เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 25 ก.พ. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 24 พ.ย. 2565

| 196 view

เช้านี้ ไม่มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๒๓ ก.พ. ๖๔
วันที่ ๒๒ ก.พ. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๒,๑๙๒ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๒๘ คน รัฐตรังกานู ๔ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๒๘๕,๗๖๑ คนและผู้เสียชีวิตสะสม ๑,๐๖๒ คน (เพิ่มขึ้น ๖ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
สำหรับคนทั่วโลก การมีวัคซีนเปรียบได้เสมือน “รวงข้าวรอฝน” ที่จะทำให้กิจกรรมกลับมาดำเนินได้ตามปกติ รวมถึงการเดินทางไปท่องเที่ยวในต่างประเทศ จึงเป็นความหวังของทุก ปท. ที่จะฟื้นฟู ศก. จากการท่องเที่ยวอีกครั้ง (วัคซีนถูกส่งถึง มซ. รูป ๒-๓)
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง หนังสือเดินทางวัคซีนโควิด–๑๙ ตามรายงานของ นสพ. The Star ฉบับวันที่ ๒๒ ก.พ. ๒๐๒๐
หลังจากถูกจำกัดให้อยู่ใน ปท. นานกว่า ๑ ปี ชาว มซ. สามารถตั้งตารอที่จะเดินทางไปต่างประเทศได้อีกครั้ง เมื่อพวกเขาได้รับ "หนังสือเดินทางวัคซีนโควิด-๑๙" แต่มีเงื่อนไขที่กำหนดว่า ต้องฉีดวัคซีนโควิด–๑๙ ก่อน
เมื่อ ๒๑ ก.พ. รมต.สธ. Dr. Adham Baba ประกาศเรื่องนี้หลังจากวัคซีน Pfizer-BioNTech ๓๑๒,๓๙๐ ชุดแรกได้เข้ามาถึง มซ. ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือเพื่อกำหนดประเภทของการรับรองสำหรับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน (การแถลงร่วมของ รมต. รูป ๔)
“เรากำลังเสนอ ๒ วิธีในการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงในแอปพลิเคชัน MySejahtera หรือการพิสูจน์ในรูปแบบทางกายภาพ ซึ่งเป็นหนังสือเดินทางที่ ปท. อื่นยอมรับได้”
รมต. สธ. อ้างถึง "สมุดปกเหลือง" ที่ออกโดย รบ. ซาอุดีอาระเบีย เป็นตัวอย่างของหลักฐานการฉีดวัคซีนทางกายภาพที่แสดงโดยผู้ที่ไปเยือนซาอุดีอาระเบีย “เรากำลังดูว่าจะร่วมมือกับ ปท. อื่นๆ เพื่อปรับปรุงการออกใบรับรองได้อย่างไร” เขากล่าวเสริม (๕ ขั้นตอนในการรับการฉีดวัคซีน รูป ๕)
ด้าน รมต. ขนส่ง Dr. Wee Ka Siong กล่าวว่า จะหารือกับ กต. มซ. เพื่อให้ ปท. เพื่อนบ้านยอมรับรหัสหรือใบรับรองการฉีดวัคซีนร่วมกัน ทั้งนี้ ได้หารือกับ ก. วท. และ สธ. มซ. ถึงความจำเป็นที่ต้องมีใบรับรองการฉีดวัคซีน หลังจากการพูดคุยกับ สป. ที่ได้สอบถามเกี่ยวกับ “การออกใบรับรองสากล (universal certification)"
“เราจะดำเนินการติดตามและตรวจสอบให้แน่ใจว่า ใครก็ตามที่เดินทางมาถึงสนามบิน มซ. ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน (SOP) ของเรา และชาว มซ. ที่จะเดินทางไปยัง ปท. อื่นๆ จะไม่ต้องถูกกักตัวกันอีกต่อไป แต่จะต้องปฏิบัติตาม SOP อื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ อก. การบินของ มซ. และในภูมิภาคฟื้นตัวได้”
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพได้แสดงความเห็นสนับสนุนแผนการของ รบ. ในการออก "หนังสือเดินทางวัคซีนโควิด-๑๙" สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีน แต่ไม่ต้องการให้มีการเลือกปฏิบัติในการดำเนินการ
Dr. Zainal Ariffin Omar ปธ. สมาคมแพทย์ สธ. มซ. กล่าวว่า แม้จะได้รับการสนับสนุน แต่ รบ. ต้องมีความชัดเจนว่าจะใช้หนังสือเดินทางเพื่ออะไร เพื่อมิให้เกิดการเลือกปฏิบัติและการใช้ในทางที่ผิดโดยไม่จำเป็น เนื่องจากเป็นการฉีดวัคซีนโดยสมัครใจ และจะดำเนินการเป็นระยะจนถึงปี ๒๐๒๒ (Dr. Zainal รูป ๖)
“ความสามารถในการเข้าถึงยังคงจำกัดอยู่เฉพาะในสถานที่ของรัฐในฐานะผู้จัดหาวัคซีน” เขากล่าว
ด้าน Dr. Kuljit Singh ปธ. สมาคม รพ. เอกชน มซ. เห็นด้วยว่า เป็นความคิดที่ดี แต่ขอเวลามากขึ้นเพื่อประเมินความเป็นไปได้ของการเลือกปฏิบัติใดๆ
“หนังสือเดินทางวัคซีนจะช่วยให้เราทราบว่า ใครได้รับการฉีดวัคซีนและใครยังไม่ได้ฉีดวัคซีน มันจะง่ายขึ้นเช่นกันสำหรับ รพ. เอกชนที่จะทราบสถานะการฉีดวัคซีนก่อนเริ่มการรักษาแต่ละคน แม้ว่า รพ. จะยังคงรักษาผู้ป่วยทุกรายไม่ว่าจะฉีดวัคซีนหรือไม่ก็ตาม แต่กระบวนการก่อนการรักษาอาจแตกต่างกัน เราจะรอแนวทางปฏิบัติ” (Dr. Kuljit รูป ๗)
เขากล่าวว่าทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีนเนื่องจากความเสี่ยงของผลข้างเคียงจากวัคซีนนั้นน้อยมาก เมื่อเทียบกับภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวจากการติดเชื้อโควิด–๑๙ สำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า ๑๘ ปีที่ไม่ได้อยู่ในโครงการฉีดวัคซีน ยังไม่มีคำตอบว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับคนกลุ่มนี้
“รวมทั้งกลุ่มคนที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนจะยังเดินทางได้ไหม พวกเขาจำเป็นต้องได้รับการทดสอบหรือถูกกักตัวไหม จะมีโปรโตคอลหรือ SOP หรือไม่”
หลาย ปท. ในสหภาพยุโรป เช่น สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี ไอซ์แลนด์ สวีเดน เอสโตเนีย โปแลนด์ และเดนมาร์ก กำลังใช้หนังสือเดินทางวัคซีน เพื่อพิสูจน์สถานะการฉีดวัคซีนของแต่ละบุคคล ทั้งนี้เป็นความพยายามที่จะเปิดการเดินทางระหว่างประเทศอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม มีความกังวลเพิ่มมากขึ้นทั่วโลกเกี่ยวกับจริยธรรมและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการใช้หนังสือเดินทางวัคซีน โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ตั้งข้อสังเกตว่า ณ ขณะนี้ไม่เห็นด้วยที่จะกำหนดให้การมีหนังสือเดินทางวัคซีนนี้ เป็นเงื่อนไขในการอนุญาตให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้า ปท. อื่นๆ ได้
Prof. Dr. Sazaly Abu Bakar นักไวรัสวิทยาแห่ง ม. มาลายากล่าวว่า เขาต่อต้านข้อเสนอดังกล่าว โดยอ้างถึงจุดยืนของ WHO ว่า สิ่งนี้อาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน (อาจจ้างได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้รับการฉีดวัคซีน) และเป็นการตัดโอกาสผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพและผู้ที่มีเหตุผลทางศาสนาด้วย
“คุณไม่สามารถเลือกปฏิบัติกับผู้คนตามเชื้อชาติ สีผิว ศาสนาและสถานะการฉีดวัคซีนในปัจจุบัน คุณกำลังจะเลือกปฏิบัติกับประชาชนบางส่วนของเรา ซึ่งจ่ายภาษีเหมือนทุกคน และมีสิทธิได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันในทาง กม.”
แม้หนังสือเดินทางวัคซีนโควิด–๑๙ ยังคงต้องรอความชัดเจน แต่ก็เป็นหนทางหรือมาตรการที่ใช้ยืนยันสถานะและความปลอดภัยของผู้เดินทางและ ปท. ผู้รับ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว จึงเป็นเสมือนดัง “แสงที่ปลายอุโมงค์”

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ