เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 6 มกราคม 2564

เรื่องเล่าด่านรันตู ประจำวันที่ 6 มกราคม 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 10 ม.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 23 พ.ย. 2565

| 191 view

เช้านี้ มีผู้ลงทะเบียนกลับไทยวันที่ ๖ ม.ค. ๖๔ จำนวน ๑๓ คน
วันที่ ๕ ม.ค. มีสถิติสูงกว่าเมื่อวาน โดยมียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๒,๐๒๗ คน อยู่ในรัฐกลันตัน ๔๒ คน รัฐตรังกานู ๑๓ คน และมีผู้ติดเชื้อสะสม ๑๒๒,๘๔๕ คน ผู้เสียชีวิตสะสม ๕๐๙ คน (เพิ่มขึ้น ๘ คน) (สถิติข้อมูลการระบาดโควิด รูป ๑)
หากเอ่ยถึง “การอนุรักษ์ป่าเขตร้อน” คงมองข้าม มซ. ไปไม่ได้ เนื่องจาก ด้วยการบริหารจัดการป่าอย่างยั่งยืน (Sustainable Forest Management : SFM) มซ. จึงยังมีพื้นที่ป่าปกคลุมถึง ๕๕.๓% คิดเป็นพื้นที่กว่า ๑๖.๕ ล้านเฮกเตอร์
เรื่องเล่าด่านรันตู วันนี้ขอเสนอเรื่อง “ปลูกป่า ๑๐๐ ล้านต้นใน ๕ ปี” ของ มซ. ตามที่ นสพ. New Straits Times ฉบับวันที่ ๕ ม.ค. ๒๐๒๑ รายงานข่าวเรื่อง “นรม.มซ. เปิดโครงการปลูกต้นไม้ ๑๐๐ ล้านต้น” (นรม. ปลูกต้น Merbau รูป ๒)
เมื่อวันที่ ๕ ม.ค. นรม. มูห์ยิดดินได้ปลูกต้น Merbau (ต้นสักมะละกา : Intsia Palembanica) ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำชาติของ มซ. ในสวนของ Seri Perdana ซึ่งเป็นบ้านพักอย่างเป็นทางการของ นรม. เพื่อเริ่มโครงการรณรงค์ปลูกต้นไม้ ๑๐๐ ล้านต้นปี ๒๐๒๐-๒๐๒๕ (เปรียบเทียบป่าที่สูญเสีย รูป ๓)
ในสุนทรพจน์ นรม. ได้เรียกร้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์ปลูกป่า เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Greening Malaysia ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ ด้วยการร่วมปลูกต้นไม้ ๑๐๐ ล้านต้นทั่ว ปท. ภายในปี ๒๐๒๕ โดยมี รมต. พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ (KeTSa) Dr. Shamsul ร่วมด้วย (การจัดการป่าอย่างยั่งยืน รูป ๔)
ในโอกาสนี้ นรม. ได้เปิดตัวแอปพลิเคชั่น ซึ่งจะทำหน้าที่นับและบันทึกจำนวนต้นไม้ที่ได้รับการปลูกตลอดทั้งโครงการ และเว็บไซต์ www.100jutapokok.gov นอกจากนี้ ยังมีคู่มือการศึกษาเกี่ยวกับต้นไม้ชนิดต่าง ๆ รวมถึงคู่มือเทคนิควิธีการปลูกและดูแลต้นไม้
ทั้งนี้ มีการดำเนินการรณรงค์ปลูกต้นไม้ดังกล่าวพร้อมกันในทุกรัฐ ทั่ว ปท. ภายใต้หัวข้อ "Greening Malaysia: Our Trees, Our Life"
ในแถลงการณ์ นรม. มูห์ยิดดิน กล่าวว่า รณรงค์ปลูกต้นไม้ ๑๐๐ ล้านต้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Greening Malaysia ซึ่งเป็นหนึ่งในวาระแห่งชาติสำหรับการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
โครงการนี้จะช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ (biological diversity) ของ ปท. ซึ่งเป็นสมบัติล้ำค่าของชาติ ขณะเดียวกันจะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและแม่น้ำด้วย (biological diversity ในป่า รูป ๕)
โครงการ Greening Malaysia ยังเป็นคำมั่นสัญญาและความมุ่งมั่นของ รบ. ตามวิสัยทัศน์ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน (Shared Prosperity Vision) ที่จะนำไปสู่อนาคตที่เป็นสีเขียว”
การรณรงค์นี้จัดโดย ก.พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ (KeTSa) โดยได้รับความร่วมมือจากกรมป่าไม้ของคาบสมุทรมาเลเซีย (JPSM) หน่วยงานป่าไม้ของรัฐสถาบันวิจัยป่าไม้แห่ง มซ. (FRIM) และรัฐบาลของแต่ละรัฐมีเป้าหมายที่จะมีต้นไม้ปลูก ๑๐๐ ล้านต้น ทั่ว ปท.ในอีก ๕ ปีข้างหน้า โดยคาดการณ์ว่า พื้นที่ป่าอนุรักษ์จะเพิ่มขึ้น ๒ - ๘ หมื่นแห่ง ภายในปี ๒๐๒๕ (ช้างน้อยในป่าใหญ่ รูป ๖)
เมื่อวันที่ ๒๒ ธ.ค. ๒๐๒๐ รมต. พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ Dr. Shamsul ได้จัดแถลงข่าวว่า การรณรงค์ครั้งนี้เพื่อเผยแพร่ให้ชาว มซ. ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พื้นที่ป่าของ ปท. พร้อมกล่าวเสริม ว่า
“นี่เป็นหนึ่งในความพยายามของ มซ. เพื่อให้แน่ใจว่าอย่างน้อย ๕๐% ของ ปท. ถูกปกคลุมไปด้วยต้นไม้และพื้นที่ป่าตามคำมั่นสัญญาที่เราทำไว้ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development (UNCED) ปี ๑๙๙๒ ที่เมือง Rio de Janeiro บราซิล
จน ณ วันนี้ มซ. มีพื้นที่ป่าปกคลุมถึง ๕๕.๓% และหวังว่าจะสามารถอนุรักษ์ป่าได้ ผ่านการรณรงค์ครั้งนี้”
และนี่คือ โครงการรณรงค์ปลูกป่า ๑๐๐ ล้านต้นทั่ว ปท.ในอีก ๕ ปีข้างหน้าของ มซ. นอกจากสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ป่าแล้ว ยังเป็นการเชิญชวนให้ชาว มซ. มีส่วนร่วมในการปลูกต้นไม้ เพื่ออนุรักษ์ป่าให้มีความยั่งยืน

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ