วันที่นำเข้าข้อมูล 28 ธ.ค. 2563
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 พ.ย. 2565
เช้านี้ มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๒๘ ธ.ค. ๖๓ จำนวน ๑๘ คน
การแพร่ระบาดโควิดใน มซ. วันที่ ๒๗ ธ.ค. มีสถิติน้อยกว่าเมื่อวาน โดยมียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๑,๑๙๖ คน อยู่ในรัฐกลันตัน ๓๑ คน รัฐตรังกานู ๕ คน และมีผู้ติดเชื้อสะสม ๑๐๕,๐๙๖ คน ผู้เสียชีวิตสะสม ๔๕๒ คน (เพิ่มขึ้น ๑ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
หลังโควิด ปัญหาว่างงานเป็นปัญหาใหญ่ที่ รบ. ทั่วโลกได้ทุ่ม งปม. ช่วยเหลือผู้ตกงาน ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนโครงสร้าง ศก. ให้เข้าสู่ยุคดิจิทัล (digital transformation) ที่ต้องกำหนดทิศทางการพัฒนา ศก. และสังคมในอนาคตด้วย จึงถือเป็นสิ่งท้าทายยิ่ง ดังนั้นนอกจากงบช่วยเหลือจากภาครัฐแล้ว จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชน โดยเฉพาะนายจ้างด้วย
เรื่องเล่าด่านรันตู วันนี้ขอเสนอเรื่อง “มาตรการช่วยเหลือผู้ว่างงานของ มซ.” ตามที่ นสพ. The Star ฉบับวันที่ ๒๗ ธ.ค. ๒๐๒๐ รายงานข่าวเรื่อง “ผู้ว่างงานเกือบ ๑.๕ แสนคนสามารถหางานผ่านโครงการ PenjanaKerjaya”
PenjanaKerjaya เป็นโครงการ “สร้างงาน” ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของแพ็คเก็จกระตุ้น ศก. (Penjana) เพื่อแก้ปัญหาการว่างงาน สืบเนื่องจากผลกระทบของวิกฤตโควิด (ความหมายของ PenjanaKerjaya คือ “สร้างงาน”)
รมช. กระทรวงทรัพยากรมนุษย์ นาย Awang Hashim กล่าวว่า นับตั้งแต่เปิดตัวในเดือน มิ.ย. ภายใน ๖ เดือน โครงการ Hiring Incentive Program PenjanaKerjaya ได้ช่วยให้ผู้ว่างงานได้มีงานทำเกือบ ๑.๕ แสนคน ซึ่งกลุ่มคนดังกล่าวมีทั้งผู้สำเร็จการศึกษาที่ยังว่างงานและผู้ที่เลิกเรียนกลางคัน โดยได้รับการจ้างงานจากนายจ้างจำนวน ๔๗,๐๐๐ คนทั่ว ปท. (รมช. ทรัพยากรมนุษย์ แถลงข่าว รูป ๒)
นับตั้งแต่เริ่มโครงการ มีการจัดงานนิทรรศการ “แนะนำงาน” ที่เรียกว่า PenjanaKerjaya carnivals ขนาดใหญ่ ๑๒ ครั้ง จัดโดยองค์การประกันสังคม (Social Security Organization : SOCSO) หรือภาษามาเลย์ เรียกว่า PERKESO (Pertubuhan Keselamatan Sosial) และตัวแทนของนายจ้างได้เข้าร่วมสัมภาษณ์ผู้สมัคร เพื่อว่าจ้างเติมตำแหน่งงานที่ว่างใน บ. ของตน (ปธ. SOCSO รูป ๓)
“ในจำนวนนี้ ๖ ครั้งเป็นการจัดแนะนำงานในรูปแบบของ “คาร์นิวัลเสมือนจริง (virtual carnivals) ตามสถานที่ต่างๆ ๒๘ แห่ง ขณะที่มีการใช้ ๒๔๒ โปรแกรมสำหรับสัมภาษณ์รายย่อย” (ร่วมนิทรรศการ “แนะนำงาน” รูป ๔)
นรม. มูห์ยิดดิน ได้ประกาศโครงการ PenjanaKerjaya ภายใต้แผนฟื้นฟู ศก. แห่งชาติ โดยใช้มาตรการจูงใจทางการเงินให้แก่นายจ้างเป็นเวลา ๖ เดือน ด้วยการสนับสนุนเงิน ๖๐๐ - ๑,๐๐๐ ริงกิตต่อคนในการว่าจ้างพนักงานหรือผู้ฝึกงานให้เข้าทำงาน และ รบ. ได้จัดสรรงบ ๑๖๐.๖๖ ล้านริงกิตให้กับนายจ้างที่คัดเลือกพนักงานผ่านโครงการ PenjanaKerjaya จนถึง ๒๓ ธ.ค. (MyFutureJobs รูป ๕)
เขากล่าวว่า จะมีการดำเนินมาตรการจูงใจต่อในปี งปม. ๒๐๒๑ โดยได้รับการจัดสรรงบ ๒ พันล้านริงกิต เพิ่มเติมจากสิ่งจูงใจใหม่และปรับปรุงใหม่ รวมถึงโปรแกรมการฝึกอบรมในหมวดการฝึกงาน และเพิ่มอัตราแรงจูงใจในการว่าจ้างงานใหม่จาก ๔๐% เป็น ๖๐% โดยไม่เกินเพดานเงินเดือนที่ ๑๐,๐๐๐ ริงกิต
รมช. Awang เรียกร้องให้นายจ้างใช้ประโยชน์จากสิ่งจูงใจ โดยให้ว่าจ้างในตำแหน่งงานที่ว่างให้มากขึ้น เพื่อลดอัตราการว่างงานของประเทศ
นี่เป็น PenjanaKerjaya โครงการสร้างงาน ภายใต้งบฟื้นฟู ศก. ของ มซ. ด้วยการดำเนินโปรแกรม Hiring Incentive Program มาตรการจูงใจที่ทำให้เกิดการจ้างงานหลังโควิด ส่งผลให้มีผู้ได้งานเกือบ ๑.๕ แสนคนภายใน ๖ เดือน จึงถือเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จ (ขั้นตอนสมัคร PenjanaKerjaya รูป ๖)
สำหรับปัญหาว่างงานในไทย จากข้อมูลการสำรวจภาวะการมีงานทำของประชากรโดย สนง. สถิติแห่งชาติ (ณ เดือน ต.ค.๖๓) พบว่า มีผู้ว่างงานกว่า ๗.๕ แสนคน ซึ่งสูงกว่าปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกันถึงเกือบเท่าตัว และมีผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่ขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานตาม ม. ๓๘ เพิ่มสูงขึ้นไปที่ ๓ แสนคน จึงเห็นว่า โครงการ PenjanaKerjaya ของ มซ. อาจเป็นกรณีศึกษาในการแก้ปัญหาการว่างงานในไทยได้ด้วย
รูปภาพประกอบ