เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 26 มกราคม 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 26 มกราคม 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 27 ม.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 24 พ.ย. 2565

| 275 view

เช้านี้ ไม่มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๒๖ ม.ค. ๖๔
วันที่ ๒๕ ม.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๓,๐๔๐ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๘๙ คน รัฐตรังกานู ๗๙ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๑๘๖,๘๔๙ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๖๘๙ คน (เพิ่มขึ้น ๑๑ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
เมื่อวานนี้ (๒๕ ม.ค.) นาย Azmin Ali รมต. การค้า รปท. และ อก. (MITI) ได้แถลงว่า มีความเป็นไปได้ที่ รบ.มซ. จะประกาศใช้มาตรการควบคุมการสัญจร (Movement Control Order - MCO) แบบเข้มข้นถึงขั้น total lockdown ดังที่เคยใช้ในช่วง MCO ครั้งแรกเมื่อเดือน มี.ค. - พ.ค. ๖๓ โดย รมต. กล่าวว่า การตัดสินใจในเรื่องดังกล่าวจะต้องพิจารณาถึงทางเลือกอื่นที่มีอยู่ด้วย โดย รบ. อาจ (๑) กำหนดให้มี SOP เกี่ยวกับสถานที่ทำงานที่เข้มงวดขึ้น (๒) เพิ่มการตรวจหาเชื้อฯ ในกลุ่มเป้าหมาย (targetted testing) (๓) กำหนดราคาชุดตรวจ RTK-Antigen test kits ให้มีราคาต่ำลงเพื่อให้ภาคธุรกิจ อก. สามารถจัดหาเพื่อตรวจเชื้อฯ ให้บุคลากรของตนได้มากขึ้น (๔) เพิ่มความเข้มงวดของ SOP เกี่ยวกับกิจกรรมทางสังคม โดยยังคงห้าม ปชช. เดินทางข้ามรัฐ
ด้าน อธ. สธ. มซ. ได้แถลงว่า รบ. มซ. ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะบังคับใช้มาตรการ MCO นานกว่า ๑ เดือน เนื่องจากต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของ ปชช. แต่คาดว่า หลังจาก MCO ทั่วประเทศสิ้นสุดลง รบ. มซ. จะประกาศบังคับใช้มาตรการควบคุมการสัญจรแบบมีเงื่อนไข (Conditional Movement Control Order - CMCO) ต่อไปอีกประมาณ ๓ เดือน โดยหวังว่าในช่วงเวลานั้นจำนวนผู้ติดเชื้อฯ น่าจะลดลงเหลือ ๒ หลัก
ไทยพึ่งรายได้จากการประมงค่อนข้างสูง ปี ๕๙ ไทยมีผลผลิตสัตวน้ำจากการจับประมาณ ๑.๗๔ ล้านตัน และจากการเพาะเลี้ยง ๐.๙๑ ล้านตัน รวม ๒.๖๕ ล้านตัน ซึ่งหากคิดเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มีมูลค่า ๑๑๑,๓๔๓ ล้านบาท คิดเป็น ๙.๒๘% ของ GDP ภาคเกษตร หรือ ๐.๗๘% ของ GDP รวมของ ปท. สำหรับพื้นที่ จชต. แล้ว อก. ประมงเปรียบเสมือนเป็น “เส้นเลือดใหญ่” ของ ศก. จชต. เลยทีเดียว
ตามรายงานข่าว นสพ. ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ ๒๑ ม.ค. ๖๔ เสนอข่าวเรื่อง “วันทำประมงหมด”ลามธุรกิจเจ๊ง๖ แสนล้านบาท ตกงานพุ่ง
และสืบเนื่องจากคอลัมน์เรื่อง “มาตรการรักษาทรัพยากรประมง มซ.” ที่เสนอไปเมื่อ ๒๓ ม.ค. นั้น มีผู้อ่านทางบ้านคือ คุณอันน์เกตุ ลีลาไพบูลย์ นายกสมาคมประมงปัตตานี ได้ส่ง จม. มาร่วมแสดงความเห็นเกี่ยวกับปัญหาประมงของไทย (นายกสมาคมประมงปัตตานี รูป ๒)
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ จึงขอนำเสนอความเห็นของนายกสมาคมประมงปัตตานีต่อการแก้ปัญหาประมง โดย ขณะนี้ ชาวประมง จ. ปัตตานีกำลังประสบปัญหา เนี่องจาก
๑. จากการที่ รบ. บังคับให้ชาวประมงทำประมงได้ ๒๔๐ วัน/ปี ซึ่งเทียบกับ ๑๒ เดือนคือ ทำได้แค่ ๘ เดือนแต่ต้องทำสัญญาจ้างกับ รง. ๑๒ เดือนโดยจ่ายเป็นเงินเดือนและใน ๘ เดือนที่ทำนั้น ก็ไม่สามารถทำการประมงได้ทุกวัน เนื่องจากเวลาออกทะเลไปเกิดคลื่นลม ก็ไม่สามารถทำการประมงได้.
ขณะนี้ วันทำการประมงของเรือประมงส่วนใหญ่หมด ซึ่งกว่าจะเริ่มปีการประมงใหม่ในระยะเวลาข้างหน้าอีก ๒ เดือน ยิ่งทำให้ชาวประมงเริ่มขาดทุนซ้ำซ้อนเข้าไปอีก ในปีการประมงปี ๖๔ คาดว่าจำนวนชาวประมงจากที่เคยทำการประมงในปี ๖๓ จะลดจำนวนลงมาก (การบริหารจัดการประมงไทย รูป ๓)
การแก้ไขปัญหาของ รบ. ด้วยการเปิดให้ควบรวมเรือเป็นการดำเนินตามนโยบายลดเรือประมง การควบรวมนั้นหมายถึงเรือที่เอาวันทำการประมงของเรือลำนั้นมาเพิ่มให้เรือที่ทำการประมงอยู่อีกลำหนึ่ง โดยเรือลำที่ให้วันทำการประมงไปแล้วจะต้องถูกถอนใบอนุญาตและไม่สามารถกลับมาเป็นเรือประมงได้อีกต่อไป และอีกกลุ่มหนึ่งคือผู้ประกอบการที่มีเรือลำเดียวไม่มีเงินไปซื้อเรือคนอื่นมาควบรวม เรือต้องจอด จึงหมดทางหารายได้เลี้ยงครอบครัว แต่ต้องแบกภาระรายจ่ายมหาศาลจากกฎระเบียบที่รัฐกำหนดสำหรับอาชีพประมง เพราะแม้เรือจะไม่ได้ออก ก็ต้องจ่ายเงินเดือนให้แรงงาน คนมีรายได้ทางเดียวอย่างผู้ประกอบการประมงจะทำอย่างไร เรือไม่ออก ก็ไม่มีรายได้ (ประมงไทยปรับอย่างไร ภายใต้เงื่อนไข IUU Fishing รูป ๔)
๒. ปัญหาเรื่อง รง. ซึ่งเดิมมีอยู่แล้วและจากสถานการณ์โควิด รง. ที่กลับไปแล้วไม่สามารถกลับเข้ามาได้ และการที่ภาครัฐไม่ช่วยให้ รง. ภายใน ปท. หันมาทำการประมงได้นั้น ยิ่งทำให้อาชีพนี้ต้องหมดไป ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ หากเรือต้องจอดอีกเพราะหมดวันทำการประมง ยิ่งเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ (การแก้ไขปัญหาการประมงผิด กม. อย่างเร่งด่วน รูป ๕)
๓. ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการทำเรือประมง เพิ่มมากขึ้นจากกฎระเบียบและเงื่อนไขต่างๆ เกินความจำเป็น (ปลดใบเหลืองประมงไทย อย่าเพิ่งดีใจ แค่เริ่มต้น... รูป ๖)
๔. เรียกร้องให้ภาครัฐเร่งสร้างอาชีพใหม่จากการอาชีพประมงที่ต้องหมดไป หากภาครัฐยังยืนยันใช้นโยบายลดเรือ ก็ต้องสร้างหรือหาอาชีพอื่นมาทดแทนให้ชาวประมง
พร้อมกันนี้ นายกสมาคมประมงปัตตานี ได้เสนอให้ รบ. พิจารณาแก้ปัญหาแก่ชาวประมง จ. ปัตตานี ดังนี้
๑) การนำเรือออกนอกระบบเพื่อนำไปสร้างแลนด์มาร์คในทะเล ด้วยการใช้เงื่อนไขพื้นที่พิเศษของ จชต. เพื่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ชักจูงให้คนจาก จ. ใกล้เคียงมาท่องเที่ยว และสร้างงานให้คนใน จ. ได้มีงานทำมากขึ้น ไม่เป็นภาระของทางราชการ เปลี่ยนคนจับปลาเป็นคนสอนให้ผู้สนใจจับปลา สอนคนขับเรือ พาคนเที่ยว เป็นต้น (๔ ปีแห่งความพยายามปลดใบเหลือง IUU รูป ๗)
๒) การนำเรือ มซ. เข้ามาซ่อม เพื่อสร้าง ศก. ใน จ.ปัตตานี ให้เป็นคานเรือนานาชาติ และช่วยสร้างงานให้ประชาชนใน จ. พ้นจากความยากจน คนงานมีฝีมือจะได้ไม่เดินทางออกไปหางานนอก จ.
๓) เปิดขึ้นทะเบียน รง. ต่างด้าวภาคอาชีพประมงตลอดปีเฉพาะพื้นที่ จ.ปัตตานี เป็นเงื่อนไขเฉพาะพื้นที่ปัตตานี เรือประมงที่มีแรงงานชุดนี้ไม่สามารถนำเข้าไปใน จ. อื่นได้
๔) เงื่อนไขพิเศษใน จ.ปัตตานี กม.พิเศษประมงทะเล แบ่งวาระเป็นข้อๆ ตามกำหนดเขต ศก. พิเศษ ได้แก่ (๑)เรื่องการแจ้งเข้า-ออก แค่ครั้งเดียว การเคลื่อนย้ายเรือในคลองไม่ต้องแจ้ง (๒) ขึ้นแรงงานบัตรชมพูเฉพาะใน จ.ปัตตานีตลอดปี (๓) ตั้ง คกก. วินิจฉัยมาตราการคำสั่งโดยมีตัวแทนสมาคมประมงเข้าไปมีส่วนร่วม (ปกติไม่มีตัวแทนชาวประมง)
๕) ปรับระบบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ เช่น การเสียภาษีที่ดิน ภาษีโรงเรือน ค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ใน จชต.
๖) เสนอให้มีเงินกู้ดอกเบี้ย ๑.๕% สำหรับคนใน ๓ จ. พื้นที่ ศก. พิเศษ
๗) ส่งเสริมผู้กำลังจะพ้นโทษให้มีงานทำในเรือประมง โดยก่อนพ้นโทษได้มีโอกาสอบรมฝึกทักษะอาชีพประมงทะเล เช่น ซ่อมอวน ซ่อมเครื่องเรือเบื้องต้น เป็นต้น
นี่เป็นเสียงสะท้อนความเห็นของนายกสมาคมการประมงปัตตานี ที่เรียกร้องขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ รบ. ให้ความช่วยเหลือแก้ปัญหาที่ชาวประมงประสบในขณะนี้ ซึ่งสมาคมการประมงปัตตานีได้เคยเสนอให้คณะ กรรมาธิการรัฐสภาพิจารณาให้การช่วยเหลือ และปัญหาบางส่วนได้รับการแก้ไขไปในระดับหนึ่งแล้ว

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ