เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 31 มกราคม 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 31 มกราคม 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 1 ก.พ. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 พ.ย. 2565

| 259 view

เช้านี้ ไม่มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๓๑ ม.ค. ๖๔
วันที่ ๓๐ ม.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๕,๗๒๘ คน ทำสถิตินิวไฮสูงสุด โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๒๘ คน รัฐตรังกานู ๘๕ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๒๐๙,๖๖๑ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๗๔๖ คน (เพิ่มขึ้น ๑๓ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
แม้จะได้รับผลกระทบจากโควิด แต่ภาคการผลิตและการส่งออกของ มซ. หาเป็นเช่นนั้นไม่ กลับเติบโตกว่าที่คาด ทำสถิติเกินดุลสูงสุดในรอบกว่า ๒ ทศวรรษ ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่า ศก. มซ. ได้พัฒนาเป็น “ศก. ยืดหยุ่น” (resilient economy) ที่ได้ปรับตัวและสามารถโต้ฝ่าคลื่นวิกฤต ซึ่งน่าจะเป็นกรณีศึกษาสำหรับไทยในความพยายามฟื้นฟู ศก. ได้เช่นกัน
‘Resilience’ ในความหมายด้านการบริหาร คือความสามารถในการล้มและลุกขึ้นได้อย่างรวดเร็วและแข็งแกร่งกว่าเดิม เป็นสิ่งที่หลายคนพูดตรงกันว่า คือทักษะแห่งยุค และช่วยเราให้รอดพ้นช่วงวิกฤตได้
ข้อมูล Matrade มซ. การค้าระหว่างประเทศ มซ. ในปี ๒๐๒๐ มีมูลค่า ๑.๗๗๗ ล้านล้านริงกิต แยกเป็นส่งออก ๙๘๐.๙๙ พันล้านริงกิต นำเข้า ๗๙๖.๑๙ พันล้านริงกิต เกินดุลการค้า ๑๘๔.๗๙ พันล้านริงกิต สูงกว่าปี ๒๐๑๙ ถึง ๒๖.๙% จะเห็นว่า แม้ปี ๒๐๒๐ เป็นปีที่ มซ. เจอ “มรสุมโควิด” เข้าเต็มเปา แต่การค้าก็ยังเกินดุลต่อเนื่อง
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง “วิเคราะห์การฟื้นตัว ศก. มซ.” ตามรายงานของ นสพ. Malaysia Now ฉบับวันที่ ๓๐ ม.ค. ๒๐๒๑ ที่ได้พาดหัวข่าวเรื่อง “GDP จะฟื้นตัวในปีนี้ จากการเกินดุลการค้าที่เติบโตสูงสุดในรอบกว่า ๒ ทศวรรษ”
มซ. มั่นใจว่า ปี ๒๐๒๑ มซ. จะมีผลประกอบการทาง ศก. ที่ดีขึ้น แม้จะมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเห็นได้จากการติดเชื้อและผู้เสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก นำไปสู่การล็อกดาวน์อีกครั้งในทันที
ในรายงานเกี่ยวกับการค้า ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ปท. (GDP) ของ มซ. คาดว่า จะฟื้นตัวระหว่าง ๖.๕ % และ ๗.๕% สูงกว่าคาดการณ์การเติบโตของอาเซียน-๕ ได้แก่ มซ. สป. อซ. ฟป. และไทย ซึ่งอยู่ที่ ๕.๒%
นอกจากนี้ ความต้องการเซมิคอนดักเตอร์และผลิตภัณฑ์จากสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น มีส่วนช่วยการส่งออกในปีนี้
รายงานที่เผยแพร่โดย ก. การค้า รปท. และ อก. (MITI) แสดงให้เห็นว่า การเกินดุลการค้าเมื่อปีที่แล้วสูงที่สุดในรอบกว่า ๒ ทศวรรษ แม้โควิด-๑๙ จะส่งผลกระทบต่อ ศก. ก็ตาม
รมต. MITI นาย Azmin Ali กล่าวว่า การจัดอันดับล่าสุดของ บ. มูดี้ส์ ในเรื่องการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกสกุลเงินระยะยาวทั้งใน ปท. และ ตปท. จัดให้ มซ. อยู่ที่ A3 ด้วยแนวโน้มที่มั่นคง จึงเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับ ศก.มซ.
"นี่เป็นข้อพิสูจน์ถึงวินัยทางการเงินที่เข็มแข็งของ รบ. และแนวโน้มการเติบโตในระยะกลางที่แข็งแกร่ง อีกทั้งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของมูดี้ส์ต่อ มซ. ว่ามีเครดิตที่แข็งแกร่ง (รมต. MITI รูป ๒)
ในช่วงเวลาแห่งการท้าทายนี้ สิ่งที่ รบ. ให้ความสําคัญในระดับต้นๆ คือ การวางแผนให้ ปท. มั่นคงด้วยการฟื้นตัวทาง ศก. โดยเฉพาะแผนพัฒนา ศก. มซ. ฉบับที่ ๑๒ (12th Malaysian Plan) ซึ่งเป็นพิมพ์เขียวสําหรับการเติบโตอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานทาง ศก. ที่มั่นคงและมาตรการดำเนินนโยบายที่เด็ดขาด" (Malaysia’s external trade performance รูป ๓)
ส่วนการเกินดุลการค้า เมื่อดูแนวโน้มใน ๔ ปี ยังคงเติบโตด้วยเลข ๒ หลัก แต่ปีที่แล้วมีอัตราขยายตัว ๒๖.๙% คิดเป็นมูลค่า ๑๘๔.๗๙ พันล้านริงกิตเพิ่มจากปี ๒๐๑๙ ซึ่งถือเป็นอัตราเติบโตสูงสุดตั้งแต่ปี ๑๙๙๘ (ส่งออกฟื้นตัว รูป ๔)
ในขณะที่การส่งออกลดลง ๑.๔% ในปี ๒๐๒๐ เนื่องจากข้อจํากัดทั่วโลกเกี่ยวกับกิจกรรมทาง ศก. แต่ได้ฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี ๒๐๒๐ ที่เพิ่มขึ้น ๔.๘%
ตลาดที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ไทย อินเดีย บังคลาเทศ วน. และ ญป. ขณะที่การส่งออกไปยังจีน สหรัฐฯ สป. และฮ่องกง ยังคงเติบโต
การส่งออกไปจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของ มซ. ขยายตัว ๑๒.๕% เป็นมูลค่า ๑๕๘.๖ พันล้านริงกิต และมีสัดส่วนคิดเป็น ๑๖.๒% ของการส่งออกทั้งหมดในปี ๒๐๒๐
“การขยายตัวได้รับแรงหนุนจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ทั้งผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า การผลิตอื่นๆ (SSD) ผลิตภัณฑ์ E&E การผลิตโลหะ น้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์เกษตรที่ทำจากน้ำมันปาล์ม ผลิตภัณฑ์ยาง รวมถึงกระดาษและผลิตภัณฑ์เยื่อกระดาษ" (ส่งออกไตรมาส ๔ ปี ๒๐๑๙-๒๐ รูป ๕)
SSD (Solid State Drive : อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดหนึ่งที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดเก็บข้อมูลแบบถาวรเสมือนกับฮาร์ดดิสก์)
อก. ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า Electric and Electronics (E&E) เป็น ๑ ใน ๑๒ อก. เป้าหมายของ มซ. ซึ่งภาค อก. E&E มีขนาด ๗% ของ GDP มซ. หรือคิดเป็น ๔๕% ของการส่งออกทั้งหมด ในปี ๒๐๒๐ ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า E&E มีสัดส่วนสูงสุดของการส่งออกรวมของ มซ. คิดเป็นมูลค่า ๓๘๖.๑๑ พันล้านริงกิต เพิ่มขึ้น ๓.๕% เมื่อเทียบกับปี ๒๐๑๙ (หมู่เครนสินค้า รูป ๖)
"สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ วงจรรวมอิเล็กทรอนิกส์ (electronic integrated circuits : IC) อุปกรณ์สําหรับการส่งผ่านหรือการรับเสียง ภาพและข้อมูล รวมถึงชิ้นส่วนสําหรับวงจรรวมอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสนับสนุนแนวทางการทํางานจากบ้าน (work-from-home)"
การส่งออกผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า (E&E) ไปยัง ปท. ในสหภาพยุโรปที่ลดลง ได้ถูกทดแทนด้วยการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง น้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์เกษตรที่ทำจากน้ำมันปาล์ม ซึ่งเพิ่มขึ้น ๑๖.๔๔ พันล้านริงกิต
มซ. ยังได้รับอานิสงส์จากการที่ ปท. ทั่วโลกมีการบังคับให้ปฏิบัติตาม SOP เพื่อป้องกันการระบาดโควิด จึงทำให้ มซ. ส่งออกผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ในอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) และถุงมือยางเพิ่มขึ้น ๒ เท่าของปีก่อน คิดเป็นมูลค่า ๓๕.๒๖ พันล้านริงกิต (Malaysia’s trade performance year 2020 รูป ๗)
จากข้อมูลส่งออก มซ. ท่านผู้อ่านคงเห็นภาพที่สดใสของ ศก.มซ. ด้วยจุดแข็งของโครงสร้าง ศก. ที่มีศักยภาพส่งออกทั้งสินค้า กษ.และ อก. ที่ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิผลการผลิต ทำให้ ศก. มซ. ฟื้นตัวในปี ๒๐๒๑

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ