เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 04 มีนาคม 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 04 มีนาคม 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 10 มี.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 213 view

เช้านี้ ไม่มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๔ มี.ค. ๖๔
วันที่ ๓ มี.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๑,๗๔๕ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๓๓ คน รัฐตรังกานู ๕ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๓๐๕,๘๘๐ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๑,๑๔๘ คน (เพิ่มขึ้น ๗ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง Upskill & Reskill วัคซีนสร้างภูมิ ‘แรงงานชนะ’ ตามรายงานข่าวของ นสพ. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ฉบับวันที่ ๓ มี.ค. ๖๔ (รายงานข่าว รูป ๒)
ส่องทางออก "แรงงาน" ต้องพัฒนาทักษะ รง. หรือศักยภาพของทุนมนุษย์ รง. ไทยในปัจจุบันอย่างไร ให้รอดจากวิกฤติโควิด-๑๙ และสร้างโอกาส Building Back Better ได้ในระยะข้างหน้า (Reskill & Upskill เพื่อการอยู่รอดในอนาคต รูป ๓)
ครบ ๑ ปีจากการเริ่มล็อกดาวน์ในไทย เพื่อควบคุมโรคระบาดโควิด-๑๙ ล่าสุด องค์การ รง. ระหว่างประเทศ (ILO) ได้ประเมินว่า วิกฤติโควิด-๑๙ ทำให้ ชม. ทำงานของ รง. ทั่วโลกในปี ๖๓ หายไปเทียบเท่ากับคนตกงานทั่วโลกถึง ๒๕๕ ล้านคน หรือประมาณ ๔ เท่าของการสูญเสีย ชม. ทำงานไปในช่วงวิกฤติการเงินโลกปี ๒๕๕๒
บทความนี้จะชวนผู้อ่านดูศักยภาพของทุนมนุษย์ รง. ไทยปัจจุบัน และการพัฒนาทักษะ รง. เพื่อให้รอดจากวิกฤตินี้และสร้างโอกาส Building Back Better ได้ในระยะข้างหน้า
ศักยภาพทุนมนุษย์ของไทยเผชิญกับ “Triple-disruption” คือการเข้าสู่สังคมสูงวัย เทคโนโลยีดิสรัปชั่น และผลกระทบจากวิกฤติโควิด-๑๙
ข้อมูลจาก WEF (Future of Jobs Report 2020) และ Global Competitiveness Index 4.0 (CGI) ชี้ว่าทุนมนุษย์ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดในการผลักดันให้ ปท. หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ดัชนีด้านทุนมนุษย์ไทยอยู่ในระดับกลางค่อนไปทางแย่ มีสัดส่วน รง. ทักษะสูงเพียง ๑๔% และมีสัดส่วนประชากรผู้ใหญ่ที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาเพียง ๔๕.๑% ซึ่งเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ใช้ต่อยอดเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่ใช้ประกอบอาชีพในอนาคต เทียบกับ ปท. ที่มีระดับพัฒนาสูงจะมีดัชนีชี้วัดนี้สูงไปด้วย คือ อังกฤษ (๙๙.๗%) สวิตเซอร์แลนด์ (๙๗.๑%) เยอรมนี (๙๖.๓%) และสหรัฐ (๙๖.๐%)
นอกจากนี้ ไทยยังขาดทักษะสายวิชาชีพ เห็นจากดัชนี Vocational and technical skill-GTCI ที่อยู่อันดับท้ายๆ คือ ๘๙ จาก ๑๑๙ ปท. รวมถึงขาดแคลนอาชีพที่ต้องการทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาและสร้างนวัตกรรม แต่ไทยยังมีจุดดีคือ มีสัดส่วนของประชากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลโดยเปรียบเทียบอยู่ในระดับที่น่าพอใจคือ ๕๔.๙% ใกล้เคียงกับ ญป. (๕๐.๘%) อังกฤษ (๖๑%) และสูงสุดคือเนเธอร์แลนด์ (๗๗.๔%) และ สป. (๗๗%) (รง. อุตสาหกรรมสิ่งทอ รูป ๔)
การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้ ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดกระบวนการ Double Disruption ส่งผลให้ผู้คนทั่วโลกเปลี่ยนวิถีชีวิต รูปแบบการทำงาน WFH และพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาซื้อสินค้าผ่านออนไลน์มากขึ้น ทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ดิจิทัลเซอร์วิส และฟู้ดดิลิเวอรี่เติบโตอย่างรวดเร็ว เร่งให้เข้าสู่โลกดิจิทัล ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เร็วขึ้น (การทำงานจากบ้าน (WFH) รูป ๕)
นอกจากนี้ ไทยยังมีดิสรัปชั่นจากการเข้าสู่สังคมสูงอายุอีกด้านหนึ่ง ซึ่งนับเป็น Triple Disruption ปัจจุบันไทยมี รง. อายุมากกว่า ๖๐ ปี ๔.๖ ล้านคน หรือ ๑๒% ของ รง. ทั้งหมด และเมื่อถึงปี ๒๕๘๓ ไทยจะเข้าสู่“สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” คือจะมีประชากรอายุมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไปถึง ๓๑% ทำให้ (๑) ไทยต้องเร่งยกระดับทักษะแรงงานให้มีผลิตภาพสูงขึ้น ตอบสนองต่อจำนวนคนทำงานที่จะน้อยลงในอนาคต (๒) สร้างโอกาสทำอาชีพใหม่ๆ ให้แรงงานที่เสี่ยงได้รับผลกระทบกว่า ๔.๗ ล้านคน และ (๓) เร่งพัฒนาต่อยอดทักษะอาชีพ นวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน สำหรับกลุ่มแรงงานที่ย้ายกลับภูมิลำเนา โดยเฉพาะผู้ปกครองของ นร. ยากจนมากที่สุดของ ปท.ที่มีกว่า ๓ แสนคน (Smart Factory รูป ๖)
Reskill & Upskill เพื่อปิดช่องว่างทักษะให้สอดคล้องกับความต้องการในยุคดิจิทัล
จากผลการสำรวจภาคธุรกิจของไทย (WEF, 2020) พบว่า เทรนด์เทคโนโลยีดิสรัปชั่นที่มาแรงสุดอันดับต้นๆ คือ Cloud computing (๙๘% ของผู้ตอบแบบสอบถาม) Internet of Things (๙๕%) Encryption & cyber security (๙๐%) E-commerce and digital trade (๘๗%) และ Big data analytics (๘๕%) ชี้ว่าทักษะที่นายจ้างต้องการในอนาคต เช่น การเขียนและออกแบบ/พัฒนาโปรแกรม การควบคุมการใช้งานเทคโนโลยีต่างๆ ทักษะคิดวิเคราะห์และนวัตกรรม ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ทักษะการเรียนรู้เชิงรุก เป็นต้น
ผลสำรวจยังชี้ว่าแรงงานไทยทั้งหมดต้องรีสกิล โดยประมาณครึ่งหนึ่งต้องพัฒนาทักษะน้อยกว่าหรือเท่ากับ ๓ เดือน และอีกครึ่งหนึ่งต้องพัฒนาทักษะตั้งแต่ ๓ เดือนขึ้นไป ในส่วนนี้ ๒๐% ต้องเข้ารับการฝึกอบรมมากกว่า ๑ ปีขึ้นไป สำหรับสาขาอาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากหลังโควิด-๑๙ คลี่คลาย (จากทั้ง WEF (2020) และ บ.จัดหางาน ได้แก่ งานด้านไอที งานด้านการวิเคราะห์ข้อมูล งานด้านบิ๊กดาต้า งานด้านวิศวกรรม งานด้านการขนส่ง และงานด้านการขาย สอดคล้องกับการเติบโตของธุรกิจ e-Commerce, Digital Service และ Food Delivery ที่กล่าวข้างต้น (IMD World Digital Competitiveness Ranking 2019 รูป ๗)
การสำรวจวัดทักษะ รง. ผู้ใหญ่ (PIAAC) เป็นมาตรฐานสากล ช่วยชี้เป้าและพัฒนาทักษะ รง. ให้ถูกฝาถูกตัว ซึ่งคาดว่าจะสำรวจลงพื้นที่ในปี ๖๔ นี้ โดยความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ธ. โลก กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ร่วมกันทำการสำรวจภายใต้โครงการวิจัยทักษะและความพร้อมของกลุ่มประชากรวัย รง. ของไทย (Adult skills assessment in Thailand) เพื่อชี้เป้า วางนโยบาย ส่งเสริมเติมเต็มทักษะ รง. อย่างตรงเป้าแบบถูกฝาถูกตัว ตอบสนองต่อความต้องการแรงงานในอนาคตให้แก่แรงงานทุกช่วงวัย ซึ่งคาดว่าจะสำรวจลงพื้นที่ในปี ๖๔
ผลการวิจัยนี้จะสามารถนำมาเปรียบเทียบกับของต่างประเทศและภาคต่างๆ ในประเทศได้ อาทิ ในอังกฤษ นำไปสู่การพัฒนาจัดทำหลักสูตรออนไลน์ในที่ทำงานและชุมชน ให้ รง. สามารถศึกษาในสาขาวิชาที่เหมาะสมกับอาชีพและทักษะของตนเอง ใน ญป. สถาบันวิจัยนโยบายด้านการศึกษาแห่งชาติ (NIER) นำผลสำรวจมาพัฒนาทักษะด้านไอซีทีในกลุ่ม รง. ผู้ใหญ่ และพัฒนาระบบเชื่อมโยงทักษะ รง. รายได้และการจ้างงาน
ในโลกใหม่ที่เต็มไปด้วยดิจิทัล รง. ในยุคหน้าต้องพัฒนาทักษะตัวเองให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล และเตรียม พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงอาชีพ และเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อรอดจากวิกฤตินี้และสร้างโอกาส Building Back Better ในชีวิตการทำงานข้างหน้าได้ และภาครัฐควรเร่งพิจารณาการเปิดให้มีการนำเข้า รง. พนักงาน ผู้บริหาร ที่มีสมรรถนะสูงและวิชาชีพด้านที่จำเป็นต่อการพัฒนา ปท. โดยเฉพาะด้านดิจิทัล และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขา STEM ในระยะข้างหน้าด้วย
วันนี้เป็นรายงานแนวคิดการพัฒนาทักษะตัวเอง Upskill & Reskill ให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล และเตรียม พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงอาชีพและเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นเสมือนวัคซีนที่จะสร้างภูมิ ‘แรงงานชนะ’ ต่อสู้โควิดครับ

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ