เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 07 มีนาคม 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 07 มีนาคม 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 10 มี.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 24 พ.ย. 2565

| 281 view

เช้านี้ ไม่มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๗ มี.ค. ๖๔
วันที่ ๖ มี.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๑,๖๘๐ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๓๕ คน รัฐตรังกานู ๒๒ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๓๑๑,๗๗๗ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๑,๑๖๖ คน (เพิ่มขึ้น ๗ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
การบังคับใช้ MCO จากการระบาดโควิดระลอก ๓ ส่งผลกระทบต่อสังคม มซ. ในวงกว้าง ทำให้ รบ.มซ. ต้องเร่งออกมาตรการแก้ไขปัญหา ศก. เพื่อทำให้ ศก.มซ. กลับมาฟื้นตัวโดยเร็ว
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง “มาตรการกระตุ้น ศก. รอบใหม่ กับผลการดำเนินมาตรการกระตุ้น ศก. มซ. ” ตามรายงานข่าวของ นสพ. New Straits Time ฉบับวันที่ ๕ มี.ค. ๒๐๒๑
ในการแถลงข่าว ภายใต้ชื่อ ‘Setahun Malaysia Prihatin’ โอกาสครบ ๑ ปีในการบริหารของ รบ. Perikatan Nasional (PN) เมื่อวันที่ ๔ มี.ค. รมต. คลัง Zafrul กล่าวว่า รบ. กำลังเตรียมประกาศความช่วยเหลือใหม่สำหรับตัวบุคคลและ บ. ที่ยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ (การแถลงข่าว Setahun Malaysia Prihatin รูป ๒)
“โครงการริเริ่มใหม่นี้จะให้ความสำคัญกับชาว มซ. และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยได้รวบรวมข้อมูลของตัวบุคคลและ บ. ที่ต้องการความช่วยเหลือมากสุด และได้หารือกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องว่า จะช่วยเหลือบุคคลและภาคส่วนที่ไม่ได้รับการพิสูจน์ตัวตนเหล่านี้ได้อย่างไร โดยจะมีการประกาศเรื่องนี้ในระยะเวลาอันใกล้นี้" (การถอนเงินจากธนาคาร รูป ๓)
แม้ว่า ศก. จะเริ่มฟื้นตัว แต่ธุรกิจบางสาขา เช่น การท่องเที่ยวและการค้าปลีก ยังไม่สามารถกลับมาดำเนินการได้ในระดับเดียวกับก่อนเกิดการระบาด นอกจากนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวยังอยู่ในสภาพย่ำแย่ เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับข้อจำกัดการเดินทางและการปิดพรมแดนระหว่างประเทศ
Zafrul มั่นใจว่าโครงการริเริ่มใหม่นี้จะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของ ปท. ควบคู่ไปกับโครงการฉีดวัคซีนโควิด “การฉีดวัคซีนเป็นกุญแจสำคัญในการฟื้นตัวทาง ศก.” เขากล่าวพร้อมเสริมว่า แพ็คเกจความช่วยเหลือของปีที่แล้ว เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือตัวบุคคลและ SMEs ที่ได้รับผลกระทบ
“SME เป็นหนึ่งในผู้สร้างรายได้หลักในระบบ ศก. คิดเป็นสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของ มซ. เกือบ ๓๙% และยังมีการจ้างงานเกือบ ๗๐% ของประชากร แน่นอนว่าการขาดดุลของ ปท. เพิ่มขึ้นเมื่อมีการกู้ยืมเพิ่ม แต่สิ่งสำคัญคือต้องสนับสนุนประชาชนและธุรกิจของเราในช่วงเวลาดังกล่าว และเราจะจัดหาแหล่งเงินทุนให้กับมาตรการสนับสนุนของ รบ. โดยการขาดดุลของ มซ. เพิ่มขึ้นเป็น ๖.๒% ของ GDP ในปี ๒๐๒๐ จากเดิม ๓.๔% ในปี ๒๐๑๙" เขากล่าว (การสมัครงานใหม่ รูป ๔)
Zafrul กล่าวว่า ก. คลังตั้งเป้าการขาดดุลของ มซ. ให้น้อยกว่า ๖.๒% ของ GDP ในปี ๒๐๒๑ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า ศก. ฟื้นตัวเร็วเพียงใด รบ. ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนบางภาคส่วน เพื่อให้ ศก. ท้องถิ่นเติบโต และมั่นใจได้ว่า เราอยู่บนเส้นทางสู่การเติบโตทาง ศก. อย่างมั่นคง โดยมุ่งสร้างงานเพิ่มขึ้นและให้ความช่วยเหลือที่หลากหลายกับ ปชช. ขณะที่ให้การสนับสนุนเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการฟื้นตัวของธุรกิจ SMEs
Zafrul กล่าวว่า รบ. ตั้งเป้าหมายที่จะสร้างงานใหม่ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ตำแหน่ง ผ่านมาตรการจูงใจในการจัดหางานต่างๆ เช่น โครงการค้ำประกันการจ้างงาน (Skim JanaKerja) และโครงการจ้างงานระยะสั้น (MySTEP)
“เราจะให้ความช่วยเหลือด้านเงินสดหรืออำนวยความสะดวกด้านกระแสเงินสด เพื่อลดภาระของประชาชนรวมถึงโครงการช่วยเหลือดูแลประชาชน (Bantuan Prihatin Rakyat) ซึ่งได้รับการเสนอตั้งแต่เดือน พ.ค. ๒๐๒๐ถึงเดือน ก.พ. ๒๐๒๑ โครงการสวัสดิการสังคมต่างๆ การใช้แอ็พ i-Sinar ถอนเงินจากกองทุนเงินสำรองเลี้ยงชีพ และโครงการพักชำระหนี้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย" (การใช้จ่ายครัวเรือน รูป ๕)
Zafrul กล่าวว่า รบ. จะดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อเร่งการเติบโตทาง ศก. ของ ปท. โดยจะอำนวยความสะดวกให้กับโครงการขนาดเล็ก (G1-G2) และเร่งรัดการจัดหาวัคซีนโควิด-๑๙
งบ‘ห่วงใย’ ช่วยเหลือพิเศษ (Special Prihatin Grant) โครงการเงินอุดหนุนค่าจ้าง และ micro credit เป็นมาตรการส่งเสริมการฟื้นตัวของธุรกิจ
ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการสร้างดิจิทัลระดับชาติ MYDigital รบ. มีโครงการพัฒนาดิจิทัล (JENDELA) และแผนการเร่งเปิดตัว 5G นอกจากนี้ โครงการ Jaringan Prihatin (แปลว่า เครือข่ายความห่วงใย) ซึ่งมีมูลค่า ๑.๕ พันล้านริงกิต จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย B40 ในการเข้าถึงระบบดิจิทัล
Zafrul กล่าวว่า รบ. PN ยังต้องการเปลี่ยนแปลง (transform) บ. ที่เชื่อมโยงกับ รบ. ทั้งที่เป็น government-lingked companies (GLCs) และ government-lingked investment companies (GLICs) เพื่อให้ความสำคัญกับแหล่งเงินที่จะลงทุนเชิงกลยุทธ์ในพื้นที่ และยกระดับการพัฒนาผู้ขายกลุ่ม Bumiputera ขณะเดียวกัน ก็สนับสนุนระเบียบวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) และนวัตกรรมในกลุ่มสตาร์ทอัพ
ในปี ๒๐๒๐ มซ. ได้ออกมาตรการกระตุ้น ศก. ๔ แพ็คเกจมูลค่า ๓๐๕ พันล้านริงกิต และจัดสรรเงิน ๓๒๒.๕ พันล้านริงกิต ภายใต้ งปม. ๒๐๒๑ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความคิดริเริ่มของ รบ. ในการป้องกันวิกฤตด้านสุขภาพและ ศก. เกือบ ๑ ปีหลังจากการใช้แพ็คเกจความช่วยเหลือต่างๆ รบ. จะยังคงปรับปรุงแพ็คเกจและสิ่งจูงใจต่อไป (โครงการฉีดวัคซีน รูป ๖)
ศก. มซ. มีความยืดหยุ่น หลังจากหดตัวน้อยลงที่ -๒.๖% และ -๓.๔% ในไตรมาส ๓ และ ๔ ของปี ๒๐๒๐ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับการหดลงอย่างรุนแรงที่ -๑๗.๑% ในไตรมาส ๒ ของปี ๒๐๒๐ ผลจากการดำเนินการอย่างรวดเร็วของ รบ. ทำให้ ศก. มซ. มีอัตราการหดตัวลดลงที่ -๕.๖% ในปี ๒๐๒๐ มาตรการนี้ยังช่วยลดอัตราการว่างงานจาก ๕.๓% (พ.ค. ๒๐๒๐) เหลือ ๔.๘% (ธ.ค. ๒๐๒๐)
"อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องดำเนินการ งปม. ปี ๒๐๒๑ และแพ็คเกจความช่วยเหลือ Permai จะสนับสนุนแผนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-๑๙ แห่งชาติที่ถูกคาดหวังกันมาก โดยมั่นใจว่าโครงการฉีดวัคซีน (ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จต้นปี ๒๐๒๒) จะขับเคลื่อนการฟื้นตัวทาง ศก. มซ.”
Zafrul กล่าวว่า รบ. ได้พิจารณาข้อมูลต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งจูงใจและกลยุทธ์การกักตัวนั้น จะถูกปรับให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มี สร้างสมดุลระหว่างผลประโยชน์ที่แข่งขันได้ เพื่อการเติบโตทาง ศก. อย่างยั่งยืน
“เราต้องการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วง MCO 2.0 ได้อนุญาตให้ธุรกิจส่วนใหญ่ดำเนินการต่อไปได้ โดยใช้มาตรการ SOP ที่เข้มงวดขึ้น
ด้วยแพ็คเกจความช่วยเหลือที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ทำให้รู้ว่าภาคส่วนใดได้รับผลกระทบมากกว่ากัน ดังนั้นเราจะมุ่งเน้นไปที่ภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบในช่วงการระบาดใหญ่ ได้แก่ ภาคการค้าปลีกและการท่องเที่ยว"
Zafrul กล่าวว่า Covid-19 ได้ส่งผลกระทบทาง ศก. และสังคมอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ปชช. มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ และได้ก่อความสูญเสียต่อ ศก. มซ. ประมาณ ๒.๔ พันล้านริงกิตในช่วง MCO 1.0
เขากล่าวว่า รบ. ยังคงแน่วแน่ในการต่อสู้กับความท้าทายในอนาคตโดยการใช้กลยุทธ์ "6R" ตั้งแต่เดือนมี.ค. ๒๐๒๐ เพื่อการฟื้นตัวทาง ศก. ซึ่งประกอบด้วยการตัดสินใจ (resolve) ความยืดหยุ่น (resilience) การเริ่มต้นใหม่ (restart) การฟื้นตัว (recovery) การฟื้นฟู (revitalize) และการปฏิรูป (reform) โดยกลยุทธ์ 6R เป็นแนวทางและขั้นตอนของ รบ. ในการจัดการและควบคุมการแพร่ระบาดผ่านข้อบังคับ MCO และมาตรการอื่นๆ
“เรายังมุ่งที่จะปกป้องชีวิตและการดำรงชีวิตผ่านแพ็คเกจกระตุ้น ศก. (Prihatin) ขณะที่ค่อยๆ เปิดภาคส่วนของ ศก. ที่สามารถควบคุมได้ และกระตุ้นการเติบโตทาง ศก. ผ่านแผนฟื้นฟู (Penjana) รบ. ยังต้องการสร้างความสมดุลในการคุ้มครองสุขภาพของ ปชช. และสร้างโมเมนตัมการฟื้นตัวทาง ศก. เพื่อปรับปรุงความยืดหยุ่นของ ปท. ภายใต้ งปม. ๒๐๒๑”
ทางด้านความจำเป็นในการปฏิรูปโครงสร้าง ศก. ผ่านแผนพัฒนา มซ. ฉบับที่ ๑๒ (12th Malaysian Plan)
Zafrul กล่าวว่า การตอบสนองของ รบ. ควรรวดเร็ว เด็ดขาดและมีประสิทธิผล ดังนั้นจึงมีการเปิดตัวแพ็คเกจกระตุ้น ศก. (Prihatin) มูลค่า ๒๕๐ พันล้านริงกิตในเดือน มี.ค. ๒๐๒๐ ตามด้วย PRIHATIN SME +, PENJANA และ KITA PRIHATIN ในเดือนเม.ย. มิ.ย. และ ก.ย. ตามลำดับ
แพ็คเกจ ๔ รายการนี้มีมูลค่ารวม ๓๐๕ พันล้านริงกิต คิดเป็น ๒๓% ของ GDP ของ มซ. โดยเป็นการอัดฉีดทางการคลังมูลค่า ๕๕ พันล้านริงกิต (อธ.สธ.รับการฉีดวัคซีน รูป ๗)
“ในประวัติศาสตร์ มซ. ไม่เคยประสบกับสถานการณ์ที่การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการดำรงชีวิตเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องกำหนดและดำเนินการมาตรการช่วยเหลือและกระตุ้น ศก. อย่างมีประสิทธิภาพให้ทันท่วงที" Tengku Zafrul กล่าว
นอกจากนี้ มีการตั้งโครงการ Laksana เพื่อติดตามและตรวจสอบการดำเนินมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างความมั่นใจในความอยู่รอดของ ปชช. และสนับสนุนความยั่งยืนของธุรกิจ
"การดำเนินการตามโครงการริเริ่มประเภทต่างๆ เหล่านี้ได้รับการสนับสนุน ด้วยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถแทรกแซงได้ทันทีและสร้างการประสานงานที่ดีขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่า มีการดำเนินโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
ก. คลังจะคงดำเนินโครงการ Laksana เพื่อให้แน่ใจว่า โครงการริเริ่มทั้งหมดจะได้รับการดำเนินการและตรวจสอบอย่างเหมาะสม เพื่อให้ ปชช. และ ปท. ฟื้นตัวและมีความยืดหยุ่นมากกว่าที่ผ่านมา
วันนี้ เป็นรายงานผลการดำเนินมาตรการกระตุ้น ศก. มซ. และการเตรียมประกาศมาตรการกระตุ้น ศก. รอบใหม่ของ มซ. ซึ่งมีความน่าสนใจ ที่น่าติดตามต่อไป

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ