เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 08 มีนาคม 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 08 มีนาคม 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 10 มี.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 25 พ.ย. 2565

| 442 view

เช้านี้ มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๘ มี.ค. ๖๔ จำนวน ๑๖ คน
วันที่ ๗ มี.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๑,๖๘๓ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๑๒ คน รัฐตรังกานู ๑๐ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๓๑๓,๔๖๐ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๑,๑๖๙ คน (เพิ่มขึ้น ๓ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
การขับเคลื่อน ศก. หลังโควิด หากพึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติ ก็คงต้องใช้เวลานานกว่าจะมีการเปิด ปท. อนุญาตให้เดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศได้ ขณะที่ รบ. ไทยได้ทุ่มงบพัฒนาเขตระเบียง ศก. พิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) หวังดึงดูดการลงทุนไฮเทค เร่งพัฒนา ศก. “ไทยแลนด์ ๔.๐”
ด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ มีการกล่าวถึงเมกะโปรเจกต์ “แลนด์บริดจ์” เชื่อมมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันตก กับมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันออก เพื่อกระตุ้นการเติบโตทาง ศก. แทน “โครงการคอขอดกระ” ที่มีทั้งเสียงสนับสนุนและคัดค้านจนกลายเป็นหมัน
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง “ ปั้นแลนด์บริดจ์ภาคใต้ ดันจีดีพีโต ๑๐% “ ตามรายงานข่าวของ นสพ. ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ ๔ มี.ค. ๖๔ (รายงานข่าว รูป ๒)
ถือเป็นความคืบหน้าอีกระดับ สำหรับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ที่ นรม. ประยุทธ์ จันทร์โอชา วางกรอบทิศทางการพัฒนา ปท. เชิงพื้นที่ ปั้นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ขึ้นมาเมื่อ ๔-๕ ปีก่อน เพื่อใช้เป็นพื้นที่ดึงดูดนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเข้าไปลงทุนใน อก. เป้าหมายแห่งอนาคต และได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รองรับไว้ทั้งรถไฟความเร็วสูง ท่าเรือ และสนามบิน โดยหวังว่าการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว จะช่วยสร้างการเติบโตทาง ศก. หรือจีดีพีให้กับ ปท. ได้ปีละ ๕% (แนวเส้นทางเชื่อมท่าเรือแหลมฉบัง-ชุมพร-ระนอง รูป ๓)
รบ. หวังว่า เมื่อการพัฒนาอีอีซีเดินหน้าไปได้ พื้นที่ภาคใต้จึงเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญอีกพื้นที่หนึ่ง ที่จะเชื่อมต่อกับ EEC จึงหยิบยกโครงการพัฒนาระเบียง ศก. ภาคใต้ที่ชื่อ “โครงการแลนด์บริดจ์” เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามันขึ้นมา โดย ครม. ได้อนุมัติงบราว ๖๘ ล้านบาทในการศึกษาโครงการดังกล่าวเมื่อช่วงปลายปี ๖๓ ที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วยการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) และรถไฟรางคู่ ๒ เส้นทาง ได้แก่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง ๑๖๗ กม. และช่วงชุมพร-ระนอง ระยะทาง ๑๐๙ กม. ตลอดจนวางระบบการขนส่งทางท่อ ที่จะทำการก่อสร้างไปพร้อมกันในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุนไม่ตํ่ากว่า ๑ แสนล้านบาท เป็นการลงทุนในลักษณะรัฐร่วมลงทุนกับเอกชนหรือ PPP
ล่าสุดเมื่อวันที่ ๑ มี.ค. ที่ผ่านมา ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ลงนามว่าจ้างที่ปรึกษา ๖ ราย เพื่อศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง โดยใช้เวลาศึกษา ๓๐ เดือน
(‘สภาพัฒน์-คมนาคม’ ลุยแลนด์บริดจ์ รูป ๔)
มีขอบเขตการศึกษาโครงการฯ ประกอบด้วย ๑. ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทาง ศก. การเงิน วิศวกรรม สังคม ๒. ออกแบบรายละเอียดเบื้องต้นและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ๓. จัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ๔. วิเคราะห์จัดทำรูปแบบการพัฒนาและการลงทุน ๕. สร้างความเข้าใจ พร้อมรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านตลอดระยะเวลาดำเนินงาน
ทาง สนข. ยืนยันว่า โครงการนี้จะก่อสร้างภายในปี ๖๗ ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง ๓ ปี และเปิดให้บริการภายในปี ๖๙ หลังจากโครงการแลนด์บริดจ์เปิดดำเนินการครบ ๑๐ ปี หรือในปี ๒๕๗๙ จะช่วยผลักดันมูลค่าการเติบโตทางศก. หรือจีดีพีภาคใต้เพิ่มขึ้นจาก ๒.๔ หมื่นล้านบาท เป็น ๑.๒ แสนล้านบาท หรือส่งผลให้สัดส่วนจีดีพีภาคใต้ปรับเพิ่มขึ้นจาก ๒% เป็น ๑๐% ของจีดีพีภาพรวม (ปักธง ’แลนด์บริดจ์’ บูม ศก. ใต้ รูป ๕)
หากโครงการนี้เกิดขึ้นได้จริง จะเป็นความหวังของการพัฒนา ปท. ได้อีกทางหนึ่ง เพราะจะกลายเป็นเส้นทางใหม่ในการขนส่งสินค้าของโลก ลดระยะเวลาในการขนส่งสินค้าและขนส่งนํ้ามันได้ถึง ๒-๓ วัน จากที่ต้องใช้ช่องแคบมะละกาของสิงคโปร์ ซึ่งจะยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางนํ้าของภูมิภาค เป็นการเปิดเส้นทางเดินเรือแห่งใหม่ของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ส่งเสริมการเจริญเติบโตทาง ศก. พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ช่วยสร้างโอกาส สร้างงาน สร้างรายได้
มูลค่าโครงการกว่า ๑ แสนล้านบาท จะเป็นการลงทุนที่เน้นรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนกับภาครัฐตาม พรบ. ร่วมลงทุน ปี ๒๕๖๒ (PPP) ซึ่งนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมต. คมนาคม มั่นใจว่าโครงการแลนด์บริดจ์ จะได้รับความสนใจจากภาคเอกชน (ไฮเวย์ ’แลนด์บริดจ์’ รูป ๖)
นายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง รอง ปธ. หอการค้า จ. ระนอง สะท้อนว่าโครงการแลนด์บริดจ์สอดรับกับแผนพัฒนาพื้นที่ระเบียง ศก. ภาคใต้ (SEC) ที่จะให้ จ. ระนองในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า เป็นเมืองท่าสำคัญของโลกเป็นยุทธศาสตร์ที่ตรงกับความต้องการของพื้นที่อย่างแท้จริง
โดยแผนงานการพัฒนาพื้นที่ระเบียง ศก. ภาคใต้ คือ การพัฒนา ๔ จ. ภาคใต้ตอนบน ตั้งเป้าให้ จ. ระนองเป็นท่าเรือทางฝั่งตะวันตก เชื่อมเมียนมา อินเดีย ลังกา บังคลาเทศ ชุมพรเป็นเมืองการเกษตรและแหล่งท่องเที่ยว สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่เกษตรและแปรรูปสินค้าเกษตร
ทั้งนี้ แลนด์บริดจ์ เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ข้ามคาบสมุทรระหว่างฝั่งอ่าวไทยที่ชุมพรกับฝั่งอันดามันที่ระนอง โดยจะมีท่าเรือที่ทันสมัยที่ปลายทั้ง ๒ ด้าน เชื่อมโยงกันด้วยระบบรถไฟรางคู่และมอเตอร์เวย์ ซึ่งนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ปธ. คกก. ขับเคลื่อนมาตรการบริหาร ศก. และปธ. คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะมาตรการบริหาร ศก. และส่งเสริมการลงทุนในระยะปานกลาง-ยาว ในศูนย์บริหารสถานการณ์ ศก. จากผลกระทบจากโควิด-๑๙ (ศบศ.) เสนอให้ ก. คมนาคมเดินหน้าศึกษาและก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่นี้ ซึ่งจะเป็นทางรถไฟสายแรกที่เชื่อมตอนในของ ปท. เข้ากับท่าเรือฝั่งอันดามัน
นายไพบูลย์ ลิ้มเลิศวาที ปธ. หอการค้า จ. ชุมพร กล่าวว่า ทางหอการค้า ภาคเอกชน กลุ่มการเมืองท้องถิ่น ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ ๘๐-๙๐% เห็นด้วยกับโครงการแลนด์บริดจ์เพื่อเชื่อมท่าเรือ ๒ ฝั่งทะเลระหว่างชุมพรกับระนอง ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ กรมเจ้าท่าเคยจ้างที่ปรึกษามาศึกษาและทำประชาพิจารณ์ ซึ่งชาวชุมพรผ่านความเห็นชอบให้การสนับสนุน ด้านอีไอเอก็ผ่าน โดยมีแผนจะก่อสร้างท่าเรือที่แหลมคอกวาง อ.เมืองชุมพร นํ้าลึก ๑๒-๑๓ ม. อยู่แล้ว แต่สุดท้ายถูกตีตกไปว่า ไม่คุ้มการลงทุน (แลนด์บริดจ์เชื่อม ๒ ท่าเรือชุมพร-ระนอง รูป ๗)
ขณะที่บ. ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด (ยูเออี) หนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาระบุว่า เนื่องจากโครงการดังกล่าวจำเป็นต้องสร้างท่าเรือ นํ้าลึกที่มีความลึกราว ๑๕ ม. อีกทั้งต้องประเมินพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการสร้างท่าเรือ ขณะเดียวกันต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และภายในเดือน มี.ค. นี้ จะลงพื้นที่เปิดรับฟังความคิดเห็นภาคประชาชน
ส่วนโครงการใหญ่ขนาดนี้จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ได้ ก็ต้องขึ้นกับการได้แรงสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ว่าจะสนับสนุนมากน้อยแค่ไหน แต่งานนี้บอกได้เลย ปท. ผู้เสียประโยชน์ ออกมาเต้นอย่างแน่นอน
วันนี้เป็นเรื่องราวของ “แลนด์บริดจ์” เมกะโปรเจกต์ที่ รบ. คาดว่า จะจุดประกายให้มีการพัฒนา ศก. การค้า การลงทุน เสริมกับ EEC ช่วยลดต้นทุนขนส่งสินค้า ยกไทยขึ้นแท่น “ศูนย์โลจิสติกส์” ทั้งในภูมิภาคและระดับโลก

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ