วันที่นำเข้าข้อมูล 10 มี.ค. 2564
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 พ.ย. 2565
เช้านี้ ไม่มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๖ มี.ค. ๖๔
วันที่ ๕ มี.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๒,๑๕๔ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๕๗ คน รัฐตรังกานู ๑๖ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๓๑๐,๐๙๗ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๑,๑๕๙ คน (เพิ่มขึ้น ๖ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
ปัจจุบันช่องทางที่ชาว มซ. สามารถลงทะเบียนขอรับการฉีดวัคซีนมี ๓ ช่องทาง ได้แก่ ทางแอพลิเคชั่น MySejahtera ทางโทรศัพท์ และทางเว็บไซต์ https://vaksincovid.gov.my
รมต.สธ. มซ. แจ้งว่า รบ.มซ. อาจจะอนุญาตการเดินทางข้ามรัฐ หลังวันที่ ๑๘ มี.ค. ๖๔ หากจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดย สธ. มซ. จะเสนอให้มี "green bubbles" สำหรับการเดินทางภายใน ปท. ซึ่งจะต้องมีมาตรการที่เกี่ยวข้องรองรับด้วย และอาจจะมิใช่การอนุญาตให้ ปชช. สามารถเดินทางจากรัฐที่ตนอาศัยอยู่ไปยังรัฐใดก็ได้ตามใจชอบ
ปัญหาการตรวจเชื้อโควิดยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกัน เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง โดยวิธี swab test ที่ใช้การตรวจปฏิกิริยาลูกโซ่แบบถอดความย้อนเวลาเรียลไทม์ (Reverse transcription polymerase chain reaction : RT-PCR) แม้ให้ผลการตรวจที่แม่นยำ แต่เป็นการตรวจหาเชื้อในห้องแล็บ ซึ่งจะทราบผลเบื้องต้น ภายใน ๒๔ ชม. และทราบผลยืนยันภายใน ๒๔-๔๘ ชม. ขณะที่การตรวจแบบ Rapid Antigen Test Kit (RTK-Antigen) แม้ตรวจรู้ผลภายใน ๑๕-๓๐ นาที แล้วแต่ชนิดการตรวจ แต่ก็อาจให้ผลลวง (fault negative) ได้ จึงยังขาดความน่าเชื่อถือ
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง “การคัดกรองการติดเชื้อ COVID-19 จากน้ำลาย” ตามรายงานข่าวของ นสพ. Berita Harian ฉบับวันที่ ๕ มี.ค. ๒๐๒๑
นักไวรัสวิทยาจาก ม. มาลายา (University of Malaya : UM) Prof. Dr. Sazaly Abu Bakar เปิดเผยว่า การตรวจคัดกรองน้ำลาย COVID-19 ทำได้ดีกว่าที่บ้าน
สธ. มซ. ได้แนะนำและอนุญาตให้ประชาชนเก็บตัวอย่างน้ำลายที่บ้านได้ หาก รบ. ต้องการใช้วิธีนี้ในการตรวจคัดกรอง COVID-19 (Prof. Dr. Sazaly Abu Bakar รูป ๒)
การทดสอบน้ำลายกำหนดให้ผู้ที่ได้รับการคัดกรอง ต้องขากน้ำลายลงในภาชนะ ก่อนที่จะใช้ Rapid Antigen Test Kit (RTK-Antigen) ตรวจดูว่าตัวอย่างเป็นบวกหรือลบกับเชื้อ COVID-19 ก่อนที่จะรายงานผลไปยัง สธ.
Prof. Dr. Sazaly กล่าวว่า การสุ่มตัวอย่างน้ำลายที่บ้านจะช่วยเพิ่มความแม่นยำของการทดสอบ นอกเหนือจากราคาจะถูกกว่าการทดสอบแบบ RT-PCR มาก (อธ.สธ.มซ. รูป ๓)
เขากล่าวว่า การสุ่มตัวอย่างน้ำลายเองที่บ้าน ยังช่วยให้ สธ. ประหยัดพลังงานและทรัพยากรของ รบ. ซึ่งตอนนี้ใช้มากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ริงกิตต่อวัน โดยเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายในการสุ่มตัวอย่าง การทดสอบในห้องปฏิบัติการ การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment : PPE) และอื่น ๆ
“สธ. จำเป็นต้องทำการศึกษาอย่างละเอียด หากต้องการทำการทดสอบโดยใช้ตัวอย่างน้ำลาย เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่จะกระทบความแม่นยำของการทดสอบ เช่น น้ำที่ดื่มอาจไปผสมกับอาหาร ที่สามารถเปลี่ยนระดับความเป็นกรดและด่างได้ (RT-PCR test รูป ๔)
อย่างไรก็ตาม หากบุคคลใดที่ต้องการตรวจ และได้รับอนุญาตให้ทำการทดสอบด้วยตนเองที่บ้าน จะถูกขอให้ใช้ตัวอย่างน้ำลายในตอนเช้าตรู่ทันทีที่ตื่นนอน
ถ้าไม่ใช้น้ำลายในตอนเช้าตรู่ ก็ไม่แน่ใจว่าผลการทดสอบจะให้ความแม่นยำเช่นเดียวกับการทดสอบแบบ swab test ที่ใช้เก็บตัวอย่างจากการแหย่ในลำคอและจมูกที่ทำอยู่ในเวลานี้
สำหรับการสุ่มตัวอย่างน้ำลายในตอนเช้าจะมีความเกี่ยวข้องมากกว่า หากบุคคลนั้นได้รับการตรวจคัดกรองให้ทำเอง เมื่อเทียบกับการดำเนินการโดย จนท. สธ.”
เมื่อวันที่ ๔ มี.ค. อธ.สธ. Dr. Noor Hisham กล่าวว่า ได้กำหนดให้ รพ. สธ. ๗ แห่งเป็นศูนย์สำหรับการเก็บตัวอย่างน้ำลาย (deep throat saliva) สำหรับการคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิค-๑๙ รวมทั้งดำเนินการประเมินภาค สนามเกี่ยวกับการใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างน้ำลายสำหรับการตรวจคัดกรอง COVID-19 (What is Rapid Antigen Test ? รูป ๕)
เมื่อเดือน ก.พ. รมต.สธ. Dr. Adham Baba ได้รับรายงานว่า การประเมินของสถาบันวิจัยทางการแพทย์ (IMR) พบว่า วิธีการสุ่มตัวอย่างน้ำลายให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ ๑๐๐% และ ๙๖.๖๗% สำหรับความไว
Prof. Dr. Sazaly กล่าวว่า วิธีการเก็บน้ำลายสามารถสอนให้กับประชาชนได้โดยตรงหรือผ่านการรณรงค์ทางสื่อมวลชน และเสริมว่า สธ. สามารถจัดหาชุดเก็บตัวอย่างน้ำลาย (saliva sampling kit) ให้กับบุคคลที่สัมผัสใกล้ชิดกับกลุ่มเสี่ยงในคลัสเตอร์ และสามารถทำการทดสอบด้วยตนเองได้ในวันแรก วันที่ ๔ และวันที่ ๗ หรือ ๑๐ (การตรวจผลในห้องแล็บ รูป ๖)
“ปัจจุบันตัวอย่างที่ทดสอบทุกวันประมาณ ๘๐–๙๐% มีค่าเป็นลบ เงินเกือบครึ่งล้านริงกิตถูกใช้ไปทุกวันและค่าใช้จ่ายนี้จะลดลงอย่างมาก หากใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างน้ำลายและอนุญาตให้ทำเองที่บ้านได้
ตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรอง RT-PCR อยู่ที่ประมาณ ๑๕๐ ริงกิตต่อครั้ง แต่การตรวจคัดกรองน้ำลายโดยใช้ RTK-Antigen อยู่ที่ประมาณ ๓๕ ริงกิตต่อครั้ง ซึ่งสามารถใช้ได้ถึง ๓ ครั้ง
ไม่เพียงแต่จะประหยัดทรัพยากรทางการเงินสำหรับการคัดกรอง สธ. ยังสามารถลดบุคลากร สธ. แนวหน้า ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการสุ่มตัวอย่างในเวลานี้ นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายของชุดป้องกันส่วนบุคคล PPE ที่พวกเขาใช้" เขากล่าว (Covid-19 Rapid Antigen Test Procedure รูป ๗)
วันนี้เป็นรายงานการคัดกรองการติดเชื้อ COVID-19 จากน้ำลาย ที่ให้ผลลัพธ์แม่นยำ ๑๐๐% ซึ่งนอกจากจะลดความเสี่ยงของบุคลากร สธ. ที่ปฏิบัติหน้าที่ในแนวหน้าได้แล้ว ยังลดค่าใช้จ่ายการตรวจแบบ RT-PCR ด้วย
รูปภาพประกอบ