วันที่นำเข้าข้อมูล 4 มี.ค. 2564
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
เช้านี้ มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๑ มี.ค. ๖๔ จำนวน ๒๑ คน
วันที่ ๒๘ ก.พ. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๒,๔๓๗ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๓๓ คน รัฐตรังกานู ๑๒ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๓๐๐,๗๕๒ คนและผู้เสียชีวิตสะสม ๑,๑๓๐ คน (เพิ่มขึ้น ๙ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
จนถึงวันที่ ๒๘ ก.พ. ๖๔ มี ปชช. มซ. ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-๑๙ แล้วจำนวน ๑๕,๙๒๓ ราย และมี ปชช. ลงทะเบียนเข้ารับการฉีดวัคซีนผ่านแอพลิเคชั่น MySejahtera แล้ว ๑,๔๒๘,๗๑๙ ราย
ก. วิทยาศาสตร์ฯ มซ. กำลังตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีมีผู้แสดงความเห็นในสื่อออนไลน์ว่า มีการลัดคิวรับวัคซีน โดย รมว. วท. ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลโครงการฉีดวัคซีนแห่งชาติ ได้ลงข้อความในทวิตเตอร์ของตนว่า ความเท่าเทียมในการรับวัคซีนมีความสำคัญ และ รบ.มซ. จะต้องให้ความมั่นใจกับ ปชช. ในเรื่องดังกล่าว การฉีดวัคซีนจะต้องแจกจ่ายอย่างเป็นธรรม และขอให้ ปชช. เชื่อมั่นในโครงการฉีดวัคซีนของ รบ.
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง “ครบรอบ ๑ ปีของ รบ. มูห์ยิดดิน” ตามรายงาน นสพ. Berita Harian ฉบับวันที่ ๑ มี.ค. ๖๔ ที่ว่า รบ. PN (Perikatan Nasional) ให้ความสำคัญกับการปกป้องชีวิตของประชาชน (แถลงครบ ๑ ปีของ รบ. รูป ๒-๓)
เช้าวันนี้ (๑ มี.ค.) นรม. มซ. ได้แถลงการณ์ถึงผลงานของ รบ. PN หลังจากได้รับแต่งตั้งให้เป็น นรม. เข้ามาบริหาร ปท. ครบรอบ ๑ ปี (Prihatin's Annual Mandate) ภายใต้หัวข้อ “การดูแลมาเลเซีย” ที่ศูนย์การประชุมนานาชาติ ปุตราจายา ซึ่งมีการถ่ายทอดสดผ่านสื่อทางการและโซเชียลมีเดียของ รบ.
ในสุนทรพจน์ครบรอบการบริหาร ๑ ปี นรม. แถลงว่า การบริหารงานของ รบ. PN มุ่งเน้นที่จะพยายามปกป้องชีวิตของประชาชนในช่วงปีที่ผ่านมา พร้อมเน้นย้ำว่า รบ. ได้ใช้มาตรการเชิงรุกอย่างกล้าหาญ รวมถึงการดำเนิน มาตรการควบคุมการสัญจร (MCO) นอกเหนือจากการใช้แพ็คเกจกระตุ้น ศก. ต่างๆ ที่มีมูลค่า ๓.๐๕ แสนล้านริงกิต ทั้งนี้เพื่อมิให้มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยมุ่งช่วยเหลือทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด
นรม. เสริมว่า “การดำเนินการดังกล่าวเกิดขึ้น เพื่อลดการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ขณะเดียวกันก็ช่วยแบ่งเบาภาระของประชาชน และทำให้ธุรกิจมีความต่อเนื่อง ด้วยการสนับสนุนจาก จนท. ที่ปฏิบัติงานในแนวหน้า ขรก. กองกำลังรักษาความปลอดภัย ภาคเอกชนและประชาชนทั่วไป จึงทำให้มาตรการที่ รบ. ดำเนินการ ได้ให้ผลลัพธ์ในเชิงบวก” (ครม. ร่วมงานแถลง รูป ๔)
นรม. กล่าวว่า ขณะนี้ มซ. ได้เผชิญกับการติดเชื้อโควิด-๑๙ ถึง ๓ ระลอก โดยสามารถเข้าใกล้จุดยับยั้งการติดเชื้อระลอกแรก ยับยั้งระลอกที่ ๒ และในเวลานี้ COVID-19 ระลอกที่ ๓ ที่เกิดขึ้นรายวัน ก็แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ลดลง ระบบสุขภาพของ มซ. ไม่เพียงสามารถดำรงอยู่ได้ แต่ยังมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการรักษาผู้ป่วย COVID-19 ด้วย โดยอัตราการเสียชีวิตเนื่องจาก COVID-19 ใน มซ. อยู่ในกลุ่มที่ต่ำสุดของโลกที่ ๐.๔% และมากกว่า ๙๐% ของผู้ติดเชื้อยืนยันว่าฟื้นตัวเต็มที่
จากบทสัมภาษณ์ นรม. กล่าวว่า “ตนไม่เคยฝันว่าจะได้มาอยู่ในตำแหน่ง นรม. เป็นเพราะได้รับแต่งตั้งให้เข้ามาทำหน้าที่เพื่อแก้ปัญหาการเมืองในเวลานั้น ซึ่งตนถือว่าเป็นความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่” (นรม.มซ. ให้สัมภาษณ์ รูป ๕-๖)
ในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด รบ. มซ. มีกลยุทธ์เพิ่มเติมที่จะช่วยเสริมมาตรการกระตุ้น ศก. ที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า ๓ แสนล้านริงกิต เพื่อบรรเทาผลกระทบของโควิด-๑๙
แม้จะมีความไม่แน่นอนทั่วโลกที่เกิดจากการระบาดของโรคโควิด แต่ นรม. มซ. ก็ยังมองว่า มซ. ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติ โดยสามารถดึงดูดการลงทุนใหม่มูลค่า ๑๐๙.๘ พันล้านริงกิตในภาคการผลิตและภาคหลักอื่นๆ ภายในระยะเวลา ๙ เดือนของปีที่แล้ว มีโครงการเปิดใหม่ ๒,๙๓๕ โครงการที่จะดำเนินการสร้างโอกาสในการจ้างงาน ๖๔,๗๐๑ คน นอกจากนี้ รบ.มซ. ได้เสนอสิ่งจูงใจพิเศษเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศให้เข้ามาในประเทศมากขึ้น
ในการแก้ปัญหาความยากจน ได้มีการจัดเกณฑ์ใหม่ กล่าวคือ ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย B40 (Bottom 40) ปัจจุบันได้กลายเป็นครัวเรือนที่มีรายได้น้อย B50 (Bottom 50) ขณะที่ครัวเรือนที่มีรายได้ปานกลาง M40 (middle income) ยังคงมีสัดส่วนเท่าเดิม แต่ครัวเรือนที่มีรายได้สูง T20 (top income) ลดลง ๑๐% นี่คือเหตุผลที่ รบ. มซ. ต้องช่วยเหลือครัวเรือนที่มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด รวมทั้งขจัดความยากจนด้วย
ด้านต่างประเทศ มซ. ต้องการจะกระชับ คสพ. กับอาเซียนและ ปท. มุสลิมมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก มซ. ได้รับการยอมรับว่าเป็น ปท. อิสลามที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าอย่างมากในด้านเทคโนโลยีและภาคส่วนอื่นๆ มซ.ต้องการแบ่งปันประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่มี ให้กับ ปท. อื่นๆ โดยไม่คำนึงถึงการค้าและการพัฒนา ศก.
ด้านส่งเสริม คสพ. พหุภาคี มซ. ประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดเอเปค เสมือนจริง (Virtual Apec Summit) เมื่อเดือน พ.ย. ๖๔
ปัจจุบัน รบ.มซ. กำลังดำเนินโครงการสร้างภูมิคุ้มกันโควิด-๑๙ แห่งชาติ (National Covid-19 Immunisation Programme : NIP) โดยการเร่งฉีดวัคซีนให้แก่ชาว มซ. ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยฟื้นฟู ศก. มซ. (นรม.มซ.ฉีดวัคซีน รูป ๗)
วันนี้เป็นเรื่องการรายงานผลงานครบรอบ ๑ ปีของ รบ. PN นำโดย นรม. มูห์ยิดดิน ซึ่งต้องติดตามว่า หลังการฉีดวัคซีน ด้วยแพ็คเกจกระตุ้น ศก. ต่างๆ จะสามารถนำพา ศก. มซ. ให้พ้นจากวิกฤตโควิดได้หรือไม่
รูปภาพประกอบ