคิดด้าน สธ. ที่ก้าวหน้าของ มซ. ที่นอกจากเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ดังสโลแกนที่ว่า 'ปกป้องตัวเอง ปกป้องทุกคน' แล้ว ยังเป็นการดำเนินการด้านมนุษยธรรม สมควรได้รับการแซ่ซ้อง
รูปภาพประกอบ