เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 ก.พ. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 212 view

เช้านี้ ไม่มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๒๐ ก.พ. ๖๔
วันที่ ๑๙ ก.พ. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๒,๙๓๖ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๓๘ คน รัฐตรังกานู ๓๗ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๒๗๗,๘๑๑ คน และผู้เสียชีวิตสะสม ๑,๐๔๓ คน (เพิ่มขึ้น ๑๓ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
เมื่อเร็วๆ นี้ ทั่วโลกจับตาเรื่องการที่ออสเตรเลียเตรียมออก กม. ไล่เบี้ยบริษัทเทคโนโลยี โดยเมื่อ ๑๔ ก.พ. ๖๔ รบ. ออสเตรเลียเตรียมออก กม. บังคับให้บริษัทเทคโนโลยีต้องจ่ายเงินสำหรับการแชร์เนื้อหาของข่าวสารต่างๆ ซึ่งอาจกลายเป็นการปฏิวัติรูปแบบในการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนทั่วโลกในอนาคต
กลุ่มเฝ้าระวังด้านการแข่งขันของออสเตรเลียระบุข้อมูลว่า บ. Google และ Facebook รับส่วนแบ่งค่าโฆษณา ๕๓ ดอลลาร์และ ๒๘ ดอลลาร์ตามลำดับ จากค่าโฆษณาทุกๆ ๑๐๐ ดอลลาร์ โดยส่วนที่เหลือจะถูกแบ่งให้กับ บ. หรือบุคคลอื่นๆ ต่อไป
สาเหตุดังกล่าว ทำให้ รบ. ออสเตรเลียต้องการให้ บ. Google และ Facebook จ่ายเงินสำหรับเนื้อหาหรือข่าว สารที่มีต้นทุนการผลิตสูง ทั้งจากช่องทางการเสิร์ชและฟีดส์ โดยสภานิติบัญญัติได้ผ่านร่าง กม. ดังกล่าวเมื่อวันที่ ๑๒ ก.พ. และเสนอให้มาตรการดังกล่าวมีการนำมาบังคับใช้เป็น กม. โดยมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมเล็กน้อย และแม้ว่า กม. ดังกล่าวจะบังคับใช้เฉพาะในออสเตรเลีย แต่หน่วยงานกำกับดูแลจากหลาย ปท. ต่างจับตามองว่ามาตรการดังกล่าวจะสามารถใช้งานได้จริงและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ใน ปท.อื่น ๆ ได้หรือไม่
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง การเก็บภาษี VAT กับ บ.ผู้ให้บริการ e-Service ในไทย ตามรายงานข่าวของ นสพ. ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ ๑๙ ก.พ. ๖๔ เรื่อง “เรียก “เฟซบุ๊ก-ไลน์-กูเกิล” ขึ้นทะเบียนจัดเก็บ VAT” (รายงานข่าว รูป ๒)
สรรพากรเตรียมเรียกยักษ์แพลตฟอร์มดิจิทัลต่างประเทศ “เฟซบุ๊ก-ไลน์-กูเกิล” ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม หลัง กม. มีผลบังคับใช้ ก.ย. นี้ ระบุเตรียมจัดทำระบบหลังบ้านให้ชำระผ่านทางออนไลน์
(ทั่วโลกจับตาออสเตรเลีย รูป ๓)
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากแพลตฟอร์มดิจิทัลจากต่างประเทศ เป็นเรื่องที่หน่วยงานจัดเก็บภาษีทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ เพราะต้องการสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการภายใน ปท. ที่ต้องเสียภาษี ขณะนี้หลาย ปท. มี กม. บังคับใช้แล้วกว่า ๖๐ ปท.
ล่าสุด พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๓) พ.ศ. ๒๕๖๔ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๐ ก.พ. ๖๔ จะมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เว้นแต่บทบัญญัติที่มีผลแก้ไขเปลี่ยนแปลงการเสียหรือนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม กำหนดให้ใช้บังคับสำหรับรายรับหรือการจ่ายเงิน ตั้งแต่วันที่ ๑ ของเดือนที่ ๗ ถัดจากเดือนที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปหรือในเดือน ก.ย. ๒๕๖๔
กม. ดังกล่าวเป็นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากผู้ให้บริการต่างประเทศที่เข้ามาให้บริการ e-Service ในไทย เช่น เฟซบุ๊ก กูเกิล ยูทูป โดยจะเก็บในอัตรา ๗% ต่อปี ซึ่งวิธีการเสียภาษีของผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศให้เสียภาษีจาก “ภาษีขาย” โดยไม่ให้นำภาษีซื้อมาหัก เพราะผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ให้บริการผ่านทางแพลตฟอร์ม และแพลตฟอร์มทำหน้าที่เป็นผู้ส่งมอบบริการ การชำระค่าบริการ หน้าที่เสียภาษีจึงเป็นของแพลตฟอร์ม (อธ. สรรพากรแถลง รูป ๔)
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธ. กรมสรรพากรเปิดเผยว่า หลังจาก กม. ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา กรมสรรพากรมีเวลาอีก ๑๘๐ วันในการจัดเตรียมระบบหลังบ้าน เพื่อจัดทำระบบการจ่ายภาษีให้ง่ายที่สุด ทั้งนี้อยู่ระหว่างติดต่อประสานงานกับผู้ประกอบการให้มาจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยทุกอย่างจะทำผ่านระบบออนไลน์ ตามรูปแบบของต่างประเทศที่มี กม. นี้มาก่อนไทยแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากนัก
(ออสเตรเลียแก้ร่าง กม. รูป ๕)
“รายได้จากการจัดเก็บภาษี e-Service ในปีนี้จะยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมนัก เพราะกว่าที่ กม. จะมีผลบังคับใช้ในเดือน ก.ย. แล้ว เกือบจะสิ้นปี งปม. ๖๓ ส่วนที่เคยประมาณการว่า จะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีตัวนี้ประมาณ ๕,๐๐๐ ล้านบาทนั้น เป็นการประมาณการในช่วงที่จะมีการเสนอร่าง กม. เข้าสภา ซึ่งอาจต้องประเมินสถานการณ์ที่ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง” นายเอกนิติกล่าว (ธุรกิจที่ถูกจัดเก็บภาษี e-Service รูป ๖)
นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ และผู้ก่อตั้งตลาดดอทคอมกล่าวว่า ภายหลัง พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๓) พ.ศ. ๒๕๖๔ ที่จะเป็นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือ กม.อีเซอร์วิส จากผู้ให้บริการต่างประเทศ กรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศที่มีรายได้ในประเทศไทย มีผลบังคับใช้ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่า หลังจากนี้ กรมสรรพากรจะเรียกผู้ให้บริการดิจิทัลเซอร์วิสจากต่าง ประเทศที่มีการให้บริการและมีรายได้ในประเทศไทยเกิน ๑.๘ ล้านบาท เข้ามาจดทะเบียนจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยการจัดเก็บภาษีอีเซอร์วิสนั้น ผู้ให้บริการต่างประเทศ ก็จะไปเรียกเก็บภาษีแวตจากผู้บริโภค ซึ่งทำให้ค่า บริการสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประเทศไทยจะได้ คือ เราจะรู้ปริมาณธุรกรรมที่คนไทยใช้บริการแพลตฟอร์มต่าง ประเทศ รู้ข้อมูลเกี่ยวกับเงินไหลออกต่างประเทศ (การชำระภาษี รูป ๗)
ด้าน บ. กูเกิลประเทศไทย ระบุว่า ยังไม่ได้วางแผนดำเนินการใดๆ โดยอยู่ระหว่างการศึกษา กม.อี-เซอร์วิสอยู่ และยังมีเวลาศึกษาก่อน กม. มีผลบังคับใช้จริงในเดือน ก.ย. ๖๔
เช่นเดียวกับ บ. ไลน์ ประเทศไทย แจ้งว่า พร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐอย่างเต็มที่ สำหรับรายละเอียดอยู่ในระหว่างการศึกษาร่วมกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่เช่นกัน
วันนี้เป็นรายงานการริเริ่มที่จะเก็บภาษี บ. ผู้ให้บริการ e-Service ในไทย เพื่อให้เป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการภายใน ปท. ที่ต้องเสียภาษี แม้ค่าบริการสูงขึ้นจากภาษี VAT แต่ รบ. ก็จะได้รู้ปริมาณธุรกรรมที่คนไทยใช้บริการแพลตฟอร์มต่างประเทศ รวมทั้งข้อมูลเงินที่ไหลออกต่างประเทศ เช่นกัน

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ