เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 8 ก.พ. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 268 view

เช้านี้ มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๓ ก.พ. ๖๔ จำนวน ๕ คน
วันที่ ๒ ก.พ. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๓,๔๕๕ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๓๑ คน รัฐตรังกานู ๑๑๕ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๒๒๒,๖๒๘ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๗๙๑ คน (เพิ่มขึ้น ๒๑ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
เมื่อวานนี้ (๒ ก.พ.) รบ. มซ. ได้ประกาศขยายระยะเวลาบังคับใช้มาตรการควบคุมการสัญจร (Movement Control Order: MCO) ทั่ว ปท. (ยกเว้นรัฐซาราวัค) ออกไปอีก ๒ สัปดาห์ จนถึงวันที่ ๑๘ ก.พ. ๖๔ (จากเดิมถึงวันที่ ๔ ก.พ.๖๔) เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอัตราของการติดเชื้อยังคงสูงอยู่
สตช. มซ. ได้ออกมา ปชส. เตือน ปชช. ว่า หลังวันที่ ๔ ก.พ. ๖๔ จนท. ตร. และทหารที่ได้รับมอบหมายให้สอดส่องการปฏิบัติตาม SOP ภายใต้มาตรการ MCO จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้มงวดและเด็ดขาด โดยหากพบผู้กระทำผิดจะดำเนินการทาง กม. ในทันที รวมทั้งจะมีการตั้งจุดตรวจเพิ่มขึ้นในรัฐต่างๆ ทั่ว ปท.
ในยุคดิจิทัล หากมนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จาก “ฐานข้อมูลใหญ่ (Big Data)” โลกจะเปลี่ยนดัง “พลิกพสุธา” จึงถือเป็นการปฏิวัติ อก. คลื่นลูกที่ ๔ (Industrial Revolution : IR 0.4)
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง “เจาะลึก Cloud Computing” เทคโนโลยีข้อมูลของ Big Data
จากเดิมที่ บ. ต่างๆ เก็บข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ ต้องซื้อฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ จ้างฝ่ายไอทีเป็น พนง. ประจำคอยดูแล แต่ยุคดิจิทัลเปลี่ยนไป เป็นการจ่ายเงินเพื่อใช้งาน Cloud Computing ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีคอยดูแลอยู่หลังบ้าน (เจาะลึก Cloud Computing รูป ๒)
ก้อนเมฆที่ใครๆ ก็พูดถึง Cloud Computing คือ ระบบเก็บข้อมูลและประมวลผลระบบสารสนเทศบนเครือ ข่ายอินเทอร์เน็ต (เปรียบได้กับการเก็บข้อมูลไว้บนก้อนเมฆ) สามารถดึงข้อมูลออกมาใช้งานได้ตลอดเวลาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต Cloud Computing จึงเป็น กลุ่ม Megatrend ที่กำลังเปลี่ยนโลกและจะสามารถข้ามผ่านทุกสภาวะ ศก. ได้ (What is Cloud Computing ? รูป ๓)
“Cloud” กลุ่มก้อนเมฆที่มองเห็นได้จากทุกมุมโลกและพบเจอได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เปรียบเสมือนลักษณะการให้บริการของกลุ่มธุรกิจ Cloud Computing อันเป็นเทคโนโลยีที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากขึ้นอย่างมหาศาลและยังสามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยไม่ว่าผู้ใช้บริการจะอยู่มุมไหนของโลกและจะเป็นเวลาใด ขอเพียงแค่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ก็สามารถใช้บริการ Cloud Computing ได้
Cloud Computing ให้บริการทั้ง Hardware และ Software ครอบคลุมการให้ใช้บริการระบบประมวลผล หน่วยจัดเก็บข้อมูล และระบบออนไลน์ต่างๆ สามารถช่วยลดความยุ่งยากของธุรกิจในการติดตั้ง การดูแลระบบ อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลา และช่วยลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเอง (ตัดสินนโยบายบนข้อมูลคลาวด์ รูป ๔)
ความพิเศษของ Cloud Computing คือ ผู้ใช้บริการสามารถเลือกใช้บริการได้มากน้อยตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นกำลังการประมวลผล หรือความจุของข้อมูล โดยเสียค่าบริการตามจำนวนการใช้งาน เรียกได้ว่าสามารถ customize ได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน และยังสามารถเข้าใช้บริการได้ทุกวันและตลอดเวลาแบบร้านสะดวกซื้อ 7-11 เลยทีเดียว เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้บริการ Cloud Computing ได้แล้ว จึงทำให้กลุ่มธุรกิจต่างๆ รวมถึงผู้ใช้งานรายบุคคลหันมาใช้บริการจาก Cloud Computing มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ลองนึกถึงอีเมลที่ใช้งานอยู่ การแบ็คอัพหรือสำรองข้อมูลในสมาร์ทโฟนไว้บน iCloud, Google Drive เหล่านี้คือ คลาวด์ที่ใกล้ตัวเรามากๆ แต่นี่เป็นเพียงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Cloud Storage) หนึ่งในบริการของระบบคลาวด์เท่านั้น ซึ่งหลากหลายแบรนด์ก็ให้ใช้งานฟรีในปริมาณที่แตกต่างกันไป (‘คลาวด์’ ๓ แบบ รูป ๕)
- ผู้ใช้ไอโฟน ไอแพด มี Apple ID ก็จะมี iCloud ให้ใช้ฟรี 5GB โดยสามารถอัพโหลดข้อมูลและแบ็คอัพข้อมูล เช่น รายชื่อผู้ติดต่อ รูปภาพ ไฟล์งาน แอพพลิเคชัน ขึ้นไปเก็บไว้ได้ เมื่อเปลี่ยนเครื่องก็ Sign in เรียกข้อมูลที่แบ็คอัพไว้เพื่อใช้ในเครื่องใหม่ได้ทันที
- ผู้ใช้สมาร์ทโฟนระบบแอนดรอยด์หรือมี Gmail ก็จะมี Google Drive ให้ใช้งานฟรี โดยได้พื้นที่อีเมลละ 15GB นอกจากนี้ Google ยังมีแอพพลิเคชัน Google Photos ให้เก็บหรือถ่ายโอนรูปภาพจากสมาร์ทโฟนไปไว้บนคลาวด์ได้ฟรี โดยไม่จำกัดพื้นที่ (แยกพื้นที่เก็บจาก Google Drive)
- ผู้ใช้ Windows Phone หรืออีเมลของ Hotmail, Outlook ก็จะมี OneDrive ของ Microsoft ให้ใช้ฟรี 1TB ฯลฯ
คราวนี้มารู้จักกับ ๓ รูปแบบของ ‘คลาวด์’ (Source : www.dynamixsolutions.com)
๑) คลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) ผู้ให้บริการ (Third-Party) จัดตั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไว้ให้ใช้เก็บข้อมูลจำนวนมาก ผู้ใช้งานสามารถใช้บริการผ่าน Web Application/Web Service โดยเช่าใช้เป็นรายเดือน/รายปี
๒) คลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) ตอบโจทย์การแชร์ข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย (Cloud Data Center) โดยผู้ให้บริการมีหน้าที่ติดตั้งระบบ/ดูแลรักษา ส่วนผู้ใช้งานเป็นผู้จัดเตรียมฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และบริหารจัดการระบบ
๓) ไฮบริด คลาวด์ (Hybrid Cloud) รูปแบบการใช้งานในลักษณะลูกผสมระหว่างสาธารณะและส่วนตัว ซึ่งองค์กร (Enterprise) ส่วนใหญ่ก็จะนิยมใช้รูปแบบนี้เนื่องจากมีความยืดหยุ่น
คลาวด์กับ ๕ ประเภทงานบริการที่แตกต่าง (Source : www.researchgate.net) (การใช้ข้อมูลคลาวด์ในธุรกิจ รูป ๖)
๑. Infrastructure-as-a-Service (IaaS) ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบจัดเก็บข้อมูลโดยจำลอง
รูปแบบเสมือน (Virtualization) รองรับการประมวลผลเพื่อใช้งานซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชัน
๒. Platform-as-a-Service (PaaS) ให้บริการด้านแพลตฟอร์มสำหรับซอฟต์แวร์ เช่น Web Application, ระบบประมวลผลกลางขององค์กรขนาดใหญ่ (Database Server) โดยเรียกใช้งานได้ผ่านเว็บแอพพลิเคชัน และมีการควบคุมด้านความปลอดภัยสูง
๓. Software-as-a-Service (SaaS) ให้บริการคลาวด์ที่เป็นซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชัน คิดค่าบริการตามลักษณะการใช้งาน (Pay-as-you-go) เช่น จำนวนผู้ใช้ ปริมาณที่ใช้ ระยะเวลาที่ใช้
๔. Data-as-a-Service (DaaS) ให้บริการด้านการเก็บข้อมูลดิบหรือข้อมูลที่ใช้เชื่อมโยงเพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อ โดยรองรับการสืบค้นและการจัดการข้อมูลขั้นสูง
๕. Business Process-as-a-Service (BPaaS) เป็นคลาวด์ที่ให้บริการด้าน ‘การปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ’ วัดผลทางธุรกิจได้ และยังสามารถเรียนรู้ได้ด้วยว่า สถานการณ์ใดที่เป็นประโยชน์ต่อ บ. สถานการณ์ใดที่มีความเสี่ยงและควรหลีกเลี่ยง (คลาวด์กับงาน ๕ ประเภท รูป ๗)
ในการประชุม World Economic Forum (WEF) เสมือนจริง จัดที่เมือง Davos สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อ ๒๕ ม.ค. ๖๔ ปธน. สีจิ้นผิง ของจีนได้เสนอ “Cloud Diplomacy” โดยจีนพร้อมสนับสนุนเทคโนโลยี Cloud Computing ในการต่อสู้โควิด
จีนเป็น ปท. หนึ่งที่มีความก้าวหน้าในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Cloud Computing ในการแก้ปัญหาต่างๆ ของสังคม โดยเฉพาะการแก้ปัญหาความยากจนในหลายพื้นที่ของจีน อาทิ มณฑลกุ้ยโจว (贵州省) ซึ่งจีนใช้ Big Data และ Cloud Computing ในการลดจำนวนคนจนได้ถึง ๖.๗ ล้านคนภายใน ๕ ปี
โปรดติดตามตอนต่อไปที่จะเสนอเรื่องราวของเทคโนโลยี Cloud Computing และ Big Data ที่สามารถใช้ประโยชน์ในการลดความยากจนและต่อสู้โควิดในยุคดิจิทัลนี้

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ