เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 25 ก.พ. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 213 view

เช้านี้ มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๒๔ ก.พ. ๖๔ จำนวน ๙ คน
วันที่ ๒๓ ก.พ. มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๒,๔๖๘ คน โดยอยู่ในรัฐกลันตัน ๙๖ คน รัฐตรังกานู ๙ คน มีผู้ติดเชื้อสะสม ๒๘๘,๒๒๙ คนและผู้เสียชีวิตสะสม ๑,๐๗๖ คน (เพิ่มขึ้น ๑๔ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
การเปิดตัวโครงการสร้างภูมิคุ้มกันโควิด-๑๙ แห่งชาติ (National Covid-19 Immunisation Programme : NIP) ปลายเดือน ก.พ. เป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับความรู้สึกและช่วยฟื้นฟู ศก. มซ. ซึ่งเป็นการปูทางสำหรับโครงการฉีดวัคซีนระยะแรกในเดือน ก.พ. – เม.ย. ๒๐๒๑
เรื่องเล่าด่านรันตูวันนี้ ขอเสนอเรื่อง “ หลังฉีดวัคซีน ศก. มซ. ฟื้นตัวจริงหรือ” ตามรายงานของ นสพ. The Star ฉบับวันที่ ๒๓ ก.พ. ๒๐๒๐ (อัตราเติบโต ศก. มซ. ปี ๒๐๒๑ รูป ๒)
แม้ว่าอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะพูดอย่างมั่นใจว่า ศก. มซ. กำลังดีขึ้น แต่บางคนก็บอกว่า วัคซีนมาพร้อมกับความคาดหวังที่จะยับยั้งการระบาดของโควิด-๑๙ ซึ่งส่งผลให้ มซ. เสมือนถูกปกคลุมด้วยความรู้สึกท้อแท้และหดหู่ แม้ว่าจะมีข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่า ศก. กำลังอยู่ในระหว่างของการฟื้นตัวไปในทิศทางที่ดีก็ตาม
ตั้งแต่ไตรมาส ๔ ปี ๒๐๒๐ การกลับมาระบาดอีกของไวรัสโควิดระลอกที่ ๓ และการบังคับใช้ MCO แบบมีเงื่อนไขได้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทาง ศก. และภาคธุรกิจ ผลผลิตทาง ศก. ซึ่งวัดโดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ยังคง -๓.๔% YoY ในไตรมาสที่ ๔ ของปี ๒๐๒๐ ซึ่งสูงกว่า ๒.๗% ในไตรมาสที่ ๓ (รมต. คลัง มซ. รูป ๓)
วิกฤตการระบาดด้านสุขภาพทำให้ผลผลิตของ มซ. ถดถอยไป ๒ ปี กล่าวคือ GDP ที่แท้จริง (real GDP) ทั้งปี ๒๐๒๐ อยู่ที่ -๕.๖% เหลือ ๑.๓๔ ล้านล้านริงกิต เทียบจากปี ๒๐๑๙ อยู่ที่ ๑.๔๒ ล้านล้านริงกิต (ปี ๒๐๑๘ อยู่ที่ ๑.๓๖ ล้านล้านริงกิต)
GDP ที่กำหนด ณ ราคาตลาดปัจจุบัน (nominal GDP) หดตัวมากขึ้นคือ -๖.๓% เหลือ ๑.๔๑ ล้านล้านริงกิตในปี ๒๐๒๐ จาก ๑.๕๑ ล้านล้านริงกิตในปี ๒๐๑๙ และต่ำกว่า GDP ปี ๒๐๑๘ ที่มีมูลค่า ๑.๔๕ ล้านล้านริงกิต
ธุรกิจภาคบริการ ซึ่งเป็นผู้สร้างรายได้มากสุดให้แก่ ศก. โดยรวม (คิดเป็น ๕๗.๗% ของ GDP ในปี ๒๐๒๐) ยังต้องดิ้นรนเพื่อรับการเยียวยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการเดินทาง การท่องเที่ยว และค้าปลีก
การกลับมาระบาดของโควิด-๑๙ ระลอก ๓ ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค ทำให้ความต้องการอาหารและเครื่องดื่ม ที่พัก การขนส่งและการสื่อสาร ลดลงอยู่ระหว่าง ๒๓.๑% YoY - ๖๑.๒% YoY ในไตรมาสที่ ๔ ของปี ๒๐๒๐ ยอดค้าปลีก -๓.๑% YoY ในไตรมาสที่ ๔ เทียบกับ -๒.๔% ในไตรมาสที่ ๓ ของปี ๒๐๒๐ (นรม.มซ.ฉีดวัคซีน รูป ๔)
หมายเหตุ : YoY (Year on Year) เป็นการเปรียบเทียบตัวเลขรายไตรมาสในช่วงเวลาเดียวกันแต่ละปี
ด้านการท่องเที่ยวภายใน ปท. ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากอัตราการเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมลดลงเหลือน้อยกว่า ๒๐% ในช่วงเดือน ม.ค. ถึงกลางเดือน ก.พ. ๒๐๒๑ แม้ว่าข้อห้ามการเดินทางระหว่างรัฐจะถูกยกเลิกไป แต่การท่องเที่ยวใน ปท. ก็ไม่สามารถทดแทนรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขาดหายไปได้
ในขณะที่การเดินทางระหว่างประเทศหยุดชะงัก ส่งผลกระทบต่อธุรกิจบันเทิงและสันทนาการ การค้าปลีก โรงแรมและร้านอาหาร รวมถึงธุรกิจการบินด้วย (วัคซีนถึง มซ. รูป ๕)
การแสวงหาโอกาสจากการจัดเดินทางแบบ “Travel Bubbles” และ“ Green Lane” กับจีน กลต. ญป. และภายในอาเซียน จะต้องได้รับการให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก เมื่อประเมินได้ว่า ปท. ต่างๆ มีความเสี่ยงต่ำในระดับเดียวกัน
ในระหว่างการดำเนินโครงการฉีดวัคซีน ผลกระทบจากการบังคับใช้ MCO 2.0 และแบบมีเงื่อนไข (CMCO) จะยังคงมีต่อไปในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยส่งผลต่อธุรกิจค้าปลีก โรงแรมและร้านอาหาร รวมถึงการขนส่งและการสื่อสาร นอกจากนี้ อารมณ์การใช้จ่ายที่คึกคักน้อยลงในช่วงเทศกาลตรุษจีนในเดือน ก.พ. ก็เป็นตัวถ่วงการบริโภค
ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-๑๙ ทำให้เกิดความแตกต่างกัน ระหว่างภาคการผลิต (การฟื้นตัวส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจาก อก. ที่เน้นส่งออก) การก่อสร้าง (อาจล่าช้าและลดลง เนื่องจากมีกลุ่มผู้ติดเชื้อ ‘cluster’ โควิดจำนวนมากในไซต์ก่อสร้าง) และภาคบริการ (ฟื้นตัวล่าช้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางและการท่องเที่ยว)
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ บางธุรกิจกลับเติบโตได้ดีในสภาพการณ์ระบาดโควิด-๑๙ ขณะที่ธุรกิจอื่นๆ ยังคงดิ้นรนเพื่อให้ฟื้นตัวจากผลกระทบของการระบาดโควิด-๑๙ (กลุ่มผู้บริโภค รูป ๗-๘)
ระหว่างเดือน มี.ค. - ก.ย. ๒๐๒๐ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวม ๓๒,๔๖๙ ราย ได้เลิกกิจการ การลงทุนภาคเอกชนลดลงคือ -๑๑.๙% YoY ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในปี ๒๐๒๐ นับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกปี ๒๐๐๘-๒๐๐๙ และคาดว่าจะฟื้นตัวขึ้นในระดับปานกลาง เนื่องจากธุรกิจและนักลงทุนอยู่ในโหมดเฝ้ารอ และต้องระมัดระวังความไม่แน่นอนในเรื่องอนาคตของการแพร่ระบาดและแนวโน้ม ศก.
ดังนั้น จึงต้องเร่งการลงทุนภาครัฐผ่าน งปม. รายจ่าย เพื่อกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศและการลงทุนภาคเอกชน ขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภค (คิดเป็น ๕๙.๕% ของ GDP) เป็นข้อมูลของ GDP ที่ถูกจับตามองมากที่สุด
ท่ามกลางความรู้สึกระมัดระวังและแนวโน้มการจ้างงานที่อ่อนแอ รวมถึงรายได้ที่ลดลง การใช้จ่ายภาคครัวเรือน -๓.๔% YoY ในไตรมาส ๔ ของปี ๒๐๒๐ ซึ่งสูงกว่า -๒.๑% ในไตรมาส ๒ นอกจากนี้ ในปี ๒๐๒๐ การบริโภคภาคเอกชนลดลงที่ -๔.๓%
มีการคาดการณ์ว่าผู้บริโภคและธุรกิจต่างๆ ได้หันมาใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซมากขึ้นรวมถึงธุรกรรมออนไลน์ คิดเป็น ๒๕% ของธุรกรรมออนไลน์ทั้งหมด ในขณะที่ยอดขายของร้านค้าและลูกค้าที่รับประทานอาหารในร้านอาหาร ก็ยังคงมีสัดส่วนสูงจากยอดขายทั้งหมด
สำหรับความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัส ทำให้ผู้คนระมัดระวังในการออกไปข้างนอกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส จึงทำให้มีโอกาสน้อยที่จะใช้จ่ายเท่าที่ควร
ในที่สุดการใช้จ่ายเพื่อ “ชดเชยที่ผ่านมา" และอุปสงค์ที่พุ่งสูง (pent-up demand) จะฟื้นตัว หากความเชื่อมั่นกลับคืนมาหลังจากที่มีการเร่งฉีดวัคซีน และได้รับการสนับสนุนจากการเติบโตของการจ้างงาน
ตลาดแรงงานยังคงมีปัญหา ด้วยการลดตำแหน่งงานและอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากการว่างงานได้ลดเหลือ ๔.๖% ในเดือน ก.ย. จากสถิติสูงสุดที่ ๕.๓% ในเดือน พ.ค. แต่อัตราการว่างงานกลับเพิ่มขึ้นถึง ๔.๘% ในเดือน ธ.ค. ๒๐๒๐ (๔.๘% ในเดือน พ.ย.) คิดเป็นผู้ว่างงานราว ๗๗๒,๙๐๐ คน เทียบกับ ๕๒๐,๐๐๐ คนก่อนการระบาด
ระบบประกันการจ้างงานยังคงมีการลงทะเบียนลูกจ้างจำนวนมาก โดยมีลูกจ้าง ๘,๓๓๔ คน ตกงานในเดือน ม.ค. และมีจำนวน ๔,๔๗๘ คน ณ วันที่ ๑๘ ก.พ. ๖๔
ในปี ๒๐๒๐ มีผู้ตกงานทั้งหมด ๑๐๗,๐๒๔ คน สูงถึง ๒๖๗.๐% เมื่อเทียบกับผู้ตกงาน ๔๐,๐๘๔ คนในปี ๒๐๑๙ คาดว่า อัตราว่างงานจะแตะระดับ ๔.๕% ณ สิ้น ธ.ค. ๒๐๒๑ เทียบกับ ๔.๘% ณ สิ้น ธ.ค. ในปี ๒๐๒๐ เนื่องจาก ๑) การฟื้นตัวที่ใช้เวลานานของภาคที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง ๒) การทำงานระยะไกลช่วยลดความต้องการบริการขนส่ง ๓) ผลกระทบที่ลดลงจากการแทรกแซงของ รบ. ๔) โควิด-๑๙ อาจซ้ำเติมสภาพ “ทักษะไม่ตรงกัน (skills mismatch)” ให้รุนแรงขึ้น เนื่องจากมีการใช้กระบวนการและเทคโนโลยีที่ประหยัดกำลังคน
การส่งออกมีภาพที่สดใส เนื่องจากมีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันปาล์มที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมดิบ ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์เคมีและเคมีภัณฑ์ รวมถึงอุปกรณ์ออปติคอล เป็นต้น
การส่งออกสินค้าและบริการ (๖๑.๖% ของ GDP ทั้งหมด) คาดว่าจะช่วยหนุน ศก. โดยรวม ในขณะที่รอให้อุปสงค์ใน ปท. ฟื้นตัวเต็มที่
วันนี้เป็นรายงานวิเคราะห์การฟื้นตัวของ ศก. มซ. หลังจากเริ่มโครงการสร้างภูมิคุ้มกันโควิด-๑๙ แห่งชาติ (NIP) แต่ละสาขาได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน โดยภาคผลิตส่งออกฟื้นตัวได้ดี ขณะที่ภาคบริการคงต้องใช้เวลาอีกระยะ

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ