เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 16 มกราคม 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 16 มกราคม 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 17 ม.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 24 พ.ย. 2565

| 290 view

เช้านี้ ไม่มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๑๖ ม.ค. ๖๔
วันที่ ๑๕ ม.ค. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๓,๒๑๑ คน อยู่ในรัฐกลันตัน ๗๙ คน รัฐตรังกานู ๙๒ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๑๕๑,๐๖๖ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๕๘๖ คน (เพิ่มขึ้น ๘ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
เนื่องจากมีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง ๑๔ วันที่ผ่านมา โดยข้อมูล ณ วันที่ ๑๔ ม.ค. มีผู้ติดเชื้อสะสมในรัฐกลันตันเพิ่มถึง ๑,๖๔๙ คน รบ. มซ. จึงประกาศบังคับใช้มาตรการควบคุมการสัญจร (Movement Control Order - MCO) ในรัฐกลันตันตั้งแต่วันที่ ๑๖–๒๖ ม.ค. ๖๔ และในเขต Sibu รัฐซาราวัคตั้งแต่๑๖–๒๙ ม.ค. ๖๔
จริงหรือไม่ที่มีกล่าวกันว่า หากมีการฉีดวัคซีนแล้ว จะเกิดภูมิต้านทานหมู่ (herd immunity) ในสังคม
เรื่องเล่าด่านรันตู วันนี้ขอเสนอเรื่อง “กำแพงแห่งภูมิคุ้มกัน” ตามที่ นสพ. New Straits Times ฉบับวันที่ ๑๕ ม.ค. ๒๐๒๑ รายงานข่าวว่า “หนึ่งปีที่จะเกิดกำแพงแห่งภูมิคุ้มกัน (immunity firewall)”
ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์เชื่อว่า แม้จะมีมาตรการควบคุมการสัญจร (MCO) ก็ตาม ประชากรอย่างน้อย ๕๐% ควรต้องได้รับการฉีดวัคซีนเป็นลำดับแรก ก่อนที่การระบาดโควิด-๑๙ จะถูกยับยั้ง และสถานการณ์ได้ กลับสู่สภาวะปกติ
รศ. ดร. Malina Osman กล่าวว่า จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๑ ปีนับจากเริ่มดำเนินการฉีดวัคซีน กลุ่มประชากรจำนวนมากจึงจะได้รับภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) จากนั้นกิจกรรมหรือการรวมตัวใดๆ แม้แต่การจัดเลือกตั้ง ถึงจะดำเนินการต่อได้ (Dr. Malina Osman รูป ๒)
นักระบาดวิทยาและนักชีวสถิติจาก Universiti Putra Malaysia กล่าวว่า ระยะเวลา ๑ ปีนี้มีความจำเป็นสำหรับการสร้าง “กำแพงแห่งภูมิคุ้มกัน" เพื่อป้องกันผู้ที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนได้
การต่อสู้กับโควิดจำเป็นต้องใช้เวลาในการเข้าถึงพื้นที่ชนบทและกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ รง. ต่างด้าว นักโทษ และกลุ่มเปราะบาง เพื่อให้พวกเขาได้รับวัคซีนทั้ง ๒ โดส นอกจากนี้ยังต้องติดตามผลข้างเคียงเพื่อให้แน่ใจว่าวัคซีนมีความปลอดภัย เนื่องจาก มีผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มสูงขึ้น มีจำนวนมากกว่า ๓ หมื่นราย (ณ วันที่ ๑๔ ม.ค.) เพิ่มจาก MCO ครั้งแรกในปีที่แล้วถึง ๑,๕๐๐% (KL under MCO รูป ๓)
นอกจากนี้ การระบาดในรัฐซาบาห์ยังเป็นข้อพิสูจน์ถึงการที่ประชาชนไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน (SOP) ในระหว่างการสำรวจความคิดเห็น จึงทำให้การเลือกตั้งทั่วไปเป็น "ปัจจัยเสี่ยงของภัยพิบัติ"
การบรรเทาทุกข์เป็นเวลา ๑ ปียังมีความสำคัญต่อการจัดการกับผลกระทบของการระบาดใหญ่โควิด ทั้งในด้าน ศก. การศึกษา สุขภาพจิต โรคไม่ติดต่อ ตลอดจนหน้าที่ทางสังคมและการประกอบอาชีพ
ดร. Malina ให้ความเห็นเกี่ยวกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินว่า การประกาศดังกล่าวได้ช่วยมิให้ระบบ สธ. ล่มสลาย อันเนื่องมาจากการจัดเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งมาตรการ MCO ไม่สามารถป้องกันได้
นอกจากนี้ ยังมีช่องโหว่มากในการบังคับใช้มาตรการควบคุมการสัญจรแบบมีเงื่อนไข (CMCO) ซึ่ง กม.อย่างเช่น พรบ. ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ปี ๑๙๘๘ (ม. ๓๔๒) ก็ยังไม่เพียงพอ
ขณะที่ผู้คนเริ่มหย่อนยานในการปฏิบัติตาม SOP ไม่รักษาระยะห่างทางสังคม ยังมีกรณีนักการเมืองที่เลี่ยงโดยอ้างสิทธิ์การเป็น สส. ซึ่ง จนท. รัฐต้องสร้างความมั่นใจแก่สาธารณชนว่า ไม่มีสองมาตรฐานในการบังคับใช้ MCO
ด้าน ดร. Safiya Amaran ผู้เชี่ยวชาญด้าน สธ. และ อจ. แพทย์ของ Universiti Sultan Zainal Abidin กล่าวว่า ภาวะฉุกเฉินจะ “พัก” กิจกรรมการเมืองชั่วคราว ทำให้สภาความมั่นคงแห่งชาติสามารถร่าง SOP และกฎต่างๆ ได้
การขาดความชัดเจนและไม่เข้มงวดเพียงพอในการใช้ SOP ตั้งแต่ในช่วงแรกของการบังคับใช้มาตรการ CMCO ในเขต Klang Valley เป็นสาเหตุเดียวกันที่ทำให้พื้นที่สีเขียวในกลันตันและตรังกานูกลายเป็นพื้นที่สีแดง (จนท. สธ. ตรวจโควิด รูป ๕)
ขณะที่นักระบาดวิทยา Dr. Awang Bulgiba เตือนเรื่องผู้คนเหนื่อยล้ากับ SOP และทางการจำเป็นต้องประสานกับผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมและการสื่อสาร เพื่อจัดการกับปัญหานี้ (How does “Herd Immunity” work ? รูป ๕)
มซ. ผ่านประสบการณ์กับการล็อคดาวน์ด้วยมาตรการ MCO 1.0 ซึ่งถือว่า เสียเวลานานมากในการบังคับใช้ แต่ไม่ได้แก้ไขปัญหามากนัก เช่น รง. ต่างด้าว การดำเนินการตาม พรบ. มาตรฐานการเคหะและสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นต่ำของคนงานปี ๑๙๙๐ แม้การเฝ้าระวังการระบาด การวิเคราะห์ข้อมูล ตัวชี้วัด การวางแผนสถานการณ์ที่ขึ้น รวมทั้งได้ปรับปรุงแผนเตรียมรับมือการระบาดมากขึ้น
“หากเป็นเช่นนี้ มซ. จำเป็นต้องกำหนดขั้นตอนที่จะเตรียมตัวสำหรับการระบาดระลอกต่อไป ถ้าเราไม่ทำอะไรบางอย่างเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ เวลาที่เราซื้อด้วย MCO 2.0 ก็จะถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองอีกครั้ง"
จากข้อคิดที่ว่า MCO 1.0 เป็นการ“ซื้อเวลา” หนแรก ที่ใช้เวลามากแต่ไม่ได้ผล และหากการดำเนินบังคับใช้ SOP ยังไม่เข้มงวดพอ การบังคับใช้ MCO 2.0 ก็อาจเพียงเป็นการ“ซื้อเวลา” หนที่ ๒ เท่านั้น (Frontliners รูป ๖)
นี่คือ ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ สธ. เกี่ยวกับการสร้าง “กำแพงแห่งภูมิคุ้มกันโควิด” โดยใช้เวลา ๑ ปี หลังฉีดวัคซีนให้กับผู้คนจำนวนเกิน ๕๐% ของประชากร จึงทำให้เข้าใจได้ว่า เราจำต้องอยู่กับโควิดไป ๒-๓ ปีนั่นเอง

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ