วันที่นำเข้าข้อมูล 1 ก.พ. 2564
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 23 พ.ย. 2565
เช้านี้ มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๒๙ ม.ค. ๖๔ จำนวน ๒๒ คน
วันที่ ๒๘ ม.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๔,๐๙๔ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๓๗ คน รัฐตรังกานู ๘๐ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๑๙๘,๒๐๘ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๗๑๗ คน (เพิ่มขึ้น ๗ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
สน. ข่าวอินโฟเควสท์ รายงานเมื่อ ๒๘ ม.ค. ๖๔ ว่า สถาบันโลวี (Lowy Institute) สถาบันวิจัยของออสเตรเลีย ได้เผยผลการจัดอันดับ ปท. ทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จในการจัดการกับการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ได้ดีที่สุด โดยนิวซีแลนด์ วน. และไต้หวัน อยู่ในอันดับ ๑-๓ ตามลำดับ ขณะที่ไทยอยู่ในอันดับ ๔ สร้างความภูมิใจให้แก่คนไทยทั้งชาติ เป็นความได้เปรียบของไทยที่จะใช้เป็นจุดแข็งในการดำเนินการต่างประเทศของไทย (ไทยรับมือโควิดได้ดี เป็นอันดับ ๔ ของโลก รูป ๒)
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง ‘การทูตวัคซีน’ แก้ปัญหาโควิดระบาด ตามรายงานข่าวของ นสพ. กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ ๒๗ ม.ค. ๖๔ (รายงาน นสพ. รูป ๓)
การสรรหาวัคซีนคุณภาพ เป็นภารกิจสำคัญของกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ในการร่วมแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-๑๙) ควบคู่ไปกับการผลักดันให้วัคซีนโควิด-๑๙ เป็นสินค้าสาธารณะ เพื่อช่วยให้ประชาชนมีโอกาสรับวัคซีนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม (Building Vaccine Diplomacy รูป ๓)
"ธานี แสงรัตน์" อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษก กต. กล่าวว่า กต. ได้สรรหาวัคซีนที่มีคุณภาพ เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงวัคซีนโควิด-๑๙ และผลักดันให้วัคซีนเป็นสินค้าสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
ในปัจจุบัน มี บ. เภสัชกรรมและสถาบันวิจัยระดับโลกหลายแห่ง คิดค้นพัฒนาวัคซีนโควิด-๑๙ ได้สำเร็จ จึงเป็นทางเลือกเพื่อเข้าถึงวัคซีนที่หลากหลาย รวมทั้งใช้เทคโนโลยีก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่ง กต. ได้ใช้ "การทูตเพื่อวัคซีน" ช่วยในการ “เปิดประตู” เจรจากับองค์กรต่างๆ หลายภาคส่วน โดย สอท. ไทยใน ตปท. ใช้เครือข่ายที่มีอยู่เริ่มพูดคุย ไม่ใช่แค่ในยุโรปเท่านั้น แต่เกิดขึ้นในหลาย ปท. เช่น อินเดีย รัสเซีย เยอรมนี และจีน
(นรม. เสนอ ๔ ประเด็นใน 37th ASEAN Summit รูป ๔)
“กต. ได้ดำเนินการทูตเพื่อวัคซีน ช่วยส่งเสริมการเข้าถึงวัคซีนของคนไทย โดยใช้เครือข่ายของ สอท. ไทยใน ตปท. เปิดประตูการเจรจาระหว่าง สธ. และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กับองค์กรต่าง ๆ และ บ. ผู้ผลิตวัคซีนใน ตปท. เช่น แอสตร้าเซนเนก้าของสหราชอาณาจักร และซิโนแวค ไบโอเทคของจีน” โฆษก กต. เล่า
ขณะที่ประเด็นการผลักดันให้วัคซีนเป็นสินค้าสาธารณะ เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในเวทีสหประชาชาติ (UN) สำหรับไทยไม่ได้ปิดกั้นในการเลือกใช้วัคซีนว่าต้องมาจากแห่งใดแห่งหนึ่ง แต่นี่เป็นช่วงเวลาสำคัญของการเจรจาระดับ รบ. บ. เอกชนและสถาบันวัคซีนในหลาย ปท. เพื่อสามารถจัดซื้อในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ และได้มาในช่วงเวลาที่เหมาะสม (รอง นรม. และ รมต.กต. รูป ๕)
ขณะเดียวกัน ไทยยังมีบทบาทให้ความช่วยเหลือ ปท. เพื่อนบ้าน ได้แก่ เมียนมา ลาว กัมพูชาที่มีชายแดนติดต่อกับไทย ซึ่งเป็นภารกิจ สธ. ไร้พรมแดน เพื่อให้ ปท.เหล่านี้ สามารถรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (ไทก้า) กต. ได้ช่วยประสานกับหน่วยงานด้าน สธ. ทั้งกรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ ให้การช่วยเหลือ ปท. เพื่อนบ้านรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ อย่างยั่งยืน เนื่องจากการให้ความช่วยเหลือ ปท. เพื่อนบ้าน อยู่บนพื้นฐานที่ว่า ศก. ไทยยังต้องการพึ่งพาต่างชาติ โดยเฉพาะ ปท. เพื่อนบ้านที่ใกล้ ชิดกับไทย และการระบาดของไวรัสชนิดนี้เป็นเรื่องที่ทั่วโลกต้องร่วมมือกัน
แม้ว่าโควิด-๑๙ จะเป็นอุปสรรคจนทำให้การเดินทางไปมาหาสู่กันเป็นไปได้ยาก แต่ก็เป็นโอกาสที่จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ที่สร้างผลลัพธ์ดีเยี่ยม ได้แก่ การถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ (Medical Consultation) กับบุคลากรทางการแพทย์ของเมียนมาในการรักษาผู้ป่วยโควิด-๑๙ ที่มีอาการหนัก แนวทางการรักษาคนไข้โรคโควิด-๑๙ การใช้อุปกรณ์ป้องกันสำหรับบุคลากรทางการแพทย์
ล่าสุด ไทก้าร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อยู่ระหว่างการช่วยฝ่ายเมียนมา พัฒนารูปแบบห้องปฏิบัติการที่สามารถใช้ได้จริง มีประสิทธิภาพสูง และใช้ งปม. ไม่มาก โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากกรม วท. การแพทย์เป็นผู้ออก แบบอุปกรณ์และห้องปฏิบัติการ (แล็ป) เป็นการให้ความช่วยเหลือระยะยาว เพื่อเพิ่มศักยภาพการตรวจเชื้อของห้องแล็บทั้งตามชายแดนและเมืองหลวง (อุปกรณ์ทางการแพทย์ รูป ๖)
นอกจากนี้ ยังสร้างความตระหนักรู้และเตรียมพร้อมรับมือกับโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ มุ่งเน้นแนวชายแดนไทย-กัมพูชา-ลาว–เมียนมา โดยการสร้างโมเดลความร่วมมือที่สามารถขยายขอบข่ายครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งชุมชนชาวไทย รง. ข้ามชาติ และชุมชนชายแดนใน ปท. เพื่อนบ้าน เพื่อตอบโจทย์ความจำเป็นเร่งด่วน โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทิลเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ตามแนวทางดำเนินงานด้านการทูตเพื่อการพัฒนาตามวิถีใหม่
เป้าหมายของการทำงาน สธ. แบบไร้พรมแดนนี้ ต้องการรูปแบบตัวอย่างที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของการทำงานและความร่วมมือด้าน สธ. ระหว่างไทยกับ ปท. เพื่อนบ้าน ที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งของบุคลากรทางการแพทย์และที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ ความพร้อมสนับสนุนให้ ปชช. ปท.เพื่อนบ้านมีสุขภาพที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประชาคมอาเซียน
ส่วนเวทีความร่วมมือในระดับภูมิภาค "ดอน ปรมัตถ์วินัย" รอง นรม. และ รมต. กต. เสนอต่อที่ประชุม รมต. ตปท. อาเซียน อย่างไม่เป็นทางการ ที่บรูไนเป็นเจ้าภาพจัดประชุมผ่านระบบทางไกลในสัปดาห์ที่แล้ว ในการมุ่งสานต่อผลประชุมอาเซียนซัมมิทครั้งที่ ๓๗ เพื่อใช้ประโยชน์จากกองทุนอาเซียนรับมือโควิด-๑๙ ซึ่งเป็นข้อริเริ่มของไทย ในการจัดหาวัคซีนและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สำคัญให้กับ ปท. สมาชิกอาเซียน (การวิจัยวัคซีน รูป ๗)
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานงานกับศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ (AHA Center) ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา อซ. เพื่อรับสิ่งของช่วยเหลือของอาเซียนในคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียน (DELSA Satellite Warehouse) ที่ตั้งอยู่ จ.ชัยนาท เช่น เต็นท์สำหรับครอบครัวและชุดสุขอนามัยส่วนบุคคล ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการบริหารสถานการณ์แพร่ระบาด รวมถึง จ. ที่มีผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยงเป็นจำนวนมาก โดยคลังสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียนสามารถส่งสิ่งของช่วยเหลือไปยัง ๔ ปท. สมาชิกอาเซียน ได้แก่ เมียนมา กัมพูชา ลาว และ วน. ได้ภายใน ๒๔ ชม.
นี่คือการทูตวัคซีน (Vaccine Diplomacy) ที่ไทยใช้ผลสำเร็จจัดการโควิดเป็นจุดแข็งดำเนินนโยบาย ตปท. โดย ร่วมมือและยื่นความช่วยเหลือ ปท. เพื่อนบ้าน/ประชาคมโลกต่อสู้โควิด ตามมติที่ประชุมอาเซียนซัมมิท ครั้งที่ ๓๗
รูปภาพประกอบ