เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 22 มกราคม 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 22 มกราคม 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 24 ม.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 24 พ.ย. 2565

| 185 view

เช้านี้ มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๒๒ ม.ค. ๖๔ จำนวน ๖ คน
วันที่ ๒๑ ม.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๓,๑๗๐ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๑๓๕ คน รัฐตรังกานู ๕๗ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๑๗๒,๕๔๙ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๖๔๒ คน (เพิ่มขึ้น ๑๒ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
เมื่อวานนี้ (๒๑ ม.ค.) รมต. กห. มซ. แถลงว่า มซ. จะขยายระยะเวลาการบังคับใช้มาตรการควบคุมการสัญจร (Movement Control Order : MCO) ใน ๖ รัฐ และ ๓ เขตปกครองพิเศษ (ปีนัง สลังงอร์ ยะโฮร์ ซาบาห์ มะละกา กลันตัน ปุตราจายา กัวลาลัมเปอร์ และลาบวน) ต่อไปอีก ๑ สัปดาห์ จนถึงวันที่ ๔ ก.พ. ๖๔ (จากเดิมที่มีผลตั้งแต่ ๑๓-๒๖ ม.ค. ๖๔)
นอกจากนี้ รบ. มซ. ได้เห็นชอบการขยายเวลาเปิดให้บริการของร้านอาหาร/ร้านขายอาหารแผงลอย/food truck/ธุรกิจที่ขายอาหารต่างๆ จากเดิม ๐๖.๐๐-๒๐.๐๐ น. เป็น ๐๖.๐๐-๒๒.๐๐ น.
หลังจากนายโจ ไบเดน ทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งปธน. คนที่ ๔๖ ของ สรอ. เมื่อวันที่ ๒๐ ม.ค. ผู้นำ ปท.ต่างๆ ได้ส่งสารแสดงความยินดีในการต้อนรับประมุขของโลกคนใหม่ ขณะเดียวกันสายตาของคนทั่วโลกก็จับตาไปที่นโยบายด้าน ศก. ของสหรัฐว่าจะไปในทิศทางใด เพราะโลกต้องการพลังขับเคลื่อนที่สำคัญ เพื่อให้ ศก.โลกหลังโควิดฟื้นตัวโดยเร็ว
เรื่องเล่าด่านรันตู วันนี้ขอเสนอเรื่อง “ไทยจะได้ประโยชน์จากนโยบาย ศก. ของสหรัฐสมัย ปธน. โจ ไบเดนอย่างไร” ตามที่ นสพ. กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ ๒๑ ม.ค. ๖๔ ได้รายงานเรื่อง นโยบาย ‘โจ ไบเดน’ หนุนย้ายฐาน รับอานิสงส์สหรัฐปักหลัก ‘อีอีซี’ (รายงานข่าว รูป ๒)
“โจ ไบเดน” ปธน. สหรัฐคนใหม่ เข้ามารับหน้าที่ในสถานการณ์ที่สหรัฐกำลังเผชิญภาวะวิกฤติโควิด-๑๙ ที่ส่งผลกระทบต่อ ศก. โลกและ ศก. สหรัฐ ในขณะที่นโยบายหลายด้านจะมีส่วนกดดันให้ บ. สหรัฐกลับมาใช้นโยบายออกไปลงทุนนอกประเทศมากขึ้น (‘ไบเดน’ นั่ง ปธน. สหรัฐเป็นทางการ รูป ๓)
ผอ. หลักสูตรวิทยาการการจัดการสำหรับนักบริหารระดับสูง (วบส.) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ กล่าวว่า นโยบายของ “โจ ไบเดน” ปธน. คนใหม่จากพรรคเดโมแครตถือว่ามีพื้นฐานนโยบาย ศก. ระหว่างประเทศที่แตกต่างจาก “โดนัลด์ ทรัมป์” อดีต ปธน. จากพรรครีพลับรีกันอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ ไบเดนจะให้ความสำคัญกับนโยบายการค้า รปท. เพิ่มการส่งออกสินค้า ซึ่งทำให้บรรยากาศการค้าของโลกมีความผ่อนคลายมากขึ้น แม้จะยังมีสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนอยู่ แต่จะมีแนวทางการเจรจาเพื่อให้ทั้ง ๒ ปท. ทำการค้าได้มากขึ้น (พิธีสาบานตน รูป ๔)
ศก. สหรัฐมีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกคือมีสัดส่วนประมาณ ๑๗% ของจีดีพีโลก เมื่อสหรัฐมีการใช้นโยบายกระตุ้น ศก. เน้นการเพิ่มการบริโภคเพื่อฟื้นฟู ศก. ความต้องการสินค้าต่างๆ ในสหรัฐจะมากขึ้น กระตุ้นให้เกิดการผลิตและการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความต้องการนำเข้าสินค้าในสหรัฐมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสของไทยในการส่งออกสินค้าทั้งไปยังสหรัฐฯ และจีน ที่เป็นตลาดส่งออกสินค้าอันดับ ๑ และ ๒ ของไทยได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม นโยบายของ “ไบเดน” ที่จะเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำในสหรัฐ จากเดิมที่ ๗.๒๕ ดอลลาร์/ชม. เป็น ๑๕ ดอลลาร์/ชม. รวมถึงการปรับเพิ่มภาษีนิติบุคคลจาก ๒๑% เป็น ๒๘% จะมีส่วนสำคัญทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิตของบาง อก. ออกจากสหรัฐมากขึ้น (ประวัติ ปธน. โจ ไบเดน รูป ๕)
“หลาย บ. ในสหรัฐจะกลับมาใช้นโยบายออกไปลงทุนภายนอก ปท. มากขึ้น โดยภูมิภาคหนึ่งที่ บ. สหรัฐให้ความสนใจเข้ามาลงทุน คือ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึง ปทท. ทำให้เกิดโอกาสที่จะมีการลงทุนใเขต ศก. พิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี เพิ่มขึ้นด้วย”
นอกจากนี้ โอกาสการเคลื่อนย้ายเงินทุนจากต่างชาติเข้ามายังภูมิภาครวมทั้ง ปทท. ยังมีอยู่มาก เนื่องจาก ธ.กลางสหรัฐยังใช้นโยบายการผ่อนคลายทางการเงิน และอัตราดอกเบี้ยต่ำทำให้มีกระแสเงินทุนที่เข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้มาก โดยการเคลื่อนย้ายของเงินทุนบางส่วนเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินและตลาดทุน แต่อีกส่วนหนึ่งจะเข้ามาลงทุนจริงในภาคการผลิต ซึ่งหากสามารถดึงดูดการลงทุนจาก บ. ขนาดใหญ่ให้เข้ามาลงทุนในไทยได้ ก็จะสร้างโอกาสการเติบโตทาง ศก. ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวให้กับไทย
ช่วงที่ ศก. อยู่ในระยะการฟื้นตัวจากโควิด การลงทุนของภาคเอกชนใน ปท. ยังมีข้อจำกัดและไม่ฟื้นตัวดีนัก นโยบายดึงดูดการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) ถือว่าเป็นนโยบายที่รัฐบาลควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เพื่อที่ว่า ปทท. จะได้มีจุดเด่นในการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ (การปฏิญาณในพิธี รูป ๖)
ทั้งนี้ นโยบายอย่างหนึ่งที่ รบ. ควรจะสนับสนุนให้เกิดขึ้น คือ นโยบาย “Work From Thailand” ซึ่งเป็นนโยบายที่สนับสนุนให้คนต่างชาติในกลุ่มที่มีศักยภาพเข้ามาทำงานและลงทุนใน ปทท. มากขึ้น โดยใช้จุดแข็งของปทท. ส่งเสริมการเป็นฮับการลงทุนของไทยในภูมิภาค ด้วยการใช้ข้อได้เปรียบในการดึงดูด เช่น ความพร้อมของระบบ สธ. โครงสร้างพื้นฐานที่มีความพร้อมกว่าหลาย ปท. ในภูมิภาค ค่าเช่า สนง. และค่าครองชีพที่ต่ำกว่า
สำหรับสิ่งที่ต้องมีการปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อรองรับนโยบาย Work From Thailand คือ โครงสร้างพื้นฐานในด้านการติดต่อสื่อสาร ที่จะต้องเร่งเรื่องของเทคโนโลยี 5G ให้มีความพร้อมที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็วเพื่อรองรับการประชุมทางไกลและการติดต่อออนไลน์แบบเรียลไทม์ ซึ่งหากสามารถทำได้จะสามารถรองรับรูปแบบใหม่ของการทำธุรกิจในอนาคต ที่การเดินทางเพื่อประชุมสัมนาในต่างประเทศจะหายไปประมาณ ๒๐%
“หากไทยมีความพร้อมในเรื่องนี้จะสามารถรองรับการเข้ามาทำธุรกิจ และการลงทุนของต่างชาติได้ ซึ่งการที่ บ. ต่างชาติเข้ามาตั้ง สนง. และใช้ไทยเป็นฐานการทำธุรกิจในระยะยาว จะช่วยสร้างการเติบโตทาง ศก. จากนโยบายนี้ได้” (นโยบาย ปธน. ไบเดน รูป ๗)
สำหรับสถิติการขอรับการส่งเสริมการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติทั้งหมด ที่ยื่นขอระหว่างเดือน ม.ค.- ก.ย. ๖๓ จาก สนง. คกก. ส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้แก่ ๑) ญป. ๑๓๙ โครงการ วงเงิน ๓.๗ หมื่นล้านบาท ๒) จีน ๑๒๙ โครงการ ๒.๑๒ หมื่นล้านบาท ๓) เนเธอร์แลนด์ ๖๒ โครงการ ๑.๗ หมื่นล้านบาท ๔) สป. ๗๖ โครงการ ๑.๒ หมื่นล้านบาท ๕) ไต้หวัน ๓๗ โครงการ ๙,๔๐๐ ล้านบาท ๖) ฮ่องกง ๕๕ โครงการ ๗,๓๐๐ ล้านบาท ๗) สหรัฐ ๓๑ โครงการ ๒,๙๘๑ ล้านบาท ๘) เยอรมัน ๑๓ โครงการ ๒,๗๕๐ ล้านบาท ๙) อซ. ๓ โครงการ ๒,๕๐๐ ล้านบาท ๑๐) กลต. ๑๖ โครงการ วงเงิน ๑,๘๙๐ ล้านบาท
นี่คือ รายงานนโยบาย ศก. สหรัฐภายใต้ ปธน. โจ ไบเดน ที่สนับสนุน บ. สหรัฐย้ายฐานผลิตไป ตปท. ดังนั้นการดึงดูดการลงทุนจากสหรัฐ ไทยควรเร่งปรับตัว และเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสื่อสาร เพื่อจะได้รับอานิสงส์จากนโยบาย ศก. ของสหรัฐดังกล่าวด้วย

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ