วันที่นำเข้าข้อมูล 21 ม.ค. 2564
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 23 พ.ย. 2565
เช้านี้ ไม่มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๒๑ ม.ค. ๖๔
วันที่ ๒๐ ม.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๔,๐๐๘ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๑๒๑ คน รัฐตรังกานู ๘๑ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๑๖๙,๓๗๙ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๖๓๙ คน (เพิ่มขึ้น ๑๑ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
เรื่องเล่าด่านรันตู วันนี้ขอเสนอเรื่อง “มซ. จะฟ้อง WTO เรื่องสหภาพยุโรปรณรงค์ต่อต้านน้ำมันปาล์ม” เป็นตอนที่ ๒ ต่อจากบทความเมื่อวันที่ ๑๘ ม.ค. ๖๔
รมต. อก. เพาะปลูกและสินค้าโภคภัณฑ์ Dr. Mohd Khairuddin แถลงว่า มซ. ได้เริ่มดำเนินการทาง กม. กับสหภาพยุโรป (EU) ที่ได้รณรงค์ต่อต้านน้ำมันปาล์ม โดย ก. อก. เพาะปลูกฯ ได้ร่วมกับ สน. อัยการสูงสุดและ ก. การค้าระหว่างประเทศและ อก. (MITI) เริ่มดำเนินการทาง กม. กับสหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกคือฝรั่งเศสและลิทัวเนีย โดยยื่นคำร้องเพื่อขอคำปรึกษาผ่านกลไกการระงับข้อพิพาท (Dispute Resolution Mechanism : DSM) ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) (รมต. Khairuddin รูป ๒)
การดำเนินการทาง กม. เป็นการตอบโต้มาตรการที่สหภาพยุโรปและ ปท. สมาชิก กำหนดให้ดำเนินการตาม “กฎระเบียบที่ได้รับมอบหมายภายใต้ European Union Renewable Energy Directive 2018/2001 (EU RED II)” เกี่ยวกับการกำหนดการใช้พลังงานทดแทน เช่น ไบโอดีเซล ซึ่งส่งผลกระทบต่อ อก. น้ำมันปาล์มของ มซ. (Palm Oil Trade รูป ๓)
ทั้งนี้ มซ. ได้ดำเนินตามมาตรการต่างๆ รวมถึงการถือปฏิบัติภารกิจทาง ศก. และเทคนิค ที่มีต่อสหภาพยุโรป ตลอดจนให้ผลตอบสนองเกี่ยวกับการดำเนินการตาม EU RED II
อย่างไรก็ตาม สหภาพยุโรปจะยังคงดำเนินการตาม EU RED II โดยไม่คำนึงถึงความมุ่งมั่นและมุมมองของมซ. ซึ่งการดำเนินการตาม EU RED II ได้จัดให้น้ำมันปาล์มเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเปลี่ยนแปลงทางอ้อมในการใช้ที่ดิน (indirect land use change : ILUC)
สิ่งนี้จะส่งผลให้การใช้น้ำมันปาล์มเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพในสหภาพยุโรป ไม่ถือเป็นพลังงานหมุนเวียนและเป็นการสร้างข้อจำกัดทางการค้าที่ไม่มีเหตุผลต่อ อก. น้ำมันปาล์มของ มซ. (ป้ายให้ยุติดูแคลนน้ำมันปาล์ม รูป ๔)
รมต. Khairuddin กล่าวว่าการกระทำของสหภาพยุโรปขัดกับหลักการค้าเสรีของ WTO คดีนี้แสดงให้เห็นถึงความจริงจังของ รบ. มซ. ในการปกป้องผลประโยชน์ อก. น้ำมันปาล์มของ มซ. ต่อนโยบายของสหภาพยุโรป
มซ. หวังว่า WTO โดยหน่วยงานระงับข้อพิพาท DSM จะสามารถตรวจสอบและคัดกรองข้อโต้แย้งและหลักฐานของ มซ. อย่างยุติธรรมและเสมอภาคตามหลักการทาง กม. ของ WTO (EU กับน้ำมันปาล์ม รูป ๕)
ในเวลาเดียวกัน มซ. จะเป็นบุคคลที่ ๓ ในการดำเนินการทาง กม.ที่ อซ. ยื่นฟ้องสหภาพยุโรปผ่านกลไก DSM ใน WTO ด้วยเช่นกัน การมีส่วนร่วมของ มซ. มีความสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันต่อ ปท. ผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน (การแผ้วป่าปลูกปาล์ม รูป ๖)
รมต. Khairuddin กล่าวว่า แม้มีการใช้มาตรการ MCO แต่ รบ.มซ. อนุญาตให้มีการทำงานในพื้นที่สวนปาล์มได้ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ อก. น้ำมันปาล์มของ ปท. ซึ่งมีส่วนอย่างมากในการพัฒนา ศก. และสังคมของ ปท.”
และเมื่อเร็วๆ นี้ มซ. ก็มีปัญหากับสหรัฐฯ เรื่อง “น้ำมันปาล์ม” ซึ่งถูกสหรัฐฯ แบนด้วยข้อหาการบังคับใช้ รง. โดยลำดับเหตุการณ์ได้ ดังนี้ (ลิงอุรังอุตังใกล้สูญพันธุ์ รูป ๗)
วันที่ ๓๐ ก.ย. ๖๓ สหรัฐฯ โดย สนง. ศุลกากรและการป้องกันพรมแดน (US Customs and Border Protection (CBP) สั่งห้ามนำเข้าน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มจาก บ. FGV Holdings Bhd. ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยสหรัฐฯ อ้างถึงผลจากการสอบสวน ที่พบว่า มีการบังคับใช้ รง. การทารุณกรรม รง. การหลอกลวง การข่มขู่คุกคาม และความรุนแรงทางกายและทางเพศใน บ. ดังกล่าว
ต่อมาวันที่ ๓๑ ธ.ค. ๖๓ น้ำมันปาล์มจาก บ. Sime Darby ถูกสหรัฐฯ ห้ามนำเข้า ด้วยข้อกล่าวหาว่า มีการบังคับใช้แรงงาน โดยทั้ง ๒ รายข้างต้น เป็น บ. ผู้ผลิตส่งออกน้ำมันปาล์มชั้นนำของ มซ.
มซ. จึงตกในสภาพที่ถูกกดดันจาก ๒ ด้าน คือ น้ำมันปาล์มของ มซ. ถูกสหภาพยุโรปแอนตี้ ด้วยข้อกล่าวหาเป็นต้นเหตุของการทำลายระบบนิเวศป่าไม้ ขณะเดียวกัน ก็ถูกสหรัฐฯ กล่าวหาว่า มีปัญหาการบังคับใช้ รง.
จากสถานการณ์ข้างต้น ไทยควรกำหนดยุทธศาสตร์ อก. ปาล์มน้ำมันที่ชัดเจน เพื่อเพิ่มส่วนแบ่ง “เค็ก” ตลาดน้ำมันปาล์มที่เติบโต โดยเพิ่มการผลิตปาล์มน้ำมัน กระจายความเสี่ยงด้านสินค้า กษ. ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่เป็นดินเสื่อมโทรม ดินพรุ โดยไม่ให้เป็นการบุกรุกถางป่า ท่านผู้อ่านลองมโนภาพ หากมีสวนปาล์ม ๒ ข้างทาง ถ. หมายเลข ๔๑๘ เชื่อว่า จะเปลี่ยนภาพลักษณ์ของ จชต. ได้อย่างสิ้นเชิง (สวนปาล์ม ๒ ข้างทาง รูป ๘)
ปัจจุบัน ไทยมีภาพลักษณ์การผลิตน้ำมันปาล์มที่ดี ไม่มีปัญหาบุกรุกพื้นที่ป่าหรือป่าพรุรุนแรง แต่ถ้าคนไทยยังคงนิ่งเฉย ไม่สนับสนุนน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนตอนนี้ ไทยอาจมีภาพลักษณ์ที่แย่เหมือน อซ. หรือ มซ. ก็ได้
ไทยมีเกษตรกรผลิตปาล์ม ๒.๔ แสนครัวเรือน โดย ๗๙% เป็นเกษตรกรรายย่อย พื้นที่ปลูกและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบส่วนใหญ่อยู่ภาคใต้ (กระบี่ สุราษฏร์ธานี ชุมพร) คิดเป็น ๘๖.๔% ของพื้นที่ปลูกปาล์มทั่วประเทศ
ทุกวันนี้ น้ำมันปาล์มที่ผลิตตามมาตรฐาน RSPO ทั่วโลกมีสัดส่วนเพียงแค่ ๑๙% เท่านั้น โดยไทยมีเกษตรกรที่สามารถปลูกปาล์มยั่งยืนน้อยกว่า ๑% กล่าวได้ว่า เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักและขาดความรู้เรื่องการปลูกปาล์มยั่งยืน
การกำหนดยุทธศาสตร์ อก. ปาล์มน้ำมัน ในฐานะ ปท. ผู้ผลิตจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากวิธีแก้ปัญหาน้ำมันปาล์มที่อาศัยกลไกตลาดเพียงอย่างเดียวนั้นไม่ยั่งยืน โดย คกก. น้ำมันปาล์มแห่งชาติ (กนป.) สนง. มาตรฐานสินค้า กษ. และอาหารแห่งชาติ (มกอช.) สนง.มาตรฐานผลิตภัณฑ์ อก. ควรเร่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรและ อก. ผู้ผลิตในห่วงโซ่อุปทานอย่างจริงจัง เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มในไทยให้ได้มาตรฐานสากล และลดผลกระทบเชิงลบต่อระบบนิเวศของป่า
นี่คือ รายงานต่อต้านการนำเข้าน้ำมันปาล์มของสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ซึ่งต้องติดตามว่า การฟ้องต่อ WTO เรื่องสหภาพยุโรปรณรงค์ต่อต้านน้ำมันปาล์มของ มซ. จะมีผลออกมาอย่างไร
รูปภาพประกอบ