เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 29 มกราคม 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 29 มกราคม 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 1 ก.พ. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 23 พ.ย. 2565

| 253 view

เช้านี้ มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๒๙ ม.ค. ๖๔ จำนวน ๒๒ คน
วันที่ ๒๘ ม.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๔,๐๙๔ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๓๗ คน รัฐตรังกานู ๘๐ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๑๙๘,๒๐๘ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๗๑๗ คน (เพิ่มขึ้น ๗ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
สน. ข่าวอินโฟเควสท์ รายงานเมื่อ ๒๘ ม.ค. ๖๔ ว่า สถาบันโลวี (Lowy Institute) สถาบันวิจัยของออสเตรเลีย ได้เผยผลการจัดอันดับ ปท. ทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จในการจัดการกับการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ได้ดีที่สุด โดยนิวซีแลนด์ วน. และไต้หวัน อยู่ในอันดับ ๑-๓ ตามลำดับ ขณะที่ไทยอยู่ในอันดับ ๔ สร้างความภูมิใจให้แก่คนไทยทั้งชาติ เป็นความได้เปรียบของไทยที่จะใช้เป็นจุดแข็งในการดำเนินการต่างประเทศของไทย (ไทยรับมือโควิดได้ดี เป็นอันดับ ๔ ของโลก รูป ๒)
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง ‘การทูตวัคซีน’ แก้ปัญหาโควิดระบาด ตามรายงานข่าวของ นสพ. กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ ๒๗ ม.ค. ๖๔ (รายงาน นสพ. รูป ๓)
การสรรหาวัคซีนคุณภาพ เป็นภารกิจสำคัญของกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ในการร่วมแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-๑๙) ควบคู่ไปกับการผลักดันให้วัคซีนโควิด-๑๙ เป็นสินค้าสาธารณะ เพื่อช่วยให้ประชาชนมีโอกาสรับวัคซีนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม (Building Vaccine Diplomacy รูป ๓)
"ธานี แสงรัตน์" อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษก กต. กล่าวว่า กต. ได้สรรหาวัคซีนที่มีคุณภาพ เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงวัคซีนโควิด-๑๙ และผลักดันให้วัคซีนเป็นสินค้าสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
ในปัจจุบัน มี บ. เภสัชกรรมและสถาบันวิจัยระดับโลกหลายแห่ง คิดค้นพัฒนาวัคซีนโควิด-๑๙ ได้สำเร็จ จึงเป็นทางเลือกเพื่อเข้าถึงวัคซีนที่หลากหลาย รวมทั้งใช้เทคโนโลยีก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่ง กต. ได้ใช้ "การทูตเพื่อวัคซีน" ช่วยในการ “เปิดประตู” เจรจากับองค์กรต่างๆ หลายภาคส่วน โดย สอท. ไทยใน ตปท. ใช้เครือข่ายที่มีอยู่เริ่มพูดคุย ไม่ใช่แค่ในยุโรปเท่านั้น แต่เกิดขึ้นในหลาย ปท. เช่น อินเดีย รัสเซีย เยอรมนี และจีน
(นรม. เสนอ ๔ ประเด็นใน 37th ASEAN Summit รูป ๔)
“กต. ได้ดำเนินการทูตเพื่อวัคซีน ช่วยส่งเสริมการเข้าถึงวัคซีนของคนไทย โดยใช้เครือข่ายของ สอท. ไทยใน ตปท. เปิดประตูการเจรจาระหว่าง สธ. และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กับองค์กรต่าง ๆ และ บ. ผู้ผลิตวัคซีนใน ตปท. เช่น แอสตร้าเซนเนก้าของสหราชอาณาจักร และซิโนแวค ไบโอเทคของจีน” โฆษก กต. เล่า
ขณะที่ประเด็นการผลักดันให้วัคซีนเป็นสินค้าสาธารณะ เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในเวทีสหประชาชาติ (UN) สำหรับไทยไม่ได้ปิดกั้นในการเลือกใช้วัคซีนว่าต้องมาจากแห่งใดแห่งหนึ่ง แต่นี่เป็นช่วงเวลาสำคัญของการเจรจาระดับ รบ. บ. เอกชนและสถาบันวัคซีนในหลาย ปท. เพื่อสามารถจัดซื้อในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ และได้มาในช่วงเวลาที่เหมาะสม (รอง นรม. และ รมต.กต. รูป ๕)
ขณะเดียวกัน ไทยยังมีบทบาทให้ความช่วยเหลือ ปท. เพื่อนบ้าน ได้แก่ เมียนมา ลาว กัมพูชาที่มีชายแดนติดต่อกับไทย ซึ่งเป็นภารกิจ สธ. ไร้พรมแดน เพื่อให้ ปท.เหล่านี้ สามารถรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (ไทก้า) กต. ได้ช่วยประสานกับหน่วยงานด้าน สธ. ทั้งกรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ ให้การช่วยเหลือ ปท. เพื่อนบ้านรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ อย่างยั่งยืน เนื่องจากการให้ความช่วยเหลือ ปท. เพื่อนบ้าน อยู่บนพื้นฐานที่ว่า ศก. ไทยยังต้องการพึ่งพาต่างชาติ โดยเฉพาะ ปท. เพื่อนบ้านที่ใกล้ ชิดกับไทย และการระบาดของไวรัสชนิดนี้เป็นเรื่องที่ทั่วโลกต้องร่วมมือกัน
แม้ว่าโควิด-๑๙ จะเป็นอุปสรรคจนทำให้การเดินทางไปมาหาสู่กันเป็นไปได้ยาก แต่ก็เป็นโอกาสที่จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ที่สร้างผลลัพธ์ดีเยี่ยม ได้แก่ การถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ (Medical Consultation) กับบุคลากรทางการแพทย์ของเมียนมาในการรักษาผู้ป่วยโควิด-๑๙ ที่มีอาการหนัก แนวทางการรักษาคนไข้โรคโควิด-๑๙ การใช้อุปกรณ์ป้องกันสำหรับบุคลากรทางการแพทย์
ล่าสุด ไทก้าร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อยู่ระหว่างการช่วยฝ่ายเมียนมา พัฒนารูปแบบห้องปฏิบัติการที่สามารถใช้ได้จริง มีประสิทธิภาพสูง และใช้ งปม. ไม่มาก โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากกรม วท. การแพทย์เป็นผู้ออก แบบอุปกรณ์และห้องปฏิบัติการ (แล็ป) เป็นการให้ความช่วยเหลือระยะยาว เพื่อเพิ่มศักยภาพการตรวจเชื้อของห้องแล็บทั้งตามชายแดนและเมืองหลวง (อุปกรณ์ทางการแพทย์ รูป ๖)
นอกจากนี้ ยังสร้างความตระหนักรู้และเตรียมพร้อมรับมือกับโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ มุ่งเน้นแนวชายแดนไทย-กัมพูชา-ลาว–เมียนมา โดยการสร้างโมเดลความร่วมมือที่สามารถขยายขอบข่ายครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งชุมชนชาวไทย รง. ข้ามชาติ และชุมชนชายแดนใน ปท. เพื่อนบ้าน เพื่อตอบโจทย์ความจำเป็นเร่งด่วน โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทิลเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ตามแนวทางดำเนินงานด้านการทูตเพื่อการพัฒนาตามวิถีใหม่
เป้าหมายของการทำงาน สธ. แบบไร้พรมแดนนี้ ต้องการรูปแบบตัวอย่างที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของการทำงานและความร่วมมือด้าน สธ. ระหว่างไทยกับ ปท. เพื่อนบ้าน ที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งของบุคลากรทางการแพทย์และที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ ความพร้อมสนับสนุนให้ ปชช. ปท.เพื่อนบ้านมีสุขภาพที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประชาคมอาเซียน
ส่วนเวทีความร่วมมือในระดับภูมิภาค "ดอน ปรมัตถ์วินัย" รอง นรม. และ รมต. กต. เสนอต่อที่ประชุม รมต. ตปท. อาเซียน อย่างไม่เป็นทางการ ที่บรูไนเป็นเจ้าภาพจัดประชุมผ่านระบบทางไกลในสัปดาห์ที่แล้ว ในการมุ่งสานต่อผลประชุมอาเซียนซัมมิทครั้งที่ ๓๗ เพื่อใช้ประโยชน์จากกองทุนอาเซียนรับมือโควิด-๑๙ ซึ่งเป็นข้อริเริ่มของไทย ในการจัดหาวัคซีนและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สำคัญให้กับ ปท. สมาชิกอาเซียน (การวิจัยวัคซีน รูป ๗)
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานงานกับศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ (AHA Center) ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา อซ. เพื่อรับสิ่งของช่วยเหลือของอาเซียนในคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียน (DELSA Satellite Warehouse) ที่ตั้งอยู่ จ.ชัยนาท เช่น เต็นท์สำหรับครอบครัวและชุดสุขอนามัยส่วนบุคคล ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการบริหารสถานการณ์แพร่ระบาด รวมถึง จ. ที่มีผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยงเป็นจำนวนมาก โดยคลังสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียนสามารถส่งสิ่งของช่วยเหลือไปยัง ๔ ปท. สมาชิกอาเซียน ได้แก่ เมียนมา กัมพูชา ลาว และ วน. ได้ภายใน ๒๔ ชม.
นี่คือการทูตวัคซีน (Vaccine Diplomacy) ที่ไทยใช้ผลสำเร็จจัดการโควิดเป็นจุดแข็งดำเนินนโยบาย ตปท. โดย ร่วมมือและยื่นความช่วยเหลือ ปท. เพื่อนบ้าน/ประชาคมโลกต่อสู้โควิด ตามมติที่ประชุมอาเซียนซัมมิท ครั้งที่ ๓๗

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ