เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 ก.พ. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 23 พ.ย. 2565

| 220 view

เช้านี้ ไม่มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๒๑ ก.พ. ๖๔
วันที่ ๒๐ ก.พ. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๒,๔๖๑ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๒๕๗ คน รัฐตรังกานู ๒๒ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๒๘๐,๒๗๒ คนและผู้เสียชีวิตสะสม ๑,๐๕๑ คน (เพิ่มขึ้น ๘ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
มาแล้วจ้า อากาศแจ่มใสเช้าวันนี้ สายการบินมาเลเซีย เที่ยวบิน MH604 ได้ขนส่งวัคซีน Pfizer ถึงสนามบิน KLIA ท่ามกลางผู้คนที่รอต้อนรับคือ รมต.สธ. มซ. ซึ่งสื่อให้เห็นถึงความคาดหวังของ มซ.ต่อวัคซีนได้เป็นอย่างดี
(รายงานวัคซีนเดินทางถึง รูป ๒)
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง “การฉีดวัคซีน เป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นตัวทาง ศก.” ตามรายงานข่าว นสพ. New Straits Times ฉบับวันที่ ๒๑ ก.พ. ๒๐๒๑
โครงการสร้างภูมิคุ้มกันโควิด-๑๙ แห่งชาติ (National Covid-19 Immunisation Programme : NIP) เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะช่วยในการฟื้นตัวทาง ศก. และการเงินของ ปท. ในปีนี้
มซ. มีกำหนดเริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด-๑๙ ในวันที่ ๒๖ ก.พ. และตั้งเป้าที่จะดำเนินตามโครงการสร้างภูมิคุ้มกันให้เสร็จสิ้น ๓ ระยะ ภายในเดือน ก.พ. ปีหน้า (รมต.สธ. ตรวจรับ รูป ๓-๔)
นาย Nigel Wong เลขาธิการกิตติมศักดิ์ สมาคมทัวร์และบ. ท่องเที่ยวแห่ง มซ. กล่าวว่า การฉีดวัคซีนโควิด-๑๙ สามารถช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้คนในการเดินทางได้ ซึ่งจะช่วยฟื้นฟู อก. การท่องเที่ยวในท้องถิ่น
“ความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ประชาชนให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ดังนั้น รบ. และ อก. การท่องเที่ยวจึงให้ความสำคัญสูงสุดในการสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภค วิธีหนึ่งในการบรรลุวัตถุประสงค์นี้ก็คือ การฉีดวัคซีน โดย รบ. ควรกำหนดระเบียบการที่จะทำให้ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วเดินทางได้ง่ายขึ้น วัคซีนจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้คนในการเดินทาง และ อก. ท่องเที่ยวก็หวังว่า กระบวนการฉีดวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกันจะเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว”
หลาย ปท. โดยเฉพาะในยุโรปได้เสนอแนวคิดเรื่อง “หนังสือเดินทางวัคซีน” ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนสามารถเดินทางได้โดยไม่ต้องมีการกักตัว
"เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยว มซ. จำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า พวกเขามีความมั่นใจที่จะเดินทางมา มซ. และจะบรรลุผลได้ก็ต่อเมื่อ รบ. มซ. สามารถดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับชาว มซ. ได้อย่างรวดเร็ว"
การฉีดวัคซีนโควิด-๑๙ สามารถช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้คนในการเดินทางได้ ซึ่งจะช่วยฟื้นฟู อก.การท่องเที่ยวในท้องถิ่น การอนุญาตให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกลับมาเปิดได้ อาทิ การจัดประชุมและนิทรรศการ ได้รับการต้อบรับอย่างมาก เนื่องจากจะช่วยกระตุ้นกิจกรรมทาง ศก. แม้ว่าจะจำกัดเฉพาะตลาดใน ปท. ก็ตาม
"ก่อนที่จะมีการประกาศ ผู้บริหารในวงการ อก. ต่างๆ ได้เตรียมการอย่างเพียงพอเพื่อรองรับกิจกรรมเหล่านี้ภายใต้กรอบของขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐานของ รบ. (SOP) โดยมีการเตรียมพร้อมเป็นอย่างดี" (การขนส่งวัคซีน รูป ๕)
ผอ. ฝ่ายบริหาร สหพันธ์นายจ้าง มซ. Shamsuddin Bardan มั่นใจว่า การฉีดวัคซีนฟรีให้กับประชากรทุกกลุ่ม รวมทั้งผู้อพยพที่ไม่มีเอกสารและผู้ขอลี้ภัย จะช่วยให้ มซ. มีภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) โดยได้เตือนให้นายจ้างตรวจสอบให้มั่นใจว่า มีการปฏิบัติตาม SOP ระหว่างการดำเนินโครงการสร้างภูมิคุ้มกันโควิด-๑๙ แห่งชาติ (NIP)
"ตลอดช่วงเวลาดำเนินการตามคำสั่งควบคุมการสัญจร (MCO) และคำสั่งควบคุมการสัญจรอย่างมีเงื่อนไข (CMCO) ธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและไม่สามารถกลับมาดำเนินการได้อย่างสมบูรณ์ ปีที่แล้วมีการปิดกิจการไปมากกว่า ๓๒,๐๐๐ แห่งและมีคนงานมากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คนที่ตกงาน”
"เราหวังว่า สภาการจ้างงานแห่งชาติที่ นรม. นั่งเป็น ปธ. จะได้ออกนโยบายเชิงรุกมากขึ้น เพื่อกระตุ้น ศก. ด้วยการสร้างงานในภาคเอกชน โดยหวังว่ามาตรการกระตุ้น ศก.ที่ได้มีการนำมาใช้อยู่ขณะนี้ จะยังคงมีการใช้ต่อไปจนกว่า ศก. จะฟื้นตัวเต็มที่” (นายShamsuddin รูป ๖)
Shamsuddin หวังว่า NIP จะฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่าง ปท. เพื่อดึงดูดและรักษาการลง ทุนที่มีมูลค่าสูงใน มซ. และช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคและกระตุ้นการเติบโตทาง ศก. ของ มซ.
ด้าน หน. นักเศรษฐศาสตร์ของ ธ. อิสลาม Dr. Mohd Afzanizam กล่าวว่า การเริ่มโครงการฉีดวัคซีนของ มซ. จะเป็นดัชนีชี้วัดสำคัญของ ศก. ที่จะเปิดอีกครั้ง (reopening)
การเปิดตัวโครงการฉีดวัคซีนที่จะประสบความสำเร็จและสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ภายในไตรมาสแรกของปีหน้า จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจ เนื่องจากอัตราการติดเชื้อจะลดลง (Dr. Mohd Afzanizam รูป ๗)
"เมื่อ ศก. ที่จะเปิดอีกครั้ง สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีที่น่าเชื่อถือ (convincing way) ธุรกิจต่างๆ จะได้รับอนุญาตให้กลับมาเปิดอีกครั้ง และผู้บริโภคจะสามารถทำธุรกรรมได้อย่างมั่นใจ พวกเขาจะมีตัวเลือกมากขึ้นในการซื้อของผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งจะส่งผลให้ ศก. ฟื้นตัวอย่างยั่งยืนมากขึ้น” เขากล่าว
วันนี้เป็นรายงานความคาดหวังต่อโครงการสร้างภูมิคุ้มกันโควิดแห่งชาติ (NIP) ที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและนักธุรกิจ ช่วยกระตุ้นการบริโภคและการค้าการลงทุน ส่งผลให้ ศก. มซ. ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและยั่งยืน

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ