เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 ก.พ. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 23 พ.ย. 2565

| 195 view

เช้านี้ ไม่มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๑๘ ก.พ. ๖๔
วันที่ ๑๗ ก.พ. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๒,๙๙๘ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๗๒ คน รัฐตรังกานู ๙๑ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๒๗๒,๑๖๓ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๑,๐๐๕ คน (เพิ่มขึ้น ๒๒ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง “ศก. มซ. ฟื้นเกินคาดการณ์ขององค์กรระหว่างประเทศ” ตามรายงานข่าวของ นสพ. New Straits Times ฉบับวันที่ ๑๑ ก.พ. ๒๐๒๑
ความคิดริเริ่มของ รบ. มซ. ช่วยให้ ศก. มซ. สามารถฟื้นตัวได้เกินคาดการณ์ขององค์กรระหว่างประเทศ
รมต. คลัง Zafrul ได้กล่าวว่า สัญญาณต่างๆ ของการฟื้นตัวทาง ศก. สามารถเห็นได้ภายในปี ๒๐๒๐ ซึ่งการลดลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่ -๑.๗ % ในเดือน ธ.ค. ดีกว่า -๔.๐ % ในเดือน พ.ย.
สิ่งนี้พิสูจน์ให้เห็นถึงประสิทธิผลของความคิดริเริ่มของ รบ. มูห์ยิดดิน ภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ Kita PRIHATIN ที่มีขึ้นในไตรมาส ๔ ของปี ๒๐๒๐ เช่น เงินช่วยเหลือพิเศษล็อต ๒ ของ PRIHATIN (GKP 2.0), โครงการเงินอุดหนุนค่าจ้างล็อต ๒ (PSU 2.0) และโครงการเยียวยาแห่งชาติล็อต ๒ PRIHATIN Nasional Assistance (BPN 2.0)
"อัตราการว่างงานต่ำกว่าระดับสูงสุด ๕.๓% ในเดือน พ.ค. ๒๐๒๐ โดยอยู่ที่ ๔.๘% ในไตรมาสที่ ๔ ของปี ๒๐๒๐ และ ๔.๘% ในเดือน พ.ย. และ ธ.ค. ๒๐๒๐
แม้ว่ามาตรการควบคุมการสัญจรแบบมีเงื่อนไข (CMCO) ในเดือน ธ.ค.จะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมในตลาดแรงงาน แต่โครงการเงินอุดหนุนค่าจ้างล็อต ๒ (PSU 2.0) และโครงการเยียวยาแห่งชาติล็อต ๒ (BPN 2.0) ก็ช่วยผ่อนคลายข้อจำกัดทางการเงินของผู้คนและธุรกิจได้เช่นกัน" เขากล่าวในแถลงการณ์
ศก. มซ. หดตัวที่ -๕.๖% ในปี ๒๐๒๐ หลังจากที่หดตัว -๓.๔% ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว
ก่อนหน้านี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก คาดการณ์ว่า ศก. ของ มซ. จะหดตัว -๕.๘% ขณะที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) คาดการณ์ว่า จะหดตัว -๖.๐%
รมต. คลัง Zafrul กล่าวว่า ผลการดำเนินงานทาง ศก. ของ มซ. ในไตรมาสที่ ๔ นั้นเชื่อมโยงกับการนำมาตรการ MCO กลับมาใช้อีกครั้งในเดือน ต.ค. ๒๐๒๐ เพื่อลดการแพร่ระบาดของ COVID-๑๙ ที่กระจายเกือบทุกรัฐยกเว้นรัฐซาราวัก จากผลการดำเนินงานของ GDP รายเดือน การลดลงที่มีนัยสำคัญสุดในเดือน ต.ค. ๒๐๒๐ อยู่ที่ -๔.๗ % เทียบกับ -๑.๖% ในเดือน ก.ย. (รมต. คลัง Zafrul รูป ๒)
หากเปรียบเทียบในไตรมาสที่ ๔ ของปี ๒๐๒๐ ศก. ฟป. หดตัวที่ -๘.๓% ขณะที่ สป. -๓.๘%
ส่วน ปท. พัฒนาแล้วที่อยู่ในพื้นที่ยุโรปทั้งหมดหดตัว -๕.๑% (การฟื้นตัว ศก.มซ. รูป ๓)
วันนี้ เป็นรายงานเกี่ยวกับความมั่นใจเกี่ยวกับการฟื้นตัวของ ศก. มซ. สืบจากความคิดริเริ่มของ รบ. ภายใต้มาตรการกระตุ้น ศก. Kita PRIHATIN ในไตรมาส ๔ ปี ๒๐๒๐ เช่น เงินช่วยเหลือพิเศษล็อต ๒ ของ PRIHATIN (GKP2.0), โครงการเงินอุดหนุนค่าจ้างล็อต ๒ (PSU 2.0) และโครงการเยียวยาแห่งชาติล็อต ๒ (BPN 2.0)

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ