เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 3 ก.พ. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 272 view

เช้านี้ ไม่มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๒ ก.พ. ๖๔
วันที่ ๑ ก.พ. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๔,๒๑๔ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๕๗ คน รัฐตรังกานู ๓๘ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๒๑๙,๑๗๓ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๗๗๐ คน (เพิ่มขึ้น ๑๐ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) มซ. จะมีการประชุมในวันนี้ (๒ ก.พ.) เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการต่อระยะเวลาการบังคับใช้มาตรการควบคุมการสัญจร (Movement Control Order - MCO) ทั่ว ปท. โดยมี นรม. มซ. เป็นประธาน กปช. ทั้งนี้ รมต. อาวุโสด้านความมั่นคง ได้แจ้งว่า การพิจารณาต่อระยะเวลา MCO จะต้องมีความสมดุลระหว่างการควบคุมการแพร่เชื้อฯ กับการดำเนินกิจกรรมด้าน ศก. และการใช้ชีวิตประจำวันของ ปชช.
ด้านปลัด สธ.มซ. ให้สัมภาษณ์สื่อว่า มซ. จะได้รับวัคซีนชุดแรกจาก บ. Pfizer ในวันที่ ๒๖ ก.พ. ๖๔ และคาดว่าจะสามารถจัดส่งไปยังรัฐต่างๆ ได้ภายใน ๑-๒ สัปดาห์
ว่ากันว่า เทคโนโลยีดิจิทัลจะเป็นพลังขับเคลื่อน ศก. หลังโควิด ซึ่งเรียกกันว่า “ยุคดิจิทัล” และ มซ. เป็นชาติหนึ่งที่เล็งเห็นโอกาสและฝันที่จะพัฒนา ศก. ดิจิทัล เช่นกัน
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง “ มซ. ฝันเป็นฮับดิจิทัลของอาเซียน” ตามรายงานของ นสพ. Berita Harian ฉบับวันที่ ๑ ก.พ. ๒๐๒๑ (Malaysian Digital Hub รูป ๒)
บ. Malaysian Digital Economy Corporation ของ มซ. (MDEC) มองว่า ธุรกิจดิจิทัลเป็นภาคส่วนที่เติบโตอย่างรวดเร็วใน ปท.ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อขยายการดำเนินงาน โดยเฉพาะในภาคการเงินดิจิทัลอิสลาม นอกจากนี้
creative content (การสื่อสารข้อมูลถึงลูกค้าเพื่อการตลาดออนไลน์) และเกมหรือ 'เกมมิ่ง (gaming)' ก็เป็นหนึ่งในสาขาที่ MDEC จะได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพื่อทำให้ มซ. เป็น “ฮับดิจิทัล” ของอาเซียน (MDEC รูป ๓)
Surina Shukri, CEO. บ. MDEC กล่าวว่า มซ. มีศักยภาพในการพัฒนา ศก. ดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับภาคส่วนนี้ และจะเป็นผู้บุกเบิกในภูมิภาค โดยพิจารณาจากความสามารถในสาขาที่เกี่ยวข้อง
มซ. ถูกมองว่าเป็น ปท. อาเซียนชั้นนำในภาคส่วนนี้ จึงเป็นโอกาสดีที่จะใช้ประโยชน์จากความสามารถดังกล่าว เพื่อสร้างแนวคิดที่แข็งแกร่งในภูมิภาคต่อไป ตัวอย่างเช่น มซ. มีขีดความสามารถเป็นที่ยอมรับทั่วโลกในภาคการเงินอิสลาม และยังมี บ. ที่เด่นในการผลิต creative content ซึ่งได้รับการรับรองระดับภูมิภาค (Digital Transformation รูป ๔)
"ในความเป็นจริง ภาคเกมดิจิทัลใน มซ. เติบโตอย่างรวดเร็วเช่นกัน จึงเป็นโอกาสให้ บ. ได้สำรวจสาขานี้ ซึ่งจะส่งผลให้ ศก. ดิจิทัลเติบโตเร็วขึ้นในอนาคต"
Surina กล่าวว่า MDEC จะเพิ่มความคล่องตัว (streamline) ให้กับฮับดิจิทัลของ มซ. ในปีนี้ เพื่อให้ บ. สตาร์ทอัพได้รับประโยชน์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสทางธุรกิจและการเติบโตในระดับโลก ด้วยการรวมสิ่งจูงใจในการลงทุนกับบรรยากาศทางธุรกิจที่กว้างขึ้น ซึ่งมุ่งเน้นที่ความสามารถในการแข่งขัน ประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดย มซ. จะเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ สำหรับธุรกิจและนักลงทุนที่ต้องการเข้าสู่ตลาดอาเซียนและเอเชีย (อก.อุปกรณ์ดิจิทัล รูป ๕)
"โครงการริเริ่ม Global Testbed ที่เปิดตัวในเดือน ต.ค. ๒๐๑๙ มีขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากโอกาสในภาคส่วนย่อย ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่า ๑๒๗ พันล้านเหรียญสหรัฐ (๕๑๓.๔๗ พันล้านริงกิต) ภายในปี ๒๐๒๕
เรายังเห็นระบบนิเวศ (ecosystem) ของ บ. เทคโนโลยีใน มซ. ที่เป็นสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงสามารถมีบทบาทผลักดันเป้าหมายของ ปท. ให้กลายเป็นฮับดิจิทัลของอาเซียนได้ จากข้อมูลของ Startup Genome ระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ มซ. มีมูลค่า ๑๕ พันล้านเหรียญสหรัฐ (๖๐.๖๕ พันล้านริงกิต) สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ ๑๐,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ (๔๐.๔๓ พันล้านริงกิต) และอยู่ในอันดับที่ ๑๑ ของโลกในระบบนิเวศของเทคโนโลยีสตาร์ทอัพ" เขากล่าว
เมื่อปีที่แล้ว MDEC ได้ช่วย บ. เทคโนโลยีในท้องถิ่นมากกว่า ๓๐ แห่งในการระดมทุนผ่านช่องทางอื่น ซึ่งรวมถึงการระดมทุนเพื่อการถือหุ้นจำนวนมาก (ECF) และการจัดหาเงินทุนดิจิทัลแบบเพียร์ทูเพียร์ (peer-to-peer : P2P คือ ธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล ด้วยการให้สินเชื่อระหว่างผู้ให้กู้กับผู้กู้ ผ่านแพลตฟอร์มบนอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางอย่างธนาคารนั่นเอง)
หลาย บ. ได้รับประโยชน์รวมถึง ReGov Technologies (บล็อคเชนของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI) และ Pentaip (บ. ฟินเทคที่ใช้วิธีการลงทุนหรือ investment solutions โดยอาศัย AI) และ รบ. ยังเสนอเงิน ๑.๕๗ พันล้านริงกิต ผ่านโครงการริเริ่ม National Generator Fund เพื่อกระตุ้น บ. เทคโนโลยีในท้องถิ่น ด้วยความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อปรับปรุงวิธีการ (solution) ของพวกเขา
ด้านการลงทุน Surina กล่าวว่า มซ. กลายเป็นหนึ่งใน ปท. ที่มีความสามารถในการแข่งขัน และเป็นจุดหมายปลายทางที่นักลงทุนสนใจ หลังโควิด-๑๙ (ธุรกิจฟินเทค รูป ๖)
จากรายงานการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของโลกที่เผยแพร่โดย Institute of Development Management (IMD) มซ. อยู่ใน ๑๐ อันดับแรกในแง่ของความสำเร็จทาง ศก.
"เราเห็นว่า MDEC National Big Data Analysis Framework สามารถช่วยสร้างระบบนิเวศการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทาง ศก. ในทุกภาคส่วนบนฐานข้อมูล และในช่วงเดือน ม.ค. – มิ.ย. ๒๐๒๐ มซ. ดึงดูดการลงทุนมากกว่า ๒๖๐ ล้านริงกิต ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลเกือบ ๒,๐๐๐ คน และสร้างรายได้มากกว่า ๒๕๐ ล้านริงกิต รวมทั้งสร้างมูลค่าการส่งออกเกือบ ๑๖๐ ล้านริงกิต” เขากล่าว (ธุรกิจ E-Commerce รูป ๗)
นี่คือศักยภาพของการพัฒนา อก. ดิจิทัลของ มซ. โดย มซ. ได้รับจัดอันดับเป็น ๑ ใน ๑๐ ของ ปท. ที่มีความสามารถในการแข่งขันของโลก มีนโยบายเร่งส่งเสริม อก. ดิจิทัล เพื่อสานฝัน “ฮับดิจิทัลของอาเซียน” ในยุค ศก.ดิจิทัล ที่น่าสนใจ

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ