วันที่นำเข้าข้อมูล 14 มี.ค. 2564
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
เช้านี้ มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๑๐ มี.ค. ๖๔ จำนวน ๑๐ คน
วันที่ ๙ มี.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๑,๒๘๐ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๑๖ คน รัฐตรังกานู ๓๖ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๓๑๖,๒๖๙ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๑,๑๘๖ คน (เพิ่มขึ้น ๙ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
การค้าชายแดนถือเป็นรายได้สำคัญของการค้าต่างประเทศของไทย เมื่อวันที่ ๒ มี.ค. ๖๔ นายกีรติ รัชโน อธ. กรมการค้าต่างประเทศได้แถลงข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการค้ากับ ปท. เพื่อนบ้านของไทย ปี ๖๓ (การแถลงข่าว รูป ๒)
การค้าชายแดนของไทยกับเพื่อนบ้าน ๔ ปท. (มซ. เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา) ปี ๖๓ (ม.ค.-ธ.ค.) มูลค่าการค้ารวม ๗๖๐,๒๔๑ ล้านบาท ลดลง ๘.๐๑% แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า ๔๘๘,๐๒๗ ล้านบาท ลดลง ๗.๔๕% และการนําเข้ามูลค่า ๓๑๒,๒๑๔ ล้านบาท ลดลง ๘.๐๘% โดยการค้าชายแดนกับ มซ. มีมูลค่าสูงสุด คิดเป็น ๓๒.๘๒% ของมูลค่าการค้าชายแดนรวม รองลงมา ได้แก่ สปป.ลาว (๒๔.๙๗%) เมียนมา (๒๑.๖๗%) และกัมพูชา (๒๐.๕๔%) โดยไทยได้ดุลการค้ากับ สปป.ลาว เมียนมา และกัมพูชา แต่ไทยขาดดุลการค้ากับ มซ.
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง “เจาะอนาคต ศก. ปลายด้ามขวานของไทย” วิเคราะห์ตามรายงานสถิติของกรมการค้าต่างประเทศ ณ วันที่ ๘ ก.พ.๖๔ (ด่านสะเดา รูป ๓)
เมื่อวันที่ ๒ มี.ค. ๒๐๒๑ สำนักข่าว BERNAMA ได้รายงานเกี่ยวกับการค้าชายแดนไทย-มซ. ปี ๖๓ (ม.ค. – ธ.ค.) มีมูลค่าการค้ารวม ๒๔๙,๔๙๙ ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลง ๙.๑๐% แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า ๑๒๔,๑๙๓ ล้านบาท ลดลง ๒.๐๓% และการนําเข้ามูลค่า ๑๒๕,๓๐๖ ล้านบาท ลดลง ๑๕.๑๘% ไทยขาดดุลการค้า ๑,๑๑๓ ล้านบาท
ด่านการค้าที่มีมูลค่าการค้ารวมสูงสุด ๕ อันดับแรก ได้แก่ ด่านสะเดา มีสัดส่วน ๘๓.๖๓% ของการค้าชายแดนไทย-มซ. รองลงมาได้แก่ ด่านปาดังเบซาร์ (๑๓.๖๓%) ด่านสุไหงโก-ลก (๑.๐๘%) ด่านเบตง (๐.๙๓%) และด่าน บ้านประกอบ (๐.๓๗%) (ด่านสุไหงโก-ลก รูป ๔)
สินค้าส่งออกสําคัญ ๕ อันดับแรก ได้แก่ ยางพารา คิดเป็นสัดส่วน ๑๖.๓๘% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ฯ (๑๔.๔๗%) รถยนต์และอุปกรณ์ (๕.๕๖%) แผงวงจรไฟฟ้า (๓.๗๖%) และสินค้า อก.การเกษตรอื่นๆ (๒.๖๘%)
สินค้านําเข้าสําคัญ ๕ อันดับแรก ได้แก่ เทปแม่เหล็กจานแม่เหล็กสําหรับคอมฯ คิดเป็นสัดส่วน ๒๐.๑๓% ของมูลค่านําเข้าทั้งหมด ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ (๘.๑๖%) ไดโอดทรานซิสเตอร์ฯ (๔.๘๑%) อลูมิเนียมฯ (๔.๒๖%) และเครื่องจักรไฟฟ้าอื่นๆ (๔.๒๕%) (นายด่านสุไหงโก-ลก รูป ๕)
จากข้อมูลมูลค่าการค้าชายแดนจากด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก พบว่า ปี ๖๓ ด่านสุไหงโก-ลก มีมูลค่าการค้าชายแดน ๒,๗๐๔ ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน -๒๙๓ ล้านบาท (- ๙.๗๘%) โดยนำเข้า ๑,๘๓๒ ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน –๗๐๑ ล้านบาท (-๒๗.๖๘%) และส่งออก ๘๗๒ ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน ๔๐๘ ล้านบาท (+๘๘.๐๖%)
ปี ๖๔ (ต.ค.๖๓ - ก.พ. ๖๔) มีมูลค่าการค้า ๑,๑๐๔ ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันกับปีก่อน ๑๓๙ ล้านบาท เพิ่มขึ้น ๑๔.๓๙%
สินค้าส่งออก ๕ อันดับต้นๆ ที่ผ่านด่านสะเดา ได้แก่ ยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์ ไม้ยางพาราแปรรูป ไฟเบอร์บอร์ด ลูกนัทสดหรือแห้ง ส่วนสินค้านำเข้า ๕ อันดับต้น ได้แก่ สื่อบันทึก รถยนต์และยานยนต์ เครื่องพิมพ์ ส่วนประกอบใช้กับเครื่องจักร มอนิเตอร์และเครื่องฉาย
สำหรับรายการสินค้าส่งออก ๕ อันดับต้นๆ ที่ผ่านด่านโกลก ได้แก่ ปลาทูลังทั้งตัวแช่เย็น ของเบ็ดเตล็ดบริโภคได้ ผลไม้สด แป้งมันสำปะหลังสำเร็จรูป กุ้งขาวทั้งตัวแช่เย็น ส่วนสินค้านำเข้า ๕ อันดับต้น ได้แก่ ไม้แปรรูป ปลาทะเลทั้งตัวแช่เย็น ยางมะตอย ของเบ็ดเตล็ดบริโภคได้ ปลาโอทั้งตัวแช่แข็ง
ทั้งปริมาณ มูลค่าและรายการสินค้า ต่างสะท้อนให้เห็นความแตกต่างของระดับการพัฒนา ศก. ระหว่างฝั่ง ตต. และ ตอ. ของ มซ. ได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ ฝั่ง ตอ. ยังล้าหลังกว่ามาก เนื่องจากฝั่ง ตต. มีท่าเรือปีนังสำหรับขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ สินค้าจึงถูกส่งออกทางด่านสะเดาเป็นหลัก ซึ่งมีเส้นทางคมนาคมที่ดีเยี่ยม มีทางด่วน ระบบรถไฟฟ้ารางคู่ ขณะที่ถนนเชื่อมรัฐในฝั่ง ตอ. เช่น รัฐกลันตัน ตรังกานูยังเป็นเพียงถนน ๒ เลน
จึงมีการผุดโครงการรถไฟความเร็วสูงชายฝั่ง ตอ. (EAST COAST RAIL LINK : ECRL) ขึ้น ความยาว ๖๔๐ กม. ขนาดความเร็วปานกลาง ทั้งขนส่งผู้โดยสาร (ความเร็ว ๑๖๐ กม./ชม.) และสินค้า (๘๐ กม./ชม.) มีต้นทางที่เขต TUNJUNG รัฐกลันตัน ผ่านรัฐตรังกานู ปาหัง (ท่าเรือกวนตัน สำหรับส่งสินค้าออกทางทะเลจีนใต้ ไปจีน ญป. กลต.) เนกริเซมบิลัน ปุตราจายา สลังงอร์ ปลายทางคือ PORT KLANG รัฐสลังงอร์ (ขนส่งสินค้าออกทางมหาสมุทรอินเดีย) จึงเป็นเสมือน LANDBRIDGE เชื่อม ๒ ฝั่งมหาสมุทร โดย ECRL มีกำหนดแล้วเสร็จใน ธ.ค. ๒๐๒๖ ซึ่ง ณ วันที่ ๗ มี.ค. ๒๐๒๑ มีรายงานว่า โครงการ ECRL มีความคืบหน้าแล้ว ๒๑%
เมื่อเดือน ส.ค. ๖๓ MALAYSIAN RUBBER BOARD (MBR) ประกาศจะจัดตั้งเขตระเบียงน้ำยาง (LATEX CORRIDOR) โดยจะย้ายจากรัฐยะโฮร์ สลังงอร์ เปรัก ฝั่ง ตต. ไปยังรัฐกลันตัน ตรังกานู และปาหัง ฝั่ง ตอ. และจะเปลี่ยนการผลิตจากยางก้อนถ้วย (CUP LUMP) เป็นน้ำยางข้น (LATEX) เพื่อป้อน รง. ผลิตถุงมือยาง ซึ่ง มซ. มีกำลังผลิตน้ำยางข้นได้ เพียง ๔.๕ หมื่นตัน/ปี คิดเป็น ๑๐% ของความต้องการน้ำยางข้นที่ ๔.๕ แสนตัน/ปี (โครงการ ECRL รูป ๖-๗)
การขับเคลื่อน อก. ยาง มซ. มีความเข้มแข็งทั้งระบบของห่วงโซ่อุปทาน โดยผลผลิตจากรายย่อยแตกต่างจากผลผลิตของชาวสวนยางไทย เพราะ มซ.ผลิตยางก้อนถ้วย (CUP LUMP) ๙๙% ที่เหลือเป็นน้ำยางสด ส่วนไทยมีผลผลิต ๙๒% เป็นน้ำยางสด ที่เหลือเป็นยางก้อนถ้วย
เหตุผลที่ มซ. นิยมผลิตยางก้อนถ้วย เพราะขาดแคลน รง. ในสวนยาง และมิได้พัฒนา อก. กลางน้ำมานาน มี บ. ใหญ่ๆ ใน อก. เช่น บ. MARDEC บ. LEE RUBBER และบ. TIONG HUAT RUBBER เป็นต้น ซึ่งแปรรูปยางก้อนถ้วยเป็นยางแท่ง เช่น SMR10 และ SMR20 ก่อนนำไปผลิตยางรถยนต์ ซึ่งเป็น อก.ปลายน้ำ
นอกจากนี้ ยังมี อก. ปลายน้ำที่ใช้น้ำยางข้นเป็นวัตถุดิบ เช่น ผลิตภัณฑ์ถุงมือ กาว ถุงยางอนามัย และยางยืด เป็นต้น วัตถุดิบเกือบทั้งหมดจึงต้องนำเข้าจากไทย
ปัจจุบัน มซ. มีชาวสวนยาง ๔ แสนคน เกษตรกรรายย่อยมีเนื้อที่ปลูกยางพาราไม่เกิน ๒๕๐ ไร่ คิดเป็น ๙๕% ที่เหลือเป็นรายใหญ่ ๕% เกษตรกรรายย่อยจะมีหน่วยงานของรัฐดูแล ได้แก่ FELDA (FEDERAL LAND DEVELOPMENT AUTHORITY) ที่จัดสรรที่ดินทำกินและดูแลเกษตรกรรายย่อยในชนบท เพื่อปลูกยางพาราและปาล์มรายละ ๒๕-๓๖ ไร่ และตั้งบ. FELDA GLOBAL VENTURE HOLDING BHD เพื่อนำผลิตภัณฑ์จากยางพาราออกไปจำหน่ายในตลาดโลก
ดังนั้น ไทย และ มซ. ควรร่วมมือกันเร่งพัฒนาพื้นที่ชายแดนระหว่างรัฐตอนเหนือ (๔ รัฐ : รัฐเคดาห์ เปรัก เปอร์ริสและปีนัง) และรัฐฝั่ง ตอ. ของ มซ. (๓ รัฐ: รัฐกลันตัน ตรังกานู ปาหัง) กับ จชต. ของไทย เพื่อรองรับ ECRL, LATEX CORRIDOR ซึ่งสอดรับกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ตามแผนพัฒนา ศก. ไทย-มซ. ที่ประกอบด้วย
๑. แนวคิดระเบียง ศก.ที่ ๖ (6TH ECONOMIC CORRIDOR) ในกรอบความร่วมมือ IMT-GT ซึ่งได้รับความเห็นชอบในที่ประชุมสุดยอดผู้นำ ๓ ปท. (ไทย มซ. อซ.) ครั้งที่ ๑๒ แล้ว เมื่อวันที่ ๒๓ มิ.ย. ๒๐๑๙ หมายถึง พื้นที่ ๓ จ. ของไทยคือ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา กับรัฐกลันตัน เปรัก ของ มซ. และเกาะสุมาตราตอนใต้ของ อซ.
๒. เขตระเบียง ศก. พิเศษภาคใต้ (SOUTHERN ECONOMIC CORRIDOR : SEC) หมายถึง ๓ จชต. ของไทยที่มีพรมแดนติดกับรัฐตอนเหนือและรัฐฝั่ง ตอ. ของ มซ.
จะเห็นว่า พื้นที่ของ LATEX CORRIDOR จะทับกับพื้นที่แนวเส้นทางรถไฟ ECRL จึงมองได้ว่า มซ. ต้องการพัฒนาโลจิสติกส์เส้นทางส่งสินค้าออกไปทางทะเลจีนใต้สู่จีน ญี่ปุ่น ซึ่งไทยสามารถอาศัยประโยชน์จาก ECRL โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการลงทุนในอนาคต ที่จะมีทั้ง รง. น้ำยางข้น รง.ถุงมือยาง รง. ยางรถยนต์ รง.ชุด PPE เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งสินค้าไปลงที่ท่าเรือกวนตัน ได้ภายในเวลา ๕ ชม. (LATEX CORRIDOR รูป ๘)
วันนี้ได้เจาะอนาคต ศก. ไทย-มซ. โดยวิเคราะห์จากสถิติการค้าไทย-มซ. โดยชี้ให้เห็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่กำลังเกิดขึ้น เช่น ECRL, LATEX CORRIDOR จะเปลี่ยนโฉมของพื้นที่ใต้สุดของไทยกับและรัฐฝั่ง ตอ. ของ มซ. ในอีก ๕-๑๐ ปีข้างหน้า
รูปภาพประกอบ